ดาวเคราะห์น้อยเวสตาจะเข้าใกล้โลกมากสุดในรอบ 11 ปี

ย้อนเวลากลับไปเมื่อหลายพันล้านปีก่อน ในสมัยที่ไดโนเสาร์เป็นผู้ครอบครองโลกทั้งใบ ช่วงเวลาที่โลกสงบสุขเต็มไปด้วยความสมบูรณ์ของธรรมชาติมากมาย สิ่งมีชีวิตน้อยใหญ่ที่อยู่ในน้ำจนกระทั่งล่องลอยกลางท้องฟ้า บ้างก็เป็นผู้ล่า บ้างก็เป็นเหยื่อให้กับสิ่งมีชีวิตที่ดุร้ายและแข็งแรงกว่า สังคมสงบสุขไม่มีการแก่งแย่ง ชิงดีชิงเด่นทางด้านการเมือง มันอาจจะดีถ้าพวกมันมีสติปัญญาฉลาดหลักแหลมกว่านี้อีกสักนิด พวกมันอาจจะไม่เจอจุดจบแบบทุกวันนี้ที่ผ่านมาก็ได้

เชื่อว่าเกือบทุกคนน่าจะรู้กันดีว่าโลกของเรามีการเปลี่ยนแปลงและพัฒนาอยู่เรื่อย ๆ ทั้งสายพันธุ์ที่ปกครองโลกและสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไป มันอาจจะไม่ทำให้เห็นชัดเจนขนาดนั้น แต่จำตอนที่ไดโนเสาร์สูญพันธุ์ไปจากโลกเมื่อหลายล้านปีก่อนได้ไหมละ มันคือการเปลี่ยนแปลงสายพันธุ์ที่จะขึ้นมาปกครองโลกครั้งใหม่ กลับมาเริ่มต้นโลกใบใหม่ด้วยสายพันธุ์ใหม่ โดยอิทธิพลการทำลายล้างของอุกกาบาต

ย้อนเวลากลับไปอยู่ตรงที่เก่า

เมื่อหลายล้านปีมาแล้วเกิดเหตุการณ์ครั้งสำคัญที่ทำให้โลกของเราหลับไหลและเต็มไปด้วยเขม่าควันที่ลอยปกคลุมไปทั่วทั้งชั้นบรรยากาศ จนทำให้อุณหภูมิของโลกเย็นลง พื้นผิวโลกมีเพียง 13 เปอร์เซ็นต์เท่านั้นที่โผล่พ้นน้ำ สิ่งมีชีวิตที่ปกครองโลกขนาดใหญ่โตอย่างพวกไดโนเสาร์ต้องสูญพันธุ์ไปเกือบทั้งหมด

ผลกระทบที่เกิดจากอุกกาบาตก้อนใหญ่มหึมา ตกลงใส่โลกไม่ได้มีแค่นั้น เขม่าควันที่เกิดจากการพุ่งชนของอุกกาบาตขนาดใหญ่นี้ได้บดบังแสงจากดวงอาทิตย์ ซึ่งมันทำให้แสงไม่สามารถส่องผ่านลงมาได้ ถึงแม้ว่าจะมีฝนที่ตกตามลงมาอย่างรวดเร็วก็ไม่อาจจะช่วยลดเขม่าควันพวกนี้ลงไปได้เลย

Image result for chicxulub crater topography

หลุมอุกกาบาตซิกซูที่เกิดจากอุกกาบาตขนาดใหญ่ที่ทำลายล้างสรรพสิ่งเมื่อหลายล้านปีก่อน ที่มา – NASA/JPL

คุณ Kunio Kaiho ได้เปิดเผยการศึกษาวิจัยหลุมอุกกาบาตซิกซูในแม็กซิโก ว่า การที่อุกกาบาตขนาดใหญ่ตกลงมาทำให้เกิดการเผาไหม้น้ำมันที่อยู่ในชั้นหิน ส่งผลทำให้ชั้นบรรยากาศเต็มไปด้วยเขม่าควันดำที่มีปริมาณมากถึง 1.7 พันล้านตัน

ข้อมูลเหล่านี้เกิดจากการวิเคราะห์แผนที่ทางธรณีวิทยาที่แสดงให้เห็นถึงตะกอนของไฮโดรคาร์บอนในชั้นหิน บริเวณจุดที่อุกกาบาตได้ตกลงมา ซึ่งมันสอดคล้องกับการที่ชายฝั่งของภูมิภาคนี้เต็มไปด้วยน้ำมันและก๊าซธรรมชาติในปัจจุบัน

แต่อย่างไรก็ตามอุกกาบาตที่ตกใส่โลกเมื่อหลายล้านปีก่อน ที่มันได้ทำลายล้างเกือบทุกสรรพสิ่งบนโลก ไม่ว่าจะเป็นไดโนเสาร์ สิ่งมีชีวิตที่ครอบครองโลกในตอนนั้น ธรรมชาติ ป่าไม้ แม่น้ำ มหาสมุทร และอื่น ๆ อีกมากมายในตอนนั้นได้ก็เพราะว่ามันตกในตำแหน่งที่พอเหมาะพอดีที่จะทำการทำลายล้างพอดี

ดอว์น ผู้บุกเบิกดาวเคราะห์น้อย

จากการสำรวจหลุมอุกกาบาตขนาดใหญ่ในครั้งนั้น นักวิทยาศาสตร์และนักดาราศาสตร์หลาย ๆ คนก็ได้เริ่มเฝ้าติดตามดาวเคราะห์น้อย (แต่มีขนาดใหญ่) ที่มีโอกาสจะหลุดจากวงโคจรมาชนใส่โลกของเราได้ ซึ่งในปัจจุบันนี้ก็ได้ค้นพบอยู่หลายร้อยหลายพันดวง บางดวงถึงขั้นส่งยานอวกาศไปสำรวจเลยก็มี

ยานอวกาศดอว์นถูกส่งออกไปนอกโลกเมื่อวันที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2550 เพื่อเดินทางไปสำรวจดาวเคราะห์น้อยถึง 2 ดวง คือซีรีส (Ceres) กับเวสตา (Vesta) ซึ่งทั้งดาวเคราะห์น้อยทั้งสองดวงนั้นเป็นวัตถุที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในแถบดาวเคราะห์น้อย ที่อยู่ระหว่างวงโคจรของดาวพฤหัสบดีและดาวอังคาร ซึ่งนักดาราศาสตร์เชื่อกันว่าแถบดาวเคราะห์น้อยนี้ถือกำเนิดขึ้นมาพร้อม ๆ กับระบบสุริยะ

Image result for dawn spacecraft

ยานอวกาศดอว์น ผู้บุกเบิกดาวเคราะห์น้อยทั้งสองดวง ที่มา – NASA

ซีรีส เป็นดาวเคราะห์น้อยดวงแรกที่นักดาราศาสตร์ค้นพบ (พบเมื่อปีใหม่ปี พ.ศ. 2344) มันมีรูปร่างเกือบกลม เส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 950 กิโลเมตร โคจรรอบดวงอาทิตย์ด้วยคาบ 4.6 ปี และนักดาราศาสตร์ยังเชื่อว่าเนื้อดาวมีส่วนประกอบของน้ำแข็ง และน่าจะมีน้ำแข็งซ่อนอยู่ใต้พื้นผิวของซีรีส คล้ายกับดวงจันทร์ยูโรปาของดาวพฤหัสบดีและดวงจันทร์ไททันของดาวเสาร์

สำหรับเวสตา มันมีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 530 กิโลเมตร ขนาดราว ๆ ครึ่งหนึ่งของซีรีส ถูกค้นพบหลังจากซีรีส 6 ปี พื้นผิวแห้งแล้ง โคจรรอบดวงอาทิตย์ด้วยคาบ 3.6 ปี องค์ประกอบของมันมีส่วนผสมของแร่ธาตุจำพวกโลหะ นักดาราศาสตร์เชื่อกันว่ามันเคยไปชนกับดาวเคราะห์น้อยดวงอื่นจนทำให้มันมีรูปร่างบิดเบี้ยวไม่เป็นทรงกลม (แตกหนึ่ง) และมันก็ยังเป็นดาวเคราะห์น้อยดวงเดียวที่สว่างพอจะเห็นได้ด้วยตาเปล่า เมื่อมันโคจรเข้ามาใกล้โลกมากที่สุด

Image result for dawn spacecraft vesta

ภาพจำลองของยานดอว์นที่กำลังโคจรรอบเวสตา – ที่มา NASA

ยานอวกาศดอว์นมีจุดประสงค์ที่จะสำรวจเกี่ยวกับวิวัฒนาการของทั้งสองดาวเคราะห์น้อยนี้ เพื่อที่ไขข้อสงสัยในเรื่องการก่อกำเนิดและความเปลี่ยนแปลงในระบบสุริยะ ยานลำนี้อาศัยเทคโนโลยีขับเคลื่อนด้วยเครื่องยนต์ไอออนทำให้เดินทางช้าหน่อย แต่มีข้อดีคือจะสามารถนำยานอวกาศเข้าไปโคจรรอบดาวเคราะห์น้อยทั้งสองดวงได้ ไม่ใช่การเคลื่อนที่เฉียดเข้าใกล้แล้วก็ผ่านไป

เวสตามาเยือนโลก

หลังจากการค้นพบดาวเคราะห์น้อยเวสตาที่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า จนถึงขั้นส่งยานอวกาศขึ้นไปสำรวจแล้วจนได้ข้อมูลกลับลงมาหลากหลายข้อมูลเกี่ยวกับดาวเคราะห์น้อยดวงนี้ รวมไปถึงการเฝ้าระวังดาวเคราะห์น้อยที่อาจจะพุ่งเข้าใส่โลกได้นั้น เราก็ยังมีปรากฎการณ์ที่น่าสนใจเกี่ยวกับดาวเคราะห์น้อยที่หาดูได้ยากมาฝากเช่นกัน

สามารถอ่านบทความเกี่ยวกับดาวเคราห์น้อยที่พุ่งใส่ชั้นบรรยากาศของโลกได้ที่ ลูกไฟประหลาดที่บังอาจมาชนโลก

Brightest asteroid at its brightest

ภาพแสดงตำแหน่งดาวเคราะห์น้อยเวสตาในช่วงเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2561 จะปรากฎบริเวณกลุ่มดาวคนยิงธนู ที่มา – Sky & Telescope

ในวันที่ 19 มิถุนายนนี้ ดาวเคราะห์น้อยเวสตาจะโคจรเข้ามาอยู่ในตำแหน่งที่ใกล้โลกที่สุด มีระยะห่างจากโลกประมาณ 170 ล้านกิโลเมตร และในครั้งนี้จะเป็นการเข้าใกล้โลกที่สุดในรอบ 11 ปี นับตั้งแต่ พ.ศ. 2550 และจะปรากฎบนท้องฟ้าตลอดค่ำคืน

เราสามารถสังเกตการณ์ได้ตั้งแต่วันที่ 8 – 22 มิถุนายน พ.ศ. 2561 (แต่วันที่ 19 จะเข้ามาใกล้มากที่สุด) โดยที่ดาวเคราะห์น้อยเวสตาจะปรากฏตั้งแต่เวลาหัวค่ำ ในกลุ่มดาวคนยิงธนูทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ ดาวเคราะห์น้อยเวสตามีความสว่างปรากฏที่แมกนิจูดประมาณ 5.3 ซึ่งถ้าหากเราสังเกตในสถานที่มืดสนิท ไม่มีแสงไฟรบกวน ก็อาจจะมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า

แต่ถ้าคืนนั้นฟ้าฝนไม่เป็นใจ ก็คงต้องบอกลาดาวเคราะห์น้อยที่น่ารักแบบเวสตาไปอีกสักปี

อ้างอิง

Vesta Gets Close and Bright – SKY & Telescope

Dawn at a Glance – NASA

What killed the dinosaurs?

มายด์ - บรรณาธิการและนักเขียน นิสิตปี 1 ภาคฟิสิกส์ จุฬาฯ สนใจเรื่องอวกาศ วิทยาศาสตร์ BLACKPINK อดีตไอดอลที่ออกวงการมาแล้ว และในปัจจุบันนี้เป็น Atomic Queen Ambassador of Physics 2019