1 ปี โลกร้อนขึ้นแค่ไหน สละเวลา 1 นาทีมาดูสิ่งที่เราทำไว้กับโลก

เป็นเวลากว่า 1 ปีแล้วที่  SPACETH.CO ได้ถือกำเนิดขึ้นมาและมีผู้ติดตามมาหลายหมื่นคน และเวลา 1 ปีนี้เองเราจะมาดูถึงการเปลี่ยนแปลงของสภาวะภูมิอากาศของโลกที่เปลี่ยนแปลงไปเนื่องจากการกระทำของมนุษย์ ที่เราเรียกว่า Climate Change

Climate Change ?

Climate Change  แปลเป็นไทยคือการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ โดยปกติในธรรมชาติจะมีการเปลี่ยงแปลงของสภาพภูมิอากาศทุกหมื่นปีจากการเปลี่ยนแปลงองศาของวงโคจรโลกหรือเกิดขึ้นจากภัยพิบัติที่ร้ายแรงที่ส่งผลกระทบกับสภาพแวดล้อมภายในโลกโดยตรง เช่น อุกกาบาตลูกยักษ์ใหญ่พุ่งชนโลก ภูเขาไฟลูกยักษ์ระเบิด หรือสงครามนิวเคลียร์ ถ้าหากไม่มีการกระทำเหล่านี้ก็แทบไม่มีการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศบนโลกสักเท่าไหร่ นอกจากสิ่งมีชีวิตที่เรียกตัวเองว่า มนุษย์

Cilmate ไม่ใช่ พยากรณ์อากาศวันนี้

หลายคนอาจเข้าใจผิดว่าโลกนั้นร้อน ภูมิอากาศเปลี่ยนแปลง แต่ทำไมที่บ้านฉันยังหนาวกว่าปีที่แล้วอยู่เลยละ มันแปลว่าโลกเย็นลงละซี่ จริง ๆ แล้วไม่ใช่อย่างนั้น Climate Change นั้นคือการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศที่เป็นในระยะยาวและใหญ่ กล่าวคือมันคือสภาวะภูมิอากาศของพื้นที่นั้น ๆ ในระยะยาว ซึ่งการเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศนั้นมีการเปลี่ยนแปลงที่แน่นอนและอิงกันเป็นนัยยะสำคัญกับการกระทำของมนุษย์ ส่วนสภาพอากาศนั้นคือสภาพอากาศของวันนี้ที่ฝนตกและพรุ่งนี้ที่ฝนตก แน่นอนว่าวันนี้ฝนตกน้อยอากาศจึงร้อนกว่าวันพรุ่งนี้ ส่วนพรุ่งนี้เย็นกว่าวันนี้เพราะเมฆฝนลงมาปกคลุมมากกว่าวันนี้ นี้คือการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศไม่ใช่การเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ

ถ้าเปรียบ Climate เป็นเหมือนมนุษย์ ส่วน สภาพอากาศ เป็นหมา การที่คุณพาหมาไปเดินเล่นบนชายหาดมันคือสิ่งที่น่าตื่นเต้นสำหรับหมามาก มันวิ่งไปทั่วทุกทิศทางและโชคดีที่มันวิ่งไปไหนไกลไม่ได้เพราะคุณจูงมันอยู่ คุณเดินไปข้างหน้าตรง ๆ ส่วนหมาของคุณนั้นเดินวิ่งไปทางซ้ายทีขวาทีหรือเดินไปทางใดทางหนึ่งก่อนสลับไปมา นี่คือตัวอย่างที่ดีในการอธิบาย เพราะ Climate นั้นเป็นการเปลี่ยนแปลงที่มีรูปแบบ ส่วนสภาพอากาศนั้นเป็นเปลี่ยนได้ทุกวัน ทุกสัปดาห์ ทุกเดือนและทุกปี มันเปลี่ยนแปลงไปเรื่อยตามสภาพแวดล้อมในตอนนั้นช่วงนั้น หมาสนใจทะเลก็วิ่งไปทะเล หมาสนใจคนที่นอนอยู่ริมชายหาดตากแดดอยู่ก็วิ่งไปที่คน นี่คือความแตกต่างของภูมิอากาศและสภาพอากาศ

ครั้งแรกที่อุณหภูมิลดลง

ปี 2017 เป็นปีแรกนับตั้งแต่ปี 2011 ที่อุณหภูมิของโลกโดยเฉลี่ยเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องโดยมีนัยยะสำคัญจากการกิจกรรมการปล่อยคาร์บอนของมนุษย์ โดยปี 2017 ที่อุณหภูมิโดยเฉลี่ยของโลกลดลงเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศ

กราฟแสดงถึงความเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิระดับน้ำทะเลทั่วโลกตั้งแต่ปี 1880 ที่มา NASA

จะเห็นได้ว่าปี 2017 นั้นทางกรมอุตุนิยมวิทยาได้ประกาศออกมาว่าสภาพภาวะอากาศของประเทศไทยแปรเปลี่ยนไปอย่างมาก  กล่าวคือปริมาณฝนเฉลี่ยทั้งปีของประเทศไทยในปีนี้สูงกว่าค่าปกติประมาณร้อยละ 27 และมีค่าสูงที่สุดในคาบ 67 ปี (พ.ศ.2494-2560) อีกทั้งในปีที่แล้วอากาศเย็นจากจีนลงทำให้อากาศในประเทศหนาวลง และมีฝนตกมากขึ้น นี่เป็นส่วนประกอบของการที่อุณหภูมิโดยเฉลี่ยลดลง ถึงแม้จะลงลดเพียงเล็กน้อยและมีทีท่าว่าจะร้อนขึ้นมากกว่าและสภาพอากาศจะแปรปรวนและเลวร้ายกว่าเดิมหากมนุษย์ยังคงปล่อยแก๊สคาร์บอนขึ้นสู่ชั้นบรรยากาศมากยิ่งขึ้นในระดับเดิม

ประธานาธิบดีผู้ไม่เชื่อโลกร้อน

Donald Trump ขึ้นดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีแห่งสหรัฐอเมริกาเมื่อต้นปี 2017 และเขาเป็นผู้ประกาศกร้าวว่าตนนั้นไม่เชื่อถึงเหตุการณ์โลกร้อนที่กำลังเกิดขึ้นอยู่อีกทั้งยังบอกว่า เมืองที่ตนอยู่นั้นปีที่แล้วหนาวจัดเลยจะไปร้อนได้ไงเหล่า ปัดโธ่

แน่นอนแหละว่าการที่ผู้นำประเทศมหาอำนาจไม่เชื่อเรื่องปัญหาโลกร้อนมันเป็นปัญหาใหญ่ระดับโลกอย่างแน่นอน มันส่งผลทำให้ทรัมป์ประกาศถอนตัวจากสนธิสัญญาว่าด้วยการรักษาและดูแลสิ่งแวดล้อมจากรัฐบาลที่แล้วได้พยายามผลักดันให้เกิดขึ้นในสังคมโลก แต่เหมือนกลับลำคำพูดอย่างรุนแรงจนทำให้เกิดการประณามถึงการกระทำของเขาจากนานาชาติ ไม่ว่าจะเป็น พิธีสารเกียวโตและความตกลงปารีสที่ว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ พร้อมกันนั้นเขายังประกาศเพิ่มโรงงานอุตสาหกรรมหนัก รวมถึงสนับสนุนการขุดเหมืองถ่านหินเพื่อใช้ในการอุตสาหกรรมและการผลิตไฟฟ้า เพื่อเป็นการสนับสนุนนโยบายของเขาเอง

ถึงแม้สื่อหลายสำนักจะออกมาให้ความเห็นกับการกระทำของที่ทำการฉีกสนธิสัญญาต่าง ๆ ของเขาแต่กว่าที่เขาจะนำพาประเทศออกจากสนธิสัญญาก็คงอีกนานมากกว่า 4 ปี ซึ่งเป็นเวลาที่ทรัมป์นั้นอาจหมดอำนาจแล้วและหวังว่าเขาจะไม่ได้รับตำแหน่งในอีกวาระหนึ่งไม่เช่นนั้นโลกอาจจะย่ำแย่ลงกว่านี้ก็เป็นได้

แน่นอนว่าสื่อหลายสำนักก็ยังออกมาพนันว่าเขาคงไม่มีวันได้ต่อวาระที่ 2 เพราะว่าเขาจะตายก่อนที่จะได้รับตำแหน่ง ประเทศจะได้ไม่ชิบหายมากกว่านี้

การเปลี่ยนแปลงของผอ.นาซ่า

สภา Congress ได้โหวตอนุมัติให้ ส.ส. Jim Bridenstine จากพรรคคริพับลิกันเข้ารับตำแหน่ง ผ.อ. ของนาซ่าในปี 2018 เขาเป็นคนที่ไม่เชื่อเกี่ยวกับกิจกรรมของมนุษย์นั้นส่งผลกระทบกับโลก

Jim Bridenstine ที่มา – SpaceNews

ปัจจุบันมีความเชื่ออยู่ 3 กลุ่มเกี่ยวกับ Climate Change 1. เชื่อว่าภาวะนี้เกิดขึ้นจริงและเกิดจากฝีมือของมนุษย์ 2.เชื่อว่าภาวะนี้มีอยู่จริงแต่ไม่ได้เกิดจากฝีมือของมนุษย์แต่เกิดจากวัฏจักรของธรรมชาติ 3.ไม่เชื่อว่าภาวะนี้มีอยู่และเชื่อว่าคือคำโกหกของรัฐบาลที่โกหกเพื่อหลอกขายรถยนต์ประหยัดน้ำมันหรืออื่น ๆ

หลังจาก ส.ส. Jim Bridenstine เข้าได้เริ่มเปลี่ยนความคิดเกี่ยวกับ ภาวะโลกร้อนและทัศนคติต่อ Climate Change จากหลักฐานมากมายที่ NASA เก็บบันทึกข้อมูล มันแสดงให้เห็นถึงผลกระทบจากกิจกรรมของมนุษย์ที่ส่งผลต่อโลกใบนี้ ดูเหมือนกิจกรรมจากสิ่งมีชีวิตตัวเล็ก ๆ จะส่งผลกระทบต่อโลกใบใหญ่

ตอนนี้ ส.ส. Jim Bridenstine ผู้ดำรงตำแหน่ง ผ.อ. NASA คนปัจจุบันเปลี่ยนแปลงความคิดเกี่ยวกับภาวะโลกร้อน ตอนนี้เขาเชื่อว่ากิจกรรมของมนุษย์นั้นส่งผลกระทบกับโลกใบนี้อย่างแท้จริง

คาร์บอนไดออกไซด์ทะลุสถิติอีกครั้ง

การที่อุณหภูมิโลกลดลงไม่ได้หมายความว่าคาร์บอนไดออกไซด์ที่มนุษย์ปล่อยจะลดลง โดยนับตั้งแต่ปฏิวัติอุตสาหกรรม มนุษย์ได้ปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ออกสู่ชั้นบรรยากาศในระดับที่ไม่เคยมีมาก่อน ทุกวันนี้ระดับของคาร์บอนไดออกไซด์ในอากาศนั้นมากสูงสุดเป็นประวัติการณ์ตั้งแต่กำเนิดมนุษยชาติขึ้นมาบนโลก มันสูงกว่าเมื่อ 650,000 ปีก่อน

กราฟแสดงให้เห้นถึงระดับความเข้มข้นของแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ในอากาศตั้งแต่ปี 2005 ถึงปัจจุบัน ที่มา NASA

และดูทีท่าว่ามนุษย์จะทำลายสถิตินี้ต่อไปเรื่อยๆถ้าไม่การควบคุมหรือหยุดการปล่อยแก๊สเหล่านี้ออกสู่ชั้นบรรยากาศอย่างเข้มงวดและเคร่งครัด นักวิทยาศาสตร์คำนวนว่าอีกไม่เกิน 50 ปี หากมนุษย์ยังคงปล่อยแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ขึ้นสู่ชั้นบรรยากาศอยู่ในระดับเพิ่มขึ้นที่คงที่ ระดับของแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ในชั้นบรรยากาศของเราจะเท่ากับในยุค Triassic อีกครั้ง

หิ้งน้ำแข็งก้อนใหญ่ที่สุดในโลกแตกออก

หิ้งน้ำแข็ง Larsen C หลุดออกจากทวีปแอนตาร์กติกาเมื่อเดือนกรกฎาคม 2017 ที่มา – NASA

กลางปี 2017 ข่าวใหญ่ที่พาดหัวทุกสำนักข่าวคือการแตกออกของหิ้งน้ำแข็ง ( Ice Shelf ) ขนาดใหญ่ยักษ์ที่แอนตาร์กติกกา มันมีชื่อว่า Larsen C 

หิ้งน้ำแข็ง Larsen C เป็นหิ่งน้ำแข็งที่ใหญ่ที่สุดในโลกในตอนนี้ที่หลุดออกจากแอนตาร์กติกา มันมีขนาด 44,200 ตารางกิโลเมตร พื้นที่ของมันใหญ่พอ ๆ กับรัฐ Delaware ของสหรัฐ การที่ Larsen C หลุดออกจากทวีปแอนตาร์กติกานั้นเป็นสิ่งที่แสดงให้เห็นถึงผลกระทบของมนุษย์ที่มีต่อโลกใบนี้ได้เป็นอย่างดี การปล่อยแก๊สคาร์บอนไดออไซด์ทำให้น้ำแข็งถาวรในเขตขั้วโลกค่อย ๆ ละลายลงอย่างช้า ๆ การละลายของน้ำแข็งเหล่านี้ย่อมส่งผลถึงปริมาณน้ำในมหาสมุทรที่เพิ่มขึ้น ทำให้ประเทศแถบชายฝั่งสุ่มเสี่ยงต่อการถูกน้ำท่วมและหายไปจากแผนที่โลกอย่างน่าอนาถ 

ภาพรอยแตกขนาดใหญ่ของหิ้งน้ำแข็ง Larsen C กับแอนตาร์กติกกา ถ่ายไว้เมื่อปี 2016 ที่มา – NASA

NASA พยายามศึกษาและสื่อสารถึงความเปลี่ยนแปลงของเหล่ากลุ่มน้ำแข็งถาวรบริเวณแอนตาร์กติกา เพราะที่เหล่านี้เป็นพื้นที่ทุนดาร ไม่มีรบกวนโดยการกระทำของมนุษย์โดยตรง ทำให้สามารถศึกษาความเปลี่ยนแปลงของมนุษย์ต่อโลกใบนี้ได้โดยง่าย อีกทั้งการศึกษาธารน้ำแข็งเหล่านี้ทำให้เราเข้าใจถึงสภาพแวดล้อมของโลกใบนี้ผ่านชั้นน้ำแข็งที่อยู่ลึกลงไปหลายกิโลเมตรของแอนตาร์กติกาได้อีกด้วย มันทำให้เราเข้าใจถึงการเปลี่ยนแปลงซึ่งเกิดจากการกระทำแย่ ๆ ของเราที่ส่งผลต่อโลกใบนี้

การละลายของธารน้ำแข็งถาวรที่ไซบีเรีย สู่หายนะของวงการปศุสัตว์

ในแถบไซบีเรียเป็นสถานที่หนาวเย็นและมีแต่น้ำแข็ง สภาวะโลกร้อนในปี 2017 ทำให้น้ำแข็งถาวรของไซบีเรียค่อย ๆ ละลาย ซ้ำร้ายคือภายใต้ดินที่อยู่ใต้น้ำแข็งนั้นเป็นแหล่งอาศัยของเหล่า ไวรัส แบคทีเรียและสปอร์ของสิ่งมีชีวิตตัวจิ๋วเป็นอย่างดี พวกมันสามารถอยู่ใต้แผ่นน้ำแข็งได้หลายหมื่นปีโดยไม่ต้องกิน ต้องหายใจ หรือเคลื่อนไหว รอวันที่อากาศดีจึงแพร่พันธุ์ต่อ

แน่นอนแหละว่าเชื้อโรคเมื่อหลายหมื่นปีก่อนอาจจะไม่ได้ดูเลวร้ายแต่อย่าลืมว่าสิ่งมีชีวิตบนโลกทุกวันนี้ไม่ได้รู้จักกับเจ้าตัวเมื่อหมื่นปีแล้ว เมื่อไม่รู้จักแปลว่าไม่เคยรู้จักวิธีในการรับมือกับเหล่าเชื้อโรค มันจึงกลายเป็นการล้างเผ่าพันธุ์เหล่าสิ่งมีชีวิตอย่างแท้จริง เหล่ากวางเรเดียนผู้น่าสงสารติดเชื้อแอนแทกซ์และล้มตายอย่างทรมาร มันแพร่พันธุ์และรุกรามอย่างรวดเร็ว ทำให้ชาวบ้านในชุมชนไซบีเรียเสี่ยงและเสียชีวิตไปหลายรายจากโรคแอนแทกซ์ อีกทั้งเชื้อแอนแทกซ์นั้นติดต่อในวงของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม เหล่าปศุสัตว์ในเขตทุ่งหญ้าของไซบีเรียจึงติดเชื้อและป้องกันการติดเชื้อจากสัตว์สู่คนอีก จึงต้องทำการฆ่าเหล่าสัตว์เลี้ยงที่ยังไม่ติดเชื้อด้วย

นักวิทยาศาสตร์กล่าวว่าไมได้มีแค่แอนแทกซ์ที่ซ่อนตัวอยู่ภายในน้ำแข็ง ยังมีเชื้อโรคชนิดอื่นอีกมากมายไม่ว่าจะเป็น ไข้ทรพิษ ( Smallpox ) ไข้หวัดนก หรืออาจจะมีไข้หวัดใหญ่สเปนแอบซ่อนอยู่ภายในน้ำแข็งเหล่านี้ แน่นอนว่าหากน้ำแข็งเหล่านี้ละลายจนหมดและอุณหภูมิในแถบนั้นสูงขึ้นจะทำให้เกิดการแพร่ระบาดของเชื้อโรคโลกเก่าเหล่านี้ การแพร่ระบาดในครั้งนี้คงสร้างผลกระทบครั้งใหญ่ให้กับสิ่งมีชีวิตทุกชนิดบนโลกหรืออาจถึงขั้นการสูญพันธุ์ครั้งใหญ่อีกครั้งก็เป็นไปได้

การคุกคามของเหล่าตะไคร้น้ำ

น้ำแข็งบริเวณกรีนแลนด์นั้นเป็นแผ่นดินน้ำแข็วถาวร แต่เมื่อภาวะโลกร้อน อุณหภูมิบริเวณแถบขั้วโลกสูงขึ้นอย่างมากส่งผลทำให้น้ำแข็งเหล่านี้ค่อย ๆ ละลาย เมื่อน้ำแข็งละลายเป็นน้ำแข็งจึงเกิดร่องรอยทางน้ำไหลผ่าน นานวันเข้าเส้นทางการละลายของเหล่าน้ำแข็งก็ถูกแทรกแซงโดยเหล่าตะไคร้น้ำสุดคิ้ว

ตะไคร้น้ำเหล่านี้นอกจากจะมีสีที่ไม่สดใสนัก สีของมันยังดูดซับแสงอีกด้วย เพราะสีเขียวที่ดูดซับได้ดี แตกต่างจากสีขาวของน้ำแข็งที่สะท้อนแสง เหล่าตะไคร้น้ำน้อย ๆ จึงเป็นตัวดูดซับแสงและค่อย ๆ กลายเป็นอีกหนึ่งตัวแปรที่ทำให้น้ำแข็งในบริเวณกรีนแลนด์ละลายอย่างรวดเร็วขึ้น นักวิทยาศาสตร์พบว่าเหล่ามอสและตะไคร้น้ำนี้ดูดซับรังสีความร้อนจากดวงอาทิตย์เป็นอย่างมากและมันก็ขยับพันธุ์ได้อย่างรวดเร็วมาก ส่งผลให้อุณหภูมิบนธารน้ำแข็งสูงขึ้นอย่างรวดเร็วและเกิดการละลายอย่างมากเป็นประวัติการณ์

การขยายตัวของทะเลทรายซาฮาร่าและหิมะตก?

แน่ละ ถ้าเราให้คุณนึกภาพถึงทะเลทรายคุณต้องนึกถึงทะเลทรายซาฮาร่าแห่งแอฟริกาอย่างแน่นอน ทะเลทรายซาฮาร่านั้นขยายตัวอย่างต่อเนื่องจากภาวะโลกร้อน

ทะเลทรายซาฮาร่าค่อย ๆ ขยายพื้นที่อย่างรวดเร็วตลอดช่วง 8 ปีที่ผ่านมา ESA

หิมะตกลงบนทะเลทรายซาฮาร่า นี่เป็นครั้งแรกในรอบ 37 ปีที่เกิดหิมะตกลงบนทะเลทรายซาฮาร่า นี่เป็นเหตุการณ์ที่หายากเพราะในทะเลทรายนั้นแห้งแล้งและมีแต่แสงอาทิตย์ที่ร้อนระอุ

หิมะสีขาวตัดกับเนินทรายสีส้มของซาฮาร่า ทำให้ผู้คนจำนวนมากออกมาเล่นหิมะกันกลางทะเลทราย CNN

การที่หิมะตกนั้นเป็นการบอกถึงผลกระทบของ Climate Change ได้เป็นอย่างดีในอีกปรากฏการณ์หนึ่ง แต่เป็นปรากฏการณ์ที่สร้างความสุขให้กับผู้คนในแถบประเทศทะเลทรายไม่น้อย ชาวบ้านออกมาเล่นหิมะที่อยู่บนเนินทรายอย่างสนุกสนานก่อนที่มันจะละลายไปในวันรุ่งขึ้น

หิมะตกลงบนผืนทะเลทรายจนมันดูคล้ายกับภาพถ่ายจากดาวอังคาร ESA

การหายไปของธารน้ำแข็งบนคิลิมันจาโร

ภูเขาไฟคิลิมันจาโรเป็นภูเขาไฟที่สูงจากระดับน้ำทะเลมากที่สุดในโลก มันเป็นภูเขาไฟที่สร้างสรรค์วัฒนธรรม ความเชื่อ และการท่องเที่ยว มันคือภูเขาไฟที่สวยงาม มีสีขาวของน้ำแข็งอยู่บนยอดของคีรีมันจาโรตัดกับสีฟ้าของขอบฟ้า เป็นภาพที่สวยงามเกินคำบรรยาย น้ำแข็งบนภูเขาคือสายน้ำแห่งชีวิต คิลิมันจาโรคือภูเขาแห่งชีวิตและจิตใจของชาวแอฟริกาอย่างแท้จริง มันสร้างความมั่งคั่งให้กับเศรษฐกิจจากการท่องเที่ยวให้กับแทนซาเนียอย่างมหาศาล

ยอดเขาคิลิมันจาโรจากมุมสูง เผยให้เห็นน้ำแข็งสีขาวที่เป็นเอกลักษณ์ของคิลิมันจาโรที่เหลือให้เห็นเพียงบางตา

สิ่งหนึ่งที่มันกำลังหายไปจากคิลิมันจาโร ไม่ใช่นักท่องเที่ยวแต่เป็นธารน้ำแข็งบนยอดเขา ตั้งแต่ปี 1912 ธารน้ำแข็งบนคิลิมันจาโรหายไปอย่างรวดเร็ว เป็นเวลาร้อยกว่าปี ทุกวันนี้เราแทบไม่ได้เห็นน้ำแข็งสีขาวบนยอดเขาคิลิมันจาโรแล้ว

ภาพถ่ายบริเวณยอด Kibo โดย Walter Mittelholzer และคณะสำรวจชาวสวิตซ์เซอร์แลนด์ในปี 1929

การที่ธารน้ำแข็งจะขึ้นมาอยู่บนคิลิมันจาโรนั้นเกิดจากความชื้นในอากาศจากทะเลสาบวิกตอเรียและมหาสมุทรถูกกระแสลมพัดพาขึ้นไปบนยอดเขาคิลิมันจาโรก่อนจะกลั่นตัวเป็นหยดน้ำแต่ไม่ทันเป็นหยดน้ำดีเพราะอากาศที่หนาวเย็นติดลบกว่า 20 องศา ทำให้เม็ดหยดน้ำกลายสภาพเป็นหิมะและก้อนน้ำแข็งเกาะอยู่บนหินภูเขาไฟ แต่ภาวะโลกร้อนกลับทำให้ระบบที่สมดุลนั้นพังเสีย ธารน้ำแข็งจากเดิมที่ครอบคลุมทุกพื้นที่บนยอดเขาทุกวันนี้เหลืออยู่เพียงเล็กน้อยเท่านั้น มันส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตของผู้คนที่อยู่บริเวณตีนเขาคิลิมันจาโร ที่ดำรงชีวิตโดยสายน้ำจากน้ำแข็งเหล่านี้ย่ำแย่เพราะการขาดน้ำ อีกทั้งมันยังส่งผลกระทบต่อระดับน้ำในแม่น้ำสำคัญของแทนซาเนียและส่งผลต่อป่า การที่ป่าขาดน้ำทำให้ทุกชีวิตตาย ทำให้เกิดโอกาสไฟไหม้ป่าสูงขึ้นในหน้าแล้ง

ภาพธารน้ำแข็งบนคิลิมันจาโรที่ให้เกาะอยู่ตามภูเขาไฟอยู่ให้เห็นบางตาเนื่องจากภาวะโลกร้อน

นักวิทยาศาสตร์ทำการคำนวนว่าภายในไม่เกิน 20 ปี คิลิมันจาโรจะไม่เหลือน้ำแข็งสีขาวบนยอดเขาอันเป็นเอกลักษณ์อีกต่อไป แน่นอนมันจะทำให้นักท่องเที่ยวเดินทางมาปีนเขาคิลิมันจาโรลดลงอย่างแน่นอน ซึ่งมันส่งผลต่อเศรษฐกิจภายในประเทศแทนซาเนียอย่างรุนแรงทำให้รัฐบาลแทนซาเนียสนับสนุนเหล่านักวิจัยในการศึกษาสภาพความเปลี่ยนแปลงจากภาวะโลกร้อนและหาทางแก้ปัญหาเกี่ยวกับธารน้ำแข็งที่กำลังหายไป

 

โลก เป็นดาวเคราะห์ดวงเล็ก ๆ สีน้ำเงินที่ล่องลอยอยู่กลางมหาสมุทรที่เรียกว่าอวกาศ มันเป็นเพียงดาวดวงเล็ก ๆ ที่ให้กำเนิดเรา เลี้ยงดู อุ้มชูเรา ให้เราเติบใหญ่ เรียนรู้ เจ็บป่วย และรับรองเราเมื่อเราตาย แน่นอนว่าคงไม่มีดาวดวงไหนในจักรวาลแห่งนี้ที่งดงามและอุ้มชูเราได้เหมือนลูกอีกแล้ว

SPACETH.CO นอกจากจะเป็นเว็บไซต์ที่นำเสนอและสื่อสารทางวิทยาศาสตร์เกี่ยวกับอวกาศแล้ว เรายังตระหนักถึงสิ่งที่เกิดขึ้นและกำลังจะเกิดโลกใบนี้อีกด้วย เราจะเป็นอีกหนึ่งเสียงที่สะท้อนถึงผลกระทบของสภาวะภูมิอากาศเปลี่ยนที่เกิดขึ้นจากการกระทำที่เห็นแก่ตัวของมนุษย์และสนับสนุนการลดการปล่อยแก๊สเรือนกระจกรวมถึงลดการพึ่งพากิจกรรมที่ทำลายสิ่งแวดล้อมและโลกใบนี้ เพื่อส่งมอบโลกที่ดี ที่อบอุ่นและพร้อมอุ้มชูลูกหลานของเราในภายภาคหน้า

เพื่ออนาคตของลูกหลานของเรา เรามาร่วมกันรักษาโลกของเราไม่ให้แย่ไปกว่านี้ด้วยการเรียนรู้และตระหนกถึงผลกระทบที่กำลังจะตามมาจากสิ่งที่เรากระทำเอาไว้ เข้าใจมันอย่างถ่องแท้ถึงสิ่งที่ตนกำลังทำอยู่นั้นส่งผลกระทบต่อโลกนี้อย่างไรบ้าง ลด ละ เลิก พฤติกรรมเหล่านั้น และร่วมกันสร้างวิธีในการรักษาให้ต่อลมหายใจให้แก่ลูกหลานและช่วยกันเผยแพร่เรื่องราวเหล่านี้ออกสู่สาธารณะชน เพื่อให้เกิดความเปลี่ยนแปลง เพื่อเข้าสู่อนาคตของโลกใบนี้ที่ดีกว่า ในเมื่อเรามีโลกเพียงใบเดียวเรามาร่วมกันรักษาโลกใบนี้ด้วยน้ำมือของเราด้วยกันตั้งแต่วันนี้

ที่มา 

cosmos a spacetime odyssey episode 12 The World Set Free

Global Health Action

ชี้ 20 ปีหิมะเกลี้ยงยอดเขาคิลิมานจาโร

Snow Falls in the Sahara desert 

พบโรคแอนแทรกซ์ระบาดในไซบีเรีย

ชี้น้ำแข็งกรีนแลนด์ละลายเร็วขึ้นเพราะสาหร่ายจับ

Jirasin Aswakool | บรรณาธิการและบรรณาธิการ Podcast อวกาศข้างบ้าน | จบชั้นมัธยมศึกษาจากโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย นนทบุรี | กำลังศึกษาชั้นปีที่ 1 อยู่ที่ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล |