DNA Storage อนาคตของการเก็บข้อมูล เยอะกว่าล้านเท่าตัว ซับซ้อนด้วยกลไกของชีวิต

เพราะการคิดค้นหลอดไฟไม่ได้เกิดขึ้นได้จากการพัฒนาเทียนไขไปเรื่อย ๆ ในหลายต่อหลายครั้งการพัฒนานวัตกรรมที่จะนำพาสังคมมนุษย์ให้ก้าวต่อไปสู่อนาคตข้างหน้า ก็จำเป็นต้องอาศัยแนวคิดริเริ่มประดิษฐ์สิ่งแปลกใหม่หมดจดที่ไม่เหมือนกับสิ่งที่เคยมีมาในอดีต ดังเช่นการเกิดขึ้นของ DNA Storage หรือการพัฒนาการใช้สารชีวโมเลกุลเป็นตัวกลางชนิดใหม่ในการเก็บข้อมูลแทนวิธีที่เราอาจคุ้นชินอย่างกระดาษหรือแถบแม่เหล็ก ในยุคการล้นทะลักของข้อมูลอย่างในปัจจุบัน ศาสตร์ของ DNA Storage ได้เป็นที่พูดถึงมากยิ่งขึ้นเรื่อย ๆ ในแวดวงวิชาการจากข้อมูลที่น่าสนใจอย่างการที่ในเชิงทฤษฎี DNA สามารถเก็บข้อมูลได้ถึง 10^18 ไบต์หรือกว่า 1,000,000 เทระไบต์ในพื้นที่เพียง 1 ลูกบาศก์มิลลิเมตร (หรือประมาณ 215 เพตะไบต์/กรัม) เท่านั้น ซึ่งมากกว่าวิธีเก็บที่ได้มากที่สุดในปัจจุบันในพื้นที่ขนาดเท่ากันกว่า 1,000,000 เท่า โดยหลายต่อหลายคนเชื่อว่ามันจะเป็นวิธีที่อาจก้าวนำเราสู่ยุคใหม่ของการเก็บข้อมูลที่ซับซ้อนยิ่งขึ้นและทนทานยิ่งขึ้น จุดเริ่มต้นของ DNA Storage ในปี 1959 Richard Feynman หนึ่งในนักฟิสิกส์ที่ทรงอิทธิพลมากที่สุดของครึ่งหลังของศตวรรษที่ 20 ได้เริ่มเปิดประเด็นของการใช้ประโยชน์จากการย่อวัตถุต่าง ๆ ให้มีขนาดเล็กลงซึ่งสามารถตั้งข้อสังเกตได้ว่าเมื่อวัตถุที่สามารถทำหน้าที่ได้เหมือนกันมีขนาดเล็กลง เราจะสามารถใช้ประโยชน์จากพื้นที่ขนาดเท่าเดิมได้มากยิ่งขึ้น โดยได้เสนอแนวทางในหลายรูปแบบไม่ว่าจะเป็นการย่อส่วนคอมพิวเตอร์ การคิดค้นกล้องจุลทรรศน์ที่มีประสิทธิภาพสูงขึ้น รวมถึงได้ตั้งข้อคิดเห็นว่าเราอาจสามารถใช้ประโยชน์จากสสารทางชีววิทยาที่มักมีขนาดเล็กอย่างเซลล์ของสิ่งมีชีวิตได้ (หัวข้อของเลคเชอร์ที่ Feynman พูดถึงเรื่องนี้มีชื่อว่า There’s Plenty of Room at … Continue reading DNA Storage อนาคตของการเก็บข้อมูล เยอะกว่าล้านเท่าตัว ซับซ้อนด้วยกลไกของชีวิต