2020 SO ถูกพบโดยนักดาราศาสตร์เมื่อเดือนกันยายนที่ผ่านมาขณะที่กำลังสอกนหาวัตถุใกล้โลกหรือ near-Earth object (NEO) ด้วยกล้องโทรทรรศน์ Pan-STARRS1 ใน Maui โดยนักดาราศาสตรตรวจพบว่า 2020 SO นั้นมีวงโคจรที่แปลกกว่าวงโคตรดาวเคราะห์น้อยทั่วไปอีกทั้งขนาดที่เล็กของมันจนทำให้สังเกตการณ์ได้ยาก ทำให้นักดาราศาสตร์สันนิษฐานว่ามันอาจไม่ใช่ NEO
จากการวิเคราะห์และติดตามแบบ Traceback ของวงโคจรของ 2020 SO พบว่ามันเคยเข้าใกล้โลก (Approach) เมื่อปี 1966 ทำให้เป็นไปได้ว่ามันอาจไม่ได้มาจากที่อื่นแต่มาจากโลก ซึ่งเมื่อค้นประวัติการปล่อยจรวดในปี 1966 ของ NASA เอง Paul Chodas ผอ. ของศูนย์วิจัยศึกษาวัตถุใกล้โลก (CNEOS: Center for near-Earth object studies) ก็ได้สรุปไว้เบื้องต้นว่าอาจเป็นชิ้นส่วนของจรวด Atlas LV-3C โดยเฉพาะ Upper stage ที่เรียกว่า Centaur ของมันที่ใข้ในการปล่อยยาน Surveyor 2 เมื่อปี 1966 พอดี
จากข้อมูลเบื้องต้นที่ได้มาจาก CNEOS ทีมนักดาราศาสตร์ของ University of Arizona ได้ใช้กล้อง IRTF (Infrared Telescope Facility) ของ NASA ซึ่งตั้งอยู่ที่ Maunakea, Hawaii ในการทำ Spectroscopy ของ 2020 SO ซึ่งจากการใช้กล้อง Large Binoculars Telescope (LBT) สำรวจล่วงหน้าได้ข้อมูลว่ามันไม่ใช่ดาวเคราะห์น้อยแน่ ๆ
การสำรวจ 2020 SO ด้วยการทำ Soectroscopy โดย IRTF เปรียบเทียบกับ Spectrum ของ 301 Stainless Steel ซึ่งเป็นวัสดุที่ใช้ในจรวด Centaur พบว่า Spectrum data จากทั้งสองมีความใกล้เคียงกันอยู่แต่ไม่ถึงกับตรงจึงยังไม่สามารถสรุปได้ 2020 SO ประกอบด้วย 301 Stainless Steel และเป็นชิ้นส่วนของจรวด Centaur ซึ่งทีมนักวิทยาศาสตร์สันนิษฐานว่าค่า Spectrum data ที่ไม่ตรงกันของทั้งสองอาจเกิดจาก 2020 SO ซึ่งในขณะนั้นคาดว่าเป็นชิ้นส่วนของจรวด Centaur ซึ่งทำจาก 301 Stainless Steel และปล่อยเมื่อปี 1964 หรือ 54 ปีทีแล้ว หมายความว่ามันกำลังเจอกับสภาวะอะนโหดร้ายของอวกาศเป็นเวลากว่า 54 ปี จึงทำให้เป็นไปได้ว่า Spectrum ที่แปรเปลี่ยนไปอาจเกิดจากสภาพของวัสดุบน 2020 SO
ดังนั้นการจะพิสูจน์ว่า 2020 SO คือชิ้นส่วนของจรวด Centaur จะต้องหาจรวด Centaur อีกชิ้นที่เจอสภาพเดียวกันเป็นเวลาใกล้เคียงกันมาเทียบ
วันที่ 1 ธันวาคม 2020 ทีมนักดาราศาสตร์ได้ใช้กล้อง IRTF สำรวจ Spectrum ของชิ้นส่วนจรวด Centaur D ซึ่งถูกใช้ในการปล่อยเาวเทียมสื่อสารเมื่อปี 1971 หรือประมาณ 49 ปีทีแล้วและยังอยู่ในวงโคจร Geostationary Transfer Orbit ซึ่งใกล้โลกมาก ๆ แต่ก็ทำให้ยากต่อการสำรวจเช่นกันเพราะวัตถุมีความเร็วสูง ซึ่งวัสดุ 301 Stainless Steel ใน Centaur D ที่เจอสภาพอวกาศมาเกือบ 50 ปีทำให้ Spectrum ของมันเปลี่ยนไปจาก Spectrum ของ Stainless Steel ใหม่เอี่ยม แต่เมื่อนำข้อมูล Spectrum ของ Centaur D ไปเปรียบเทียบกับข้อมูลจาก 2020 SO ข้อมูลดังกล่าวกลับตรงกัน
ทำให้สามารถสรุปได้ว่า 2020 SO นั้นคือชิ้นส่วนของจรวด Centaur ที่ใช้ในการปล่อย Surveyor 2 เมื่อ 54 ปีที่แล้ว แม้ว่าจะไม่สามารถถ่ายรูปมันได้เพราะว่ามันเล็กเกินไปแต่ข้อมูลวงโคจรเหล่านี้รวมกับข้อมูล Spectrum ที่ได้มาล่าสุดก็ทำให้เราสามารถเชื่อได้แล้วว่า 2020 SO คือชิ้นส่วนอารยธรรมการพยายามก้าวข้ามขีดจำกัดของมนุษย์ในอดีตและมันจะยังไม่หายไปไหนแต่จะอยู่ในวงโคจรใกล้โลกไปอีกสักพักก่อนที่มันจะถูกเหวี่ยงออกไป Heliocentric orbit รอบดวงอาทิตย์ในเดือน มีนาคม 2021
เรียบเรียง โดย ทีมงาน SPACETH.CO
อ้างอิง
New Data Confirm 2020 SO to be the Upper Centaur Rocket Booster from the 1960’s