บรรยากาศวงการอวกาศ ในวันเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯ 2024
ช่วงเที่ยงของวันที่ 6 พฤศจิกายน 2024 ตามเวลาประเทศไทย ผลการนับคะแนนอย่างไม่เป็นทางการของการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯ ได้ออกมาแล้วว่า Donald Trump ผู้สมัครจากพรรค Republican ได้รับคะแนนรวมสูงสุด เป็นที่แน่ชัดว่าประธานาธิบดีคนถัดไปของสหรัฐฯ ได้กลับมาเป็น Donald Trump อีกครั้ง หลังจากที่เขาเคยเป็นประธานาธิบดีคนที่ 45 ของสหรัฐฯ ในช่วงปี 2017-2021 บรรยากาศนี้เกิดขึ้นท่ามกลางความดุเดือดของการเมืองสหรัฐฯ ในช่วงหลัง ที่เต็มไปด้วยสถานการณ์มากมาย รวมถึงการถูกลอบสังหารในเดือนกรกฎาคม 2024 และการสลับเปลี่ยนตัวแคนดิเดทของฝั่ง Democrat จาก Joe Biden มาเป็น Kamala Harris แทน คงปฏิเสธไม่ได้ว่าผลการเลือกตั้งดังกล่าว ส่งผลต่ออนาคตของสหรัฐฯ อย่างหลีกเหลี่ยงไม่ได้ ทั้งในประเทศ นโยบายต่างประเทศ รวมถึงในแวดวงอวกาศด้วย ดังนั้นบรรยากาศการเลือกตั้งสหรัฐฯ นั้นไม่ได้สะท้อนผ่านแค่การลงคะแนนเลือกตั้งในอวกาศอย่างเดียว แต่รวมถึงท่าที มุมมองทางการเมือง และความเป็นไปได้ของนโยบายอวกาศต่อจากนี้ด้วย บรรยากาศการเลือกตั้งในอวกาศ ในบรรยากาศการเลือกตั้งรอบนี้ ช่วงต้นเดือนตุลาคม 2024 มีนักบินอวกาศชาวอเมริกัน อยู่บนสถานีอวกาศนานาชาติมากถึง 4 คน […]
จะเกิดอะไรขึ้นเมื่อไทยร่วมสำรวจดวงจันทร์กับทั้งสหรัฐฯ และจีน
เมื่อช่วงปลางปี 2023 ที่ผ่านมา ประเทศไทยได้เซ็นความร่วมมือ International Lunar Research Station หรือ ILRS กับจีน โดยได้มีการจัดพิธีการเซ็น ณ กรุงปักกิ่ง สาธารณรัฐประชาชนจีน ซึ่งทำให้ไทยมีชื่อเป็นหนึ่งในสมาชิกระดับรัฐ ในโครงการสำรวจอวกาศที่ถูกริเริ่มโดยจีนและรัสเซีย ในขณะเดียวกันเมื่อวันที่ 29 ตุลาคม 2024 ทางสำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ หรือ GISTDA ก็ได้ ประกาศผ่านโซเชียลมีเดีย ว่าคณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบให้ไทยเข้าร่วมเซ็น Artemis Accord ร่วมกับฝั่งสหรัฐฯ แล้ว แม้จะยังไม่ได้มีการเซ็นอย่างเป็นทางการ แต่ก็เป็นการประกาศจากหน่วยงานภาครัฐอย่างเป็นทางการครั้งแรก ที่พูดถึงการเข้าร่วม Artemis Accord ILRS นั้นมีเนื้อหาว่าด้วยแผน Roadmap การส่งยานอวกาศสำรวจทั้งบนวงโคจรและบนพื้นผิวของดวงจันทร์ โดยปลายทางคือการตั้งสถานีวิจัยบนดวงจันทร์ ในขณะที่ Artemis Accord มีเนื้อหาว่าด้วยการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรบนดวงจันทร์อย่างสันติ เพื่อวิทยาศาสตร์และการวิจัย รวมถึงการปกป้องแหล่งประวัติศาสตร์สำคัญ (นั่นก็คือจุดลงจอดโครงการ Apollo) ทั้งสอง แม้จะมีความแตกต่างกันในเชิงเนื้อหา แต่ในทางนโยบายทางการทูตแล้วก็เป็นการแสดงออกในการยอมรับแนวคิด และนโยบายด้านอวกาศของทั้งสองชาติมหาอำนาจ ซึ่งหากการเซ็น Artemis […]
รู้จักเรือ Jacklyn สำหรับลงจอดจรวด New Glenn ของ Blue Origin
ต้นเดือนกันยายน 2024 ช่วงเวลาก่อนการทดสอบเที่ยวบินแรกของจรวด New Glenn จรวดยักษ์ของบริษัท Blue Origin เรือสำหรับลงจอดจรวด Landing Platform Vessel 1 (LPV1) ที่ Blue Origin ตั้งชื่อว่า “Jacklyn” ก็ได้เดินทางมาถึงท่าเรือคะเนอเวอรัล ใกล้กับฐานปล่อย LC-36 ที่ Blue Origin ได้ไปเช่าต่อในพื้นที่ของกองทัพอวกาศสหรัฐฯ เพื่อใช้เป็นฐานปล่อยจรวด New Glenn จรวด New Glenn นั้นนอกจากจะเข้ามาทำตลาดในกลุ่ม Medium-Lift ถึง Heavy-Lift Launch Vehicle แล้ว ยังจะเป็นจรวดในระดับ Orbital Class (สามารถส่งดาวเทียมหรือยานอวกาศได้ถึงวงโคจร) ที่สามารถนำกลับมาใช้ได้ (Reusable) ลำที่สองของโลก ต่อจากจรวด Falcon 9 ของ SpaceX ซึ่งก่อนหน้านี้ Blue Origin ได้เปิดเผยไว้แล้วว่า […]
Boeing Starliner
พาเดินทางไปติดตามภารกิจ Boeing CST-100 Starliner ในเที่ยวบิน Crew Flight Test ณ ฐานปล่อย ในแหลมคะเนอเวอรัล สหรัฐอเมริกา ยานอวกาศที่บอก Boeing ว่าเส้นทางสู่ดวงดาวนั้นไม่ง่ายนัก
Latest Stories
Explore NASA Jet Propulsion Laboratory
บทความพิเศษ พาชม Jet Propulsion Laboratory (JPL) ต้นกำเนิดของภารกิจสำรวจอวกาศที่เราคุ้นเคย โรงเก็บโรเวอร์ ยานอวกาศ Europa Clipper ที่ปัจจุบันอยู่ระหว่างการประกอบ และห้องควบคุมภารกิจที่ปรากฎในเหตุการณ์ประวัติศาสตร์ด้านการสำรวจอวกาศหลาย ๆ เหตุการณ์
Artemis Program
โครงการความร่วมมือนานาชาติ Artemis กับเป้าหมายการมนุษย์กลับสู่ดวงจันทร์ เพื่ออยู่ และเดินทางสู่อวกาศห้วงลึกต่อไป ติดตาม บทความ วิเคราะห์เจาะลึก สรุปทุกข้อมูล
Podcast
รายการวิทยาศาสตร์ อวกาศ และปรัชญา ที่พูดถึงจุดตัดระหว่างศิลปะ วิทยาศาสตร์ และความเป็นมนุษย์ โดยมีอวกาศช่วยเปิดมุมมองเพื่อนำไปสู่การตั้งคำถามต่อธรรมชาติที่จะทำให้เราเห็นความเชื่อมโยงระหว่างชีวิตกับธรรมชาติ ในมิติของสังคม การเมือง และวัฒนธรรม
Mars Exploration
Exoplanet
พาชมการปล่อย Falcon 9 ที่แหลมคะเนเวอรัล
พาทุกคนไปชมบรรยากาศการปล่อยจรวด Falcon 9 ภารกิจ PACE ของ NASA จากมุมมองการเป็น Accredited Media ของ NASA ครับ ซึ่งน่าจะเป็นมุมที่หลายคนไม่เคยเห็นมาก่อน ว่าในการปล่อยจรวดแต่ละครั้ง สื่อทำงานอย่างไร อยู่ตรงไหน และอุปสรรคที่ต้องเจอมีอะไรบ้าง