รวมเหตุการณ์ความซุ่มซ่ามบนดวงจันทร์

เราอาจจะได้เห็นรูปภาพของเหล่านักบินอวกาศโครงการอะพอลโลที่ได้เดินทางไปเยือนดวงจันทร์มากมาย และดูเหมือนว่าพวกเขาเหล่านั้นจะมีความสุขในการเดินอยู่บนพื้นผิวของดวงจันทร์อยู่ตลอดเวลา การควบคุมการทรงตัวของตัวเองเมื่ออยู่บนพื้นที่ที่มีแรงโน้มถ่วงน้อยมากเช่นบนพื้นผิวของดวงจันทร์นั้นทำได้ยาก เหล่าลูกเรือของโครงการอะพอลโลก็ประสบปัญหานี้เช่นกัน

มันไม่ใช่ปัญหาที่น่าหัวเราะขบขันเท่าไหร่นัก (ถึงแม้มันจะทำให้หลายคนขำก็ตาม) ทางนาซ่าเองก็ได้ทำการวิจัยและศึกษาปัญหาเหล่านี้อย่างละเอียดเช่นกัน

ความซุ่มซ่ามของเหล่าลูกเรือ

ในโครงการอะพอลโล 15 และ 16 เป็นการประเมินความแตกต่างของการเคลื่อนไหวระหว่างบนโลกและดวงจันทร์ เพื่อทำความเข้าใจกับแรงโน้มถ่วงของดวงจันทร์ที่มันส่งผลกระทบต่อการเคลื่อนไหวของมนุษย์บนพื้นผิวนั้น และใช่ มันเกิดปัญหานิดหน่อย

ซึ่งเหตุผลหนึ่งที่ทำให้เกิดความซุ่มซ่ามของเหล่าลูกเรืออะพอลโลนี้ ที่นาซ่าได้รับรู้การจากศึกษาครั้งมาก็คือ เมื่อเราอยู่บนดวงจันทร์มวลของเราก็ยังคงเท่ากับมวลที่อยู่บนโลก แต่เราไม่จำเป็นที่จะต้องออกแรงมากมายเพื่อเอาชนะแรงโน้มถ่วงเหมือนที่เราอยู่บนโลก

ดังนั้นเหล่าลูกเรือที่กำลังเคลื่อนที่ไปบนดวงจันทร์ ก็กำลังทำสิ่งเดิมในสภาวะที่แตกต่างออกไปอย่างมาก และมันอาจจะให้ผลลัพธ์ที่น่ารักน่าชังเหมือนในคลิปวีดีโอด้านล่างนี้

นักวิจัยของนาซ่าได้ทำการศึกษาเรื่องนี้โดยละเอียดเพื่อให้ได้คำอธิบายที่ถูกต้องที่สุดเกี่ยวกับเรื่องนี้ โดยที่คุณ David Scott ลูกเรือของโครงการอะพอลโล 15 ได้กล่าวว่า เมื่อเขาได้ก้าวลงไปในพื้นที่ใหม่ ในขณะที่เขาได้จับกล้องและอ่านคำอธิบายเกี่ยวกับพื้นที่ใหม่อยู่นั้น มีกลุ่มเศษหินเล็ก ๆ วางขวางทางเดินของเขาไว้ และเท้าซ้ายของเขาก็ได้ชนเขากับเศษหินพวกนั้น ทำให้เขาเริ่มที่จะควบคุมการทรงตัวของเขาไม่ได้และล้มลงไปกับพื้น เขาพยายามออกแรงให้มากกว่าเดิมเพื่อทรงตัวเขาขึ้นมาแต่ก็กลับไปล้มแบบเดิม

จากรายงานของลูกเรือจากโครงการอะพอลโล 16  คุณ Charles Duke ได้ล้มลงบนพื้นของดวงจันทร์ในโครงการอะพอลโล 16 เมื่อเขาพยายามที่จะหยิบคีมที่ตกอยู่บนพื้น เมื่อระหว่างที่เขาก้มตัวลงไปนั้นก็ทำให้เขาเริ่มสูญเสียการทรงตัวไป และนอกจากนี้คุณ John Young ก็ได้ล้มลงบนพื้นของดวงจันทร์เมื่อเขาพยายามที่จะหยิบถุงใส่ของ แปรง และกระเป๋าใส่ตัวอย่างดินอีกเหมือนกัน

คุณ Jack Schmitt ที่กำลังล้มลงบนพื้นของดวงจันทร์ถ่ายเมื่อวันที่ 12 ธันวาคม 1972 ที่มา – NASA

นอกจากนี้ในโครงการอะพอลโล 17 คุณ Jack Schmitt ก็ได้ล้มลงบนพื้นผิวของดวงจันทร์ในขณะที่เขากำลังล้วงถุงกระเป๋าเก็บตัวอย่างหินและกำลังกระโดดข้ามพื้นผิวของดวงจันทร์เช่นกัน

ทำไมถึงเป็นแบบนั้น

ซึ่งสาเหตุที่เป็นแบบนี้ก็เพราะว่าการเคลื่อนที่บนโลกกับการเคลื่อนที่บนดวงจันทร์มันตกต่างกัน โดยที่การเคลื่อนที่บนโลกนั้นจะต้องอาศัยแรงที่มากขึ้นเนื่องจากมีแรงโน้มถ่วงของโลกเข้ามาเกี่ยวข้อง การที่จะคลื่อนที่ไปได้จะต้องทำแรงให้ชนะจากแรงโน้มถ่วงของโลกให้ได้ด้วย แต่เมื่อเราอยู่บนดวงจันทร์ที่มีแรงโน้มถ่วงน้อยมาก การเคลื่อนที่ของเราจึงทำได้ง่ายขึ้กว่าเดิมเพราะว่าเราไม่ต้องเอาชนะแรงโน้มถ่วงของดวงจันทร์มาก ทำให้การออกแรงเพียงแค่นิดเดียวก็จะทำให้เกิดการเคลื่อนที่ได้แล้ว

ลูกเรือของโครงการอะพอลโลล้มบนพื้นผิวของดวงจันทร์ ที่มา – Science Alert

ข้อมูลเหล่านี้เป็นข้อมูลที่เป็นประโยชน์มากโดยเฉพาะอย่างยิ่งในการเดินทางกลับมาจากดวงจันทร์ของเหล่าลูกเรือในแต่ละโครงการต่อไป หรือในอนาคตหากเราจะต้องเดินทางไปที่ไหนสักที่ที่มีแรงโน้มถ่วงไม่ใช่ 9.8 หรือ 10 แบบเดิมเราจะต้องควบคุมตัวหรือออกแรงขนาดไหน รวมถึงภารกิจท่องอวกาศในอนาคตนี้ด้วย

มันอาจจะเป็นเพียงวีดีโอเรียกเสียงหัวเราะขำ ๆ สร้างความสนุกสนานให้กับเหล่าลูกเรือ ทีมงานที่อยู่บนโลกรวมถึงมนุษย์โลกตาดำ  ๆ บางคนที่เฝ้ารอคลิปวีดีโอ แต่มันก็ยังเป็นความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่ของเหล่าลูกเรือและมนุษย์โลกทั้งปวงเช่นกัน และเชื่อว่าสิ่งที่เราได้กลับมานั้นมันจะต้องคุ้มค่ากับการล้มลงไปบนพื้นของดวงจันทร์แน่นอน

 

เรียงเรียงโดย ทีมงาน SPACETH.CO

อ้างอิง

We’ll Never Get Tired of This Video of Astronauts Falling Over on The Moon

Falling on the Moon: How Much Gravity Do Astronauts Really Need?

มายด์ - บรรณาธิการและนักเขียน นิสิตปี 1 ภาคฟิสิกส์ จุฬาฯ สนใจเรื่องอวกาศ วิทยาศาสตร์ BLACKPINK อดีตไอดอลที่ออกวงการมาแล้ว และในปัจจุบันนี้เป็น Atomic Queen Ambassador of Physics 2019