เจาะลึกไฟไหม้ป่า Amazon สถานที่ที่เปรียบเสมือนปอดของโลก มุมมองจากอวกาศ

กลุ่มอนุรักษ์ธรรมชาติในประเทศบราซิลกำลังจัดตั้งแคมเปญเพื่อต่อต้านประธานาธิบดี Jair Bolsonaro ของประเทศบราซิล โดยเค้ามีพฤติกรรมสนับสนุนให้ภาคเอกชนสามารถใช้ทรัพยากรของประเทศบราซิลในเขตป่า Amazon ได้อย่างเสรีรวมถึงปล่อยปละละเลยการถางป่าอย่างผิดกฎหมาย นำมาสซึ่งผลกระทบอันใหญ่หลวงต่อระบบนิเวศไม่ว่าจะเป็นทั้งทางด้านความหลากหลายทางชีวภาพ ภูมิอากาศของโลก และยังอาจนำมาซึ่งการสูญพันธ์ของสัตว์ป่าหลากหลายชนิดอีกด้วย ซึ่งจะส่งผลกระทบทั้งระยะสั้นและยาวต่อมวลมนุษยชาติและโลกของเรา

สาเหตุของการเกิดไฟป่าในครั้งนี้

ประธานาธิบดี Jair Bolsonaro ของประเทศบราซิล รับตำแหน่งเมื่อวันที่ 1 มกราคม 2019 ได้ออกนโยบายรัฐเพื่ออนุญาตให้ภาคเอกชนของประเทศบราซิลมีสิทธิเสรีในการลุกล้ำพื้นที่เขตป่า Amazon เพื่อเข้าไปใช้ทรัพยากรภายในเขตป่า Amazon และลดความสำคัญการอนุรักษ์พื้นที่ป่า Amazon ลงไปโดยการลดโทษในการลุกล้ำพื้นที่เขตป่า Amazon และลดการเฝ้าระวังผู้บุกรุกเขตป่า Amazon ลง โดยการตัดงบประมาณด้านการอนุรักษ์ธรรมชาติลงไปกว่า 23 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือประมาณ 70 ล้านบาท เพื่อนำงบประมาณนี้ไปใช้พัฒนาการคมนาคมและเขื่อนผลิตไฟฟ้าในเขตป่า Amazon แทน

ประธานาธิบดี Jair Bolsonaro ของประเทศบราซิล – ที่มา Wikipedia

โดยจากสิถิติ ในยุคสมัยของรัฐบาล Jair Bolsonaro เค้าสามารถยึดไม้ผิดกฎหมายที่ได้มาจากการถางป่าอย่างไม่ชอบธรรมได้เพียง 40 ลูกบาศก์เมตร ในขณะที่รัฐบาลชุดก่อนในปี 2018 สามารถยึดไม้ผิดกฎหมายได้ถึง 25,000 ลูกบาศก์เมตร เป็นผลมาจากการประกาศใช้นโยบายรัฐที่ลดความเข้มงวดในพื้นที่เขตป่า Amazon ลงนั้นเอง

นอกจากนี้เขายังไล่ผู้อำนวยการของ National Institute for Space Research หรือ INPE ออกจากตำแหน่งอีกด้วย เนื่องจากผู้อำนวยการคนนี้พยายามจะปล่อยภาพถ่ายดาวเทียมที่แสดงให้เห็นถึงพื้นที่ป่าที่ถูกทำลายไปมากกว่า 88% เทียบกับปีก่อน และประธานาธิบดีคนนี้ก็ออกมาแถลงว่าภาพถ่ายดาวเทียมที่ผู้อำนวยการ INPE ปล่อยออกมาเป็นเรื่องโกหก และเมื่อนักข่าวถามเค้าเกี่ยวกับไฟป่าเค้ากลับแก้ตัวว่า

“มันเป็นฤดูที่เกษตรกรทั้งหลายจะใช้ไฟในการเคลียร์พื้นที่เพื่อใช้ในการเพาะปลูก เรียกว่าฤดู Queimada”

Jair Bolsonaro

และจากนโยบายของรัฐบาลของเขาที่เหมือนอนุญาตให้ประชาชน เกษตรกรทั่วไป และภาคเอกชน โยนไฟเข้าไปในเขตป่า Amazon เล่นได้ ก่อให้เกิดความพยายามในการเผาป่าเพื่อนำมาใช้เป็นพื้นที่เกษตรจำนวนมากและลุกลามจนเกิดเป็นไฟป่าขนาดใหญ่ในปัจจุบันที่ยังไม่สามารถควบคุมได้

เหตุผลที่ข่าวกระจายมาช้ามากทั้ง ๆ ที่พื้นที่ป่าของ Amazon หายไปมากแล้วเกิดมาจากการปิดบังข่าวของรัฐบาล Jair Bolsonaro และนั้นก็จุดชนวนความขัดแย้งระหว่างกลุ่มอนุรักษ์ธรรมชาติและรัฐบาลของ Jair Bolsonaro จนได้

การลุกล้ำเขตป่า Amazon

จากข้อมูลของ INPE หรือ National Institute for Space Research ของประเทศบราซิลพบว่าพื้นที่ป่าจำนวนมากของ Amazon ถูกลุกล้ำโดยการ Deforest เพื่อใช้ในการเกษตร ในการทำเป็นแปลงปลูกพืช โดยพื้นที่ ๆ มีการลุกล้ำสูงที่สุดมีขนาดถึง 13,928 ตารางกิโลเมตร โดยเมื่อรวมกับฐานข้อมูลการลุกล้ำพื้นที่ป่าของ INPE ทั้งหมดแล้ว พบว่าพื้นที่กว่า 35,740 ตารางกิโลเมตรถูกลุกล้ำโดยการ Deforest ไปแล้วและยังมีแนวโน้มที่จะเพิ่มขึ้นอีกอย่างต่อเนื่อง ซึ่งยังไม่นับรวมพื้นที่ป่าที่ไม่ได้อยู่ในฐานข้อมูลอีก

พืนที่ป่า Amazon ที่กำลังถูกลุกล้ำโดยการ Deforestation – ที่มา INPE/ TerraBrasilis

โดยพบว่าการ Deforest ส่วนมากใช้วิธีการเผาป่าแทนการโคนต้นไม้ดี ๆ นอกจากจะไม่ใช่วิธีที่ดีในการถางป่าแล้วยังผิดกฎหมายอีกด้วย เพราะว่าป่า Amazon เป็นป่าที่มีขนาดใหญ่มากจึงทำให้ไฟลามได้ง่ายมากและป่า Amazon ยังอยู่ในเขตร้อนอีกด้วยทำให้มีปัจจัยการเกิดไฟป่าสูงมาก

กราฟแท่งเปรียบเทียบพื้นที่ที่ถูกลุกล้ำด้วยวิธีการ Deforestation ต่าง ๆ ในเขต Amazon – ที่มา INPE/TerraBrasilis

จากกราฟแท่งจาก INPE จะเห็นได้ว่าการถางป่าโดยการใช้ไฟ (Wildfire scar) เป็นสาเหตุของการหายไปของผืนป่า Amazon มากที่สุดอันเนื่องมาจากการไม่คำนึงถึงผลกระทบต่อธรรมชาติของมนุษย์บางกลุ่ม และกราฟนี้เป็นเพียงข้อมูลบางส่วนของโครงการ PRODES (2016-2016), DETER Project ของ INPE ซึ่งยังไม่ได้นับรวมการ Deforest ในปี 2017, 2018 และปีนี้รวมถึงปีก่อนการก่อตั้งโครงการ

ผลกระทบจากการกระทำของประธานาธิบดีบราซิล

“The lungs of the planet are burning.”

ผลกระทบจากการกระทำของประธานาธิบดี Jair Bolsonaro ที่ไม่คำนึงถึงผลกระทบที่จะตามมาทั้งในระยะสั้นและระยะยาวต่อเพื่อนมนุษย์และสิ่งมีชิวิตทั้งหลายบนโลกนี้คือ ไฟป่าที่ลุกโชนป่า Amazon ที่เป็นดั่งปอดของโลกเรามามากกว่า 3 สัปดาห์แล้ว และคาดว่าน่าจะยังลุกต่อไปเรื่อย ๆ วันที่ 15 สิงหาคม 2019 ไฟป่าในเขต Amazon ทวีความรุนแรงขึ้นจนรัฐบาล Brazil ต้องประกาศภาวะฉุกเฉินอันเนื่องมาจากแรงกดดันจากนานาประเทศ วันที่ 21 สิงหาคม วันที่กราฟจำนวนไฟป่าในป่า Amazon ทำลายสิถิติ Peak ที่ 9,500 ครั้ง ภายใน 1 สัปดาห์ และมีแนวโน้มจะเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยในปีนี้เกิดไฟป้าในบราซิลไปแล้วมากกว่า 72,000 ครั้ง ซึ่งเกือบเป็นเท่าตัวของสิถิติในปีที่แล้วที่ 40,000 ครั้ง เพิ่มขึ้นมาจากเดิมถึง 83% นับว่าเป็นเรื่องใหญ่มากที่ทุกคนต้องตระหนักถึงความสำคัญต่อการอนุรักษ์ป่าเป็นอย่างมาก

กราฟเปรียบเทียบจำนวนครั้งของไฟป่าในเขต Amazon rainforest ระหว่างปี 2013-ปัจจุบัน – ที่มา National Institute for Space Research/BBC

ป่า Amazon มีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งในการช่วยลดระดับคาร์บอนไดออกไซด์ในชั้นบรรยากาศของโลกเรา อากาศเสียทุกโมเลกุลที่เราหายใจออกมาต่างถูกกำจัดโดยผืนป่าขนาดใหญ่ หากแต่ผืนป่ากว่า 5.5 ล้านตารางกิโลเมตร ซึ่งทำหน้าที่ผลิตออกซิเจนกว่า 20% ของอากาศทั้งหมดในชั้นบรรยากาศของโลกกำลังถูกคุกคามโดยไฟป่า หมายความว่าแหล่งผลิตออกซิเจนกว่า 20% ของโลกเรากำลังจะหายไป

Amazon Fire
ส่วนหนึ่งของป่า Amazon ที่ถูกไฟป่าเผาทำลาย – ที่มา REUTERS

ผลกระทบจากการที่ป่า Amazon ถูกเผาเพื่อนำมาใช้เป็นพื้นที่เกษตรกรรมคือพื้นที่ป่าทั่วโลกที่น้อยอยู่แล้วยิ่งจะมีน้อยลงไปอีก ซึ่งการกระทำแบบนี้ถือเป็นการ Deforest อย่างหนึ่งของเกษตรกรที่พยายามจะเผาพื้นที่ป่าบางส่วนเพื่อเอาพื้นที่นั้น ๆ มาทำเป็นแปลงปลูกพืชแต่มันดันลามไปไกลเพราะด้วยสภาพภูมิอากาศในเขตป่า Amazon เป็นพื้นที่ ๆ มีความชื้นต่ำและมึอุณหภูมิสูงจึงทำให้ประกายไฟเล็ก ๆ ก็สามารถจุดไฟเผาป่าได้อย่างง่ายดาย

ภาพไฟป่าในเขต Amazon – ที่มา REUTERS

ควันจากการเผาไหม้ในเขตป่า Amazon ถูกกระแสลมจากทะเลพัดไปไกลกว่า 3,000 กิโลเมตร ปกคลุมเมืองจำนวนมากในพื้นที่ที่มีรัศมีภายใน 3,000 กิโลเมตร รวมถึงนครเซาเปาโลของประเทศบราซิลทำให้นครเซาเปาโลของประเทศบราซิลมืดครึ้มอันเนื่องมาจากควันไฟที่ปกคลุมอยู่เหนือเมืองหลายชั่วโมง

ซึ่งควันไฟจากการเผาป่า Amazon ก็ไม่ต่างจากควันไฟในการเผาอ้อยในบ้านเรา มันนำมาซึ่งฝุ่นขนาดเล็กที่รู้จักกันดีในชื่อว่า PM 10 และ PM 2.5 ซึ่งมีผลต่อระบบทางเดินหายใจของมนูษย์เป็นอย่างมาก และไม่ใช่แค่มนุษย์ที่ได้รับผลกระทบ แต่ยังมีสัตว์อื่น ๆ ที่ได้รับผลกระทบจากฝุ่น PM 10 และ PM 2.5 อีกด้วย และไม่ใช่แค่ฝุ่น PM แต่มันยังแถมทั้งแก๊ส Carbon Dioxide และ แก๊ส Carbon Monoxide ซึ่งเป็นพิศร้ายแรงต่อร่างกายมากหากมีความเข้มข้นสูง ซื้อ 1 แถม 2 เป็นยังไงละ แล้วคิดสภาพสัตว์ที่อาศัยอยู่ในเขตป่า Amazon ที่อยู่ใกล้แหล่งกำเนิดแก๊ส Carbon Dioxide และ Carbon Monoxide ที่ต้องสูดแก๊สพิษเข้าไปในร่างกายมากกว่ามนุษย์หลายเท่า มนุษย์เจอแค่ควันที่โดนพัดมา แต่สัตว์ป่าที่อาศัยอยู่ในเขตป่า Amazon โดนควันเต็ม ๆ

ควันไฟจากการเผาป่าเขต Amazon มีจำนวนมากจนสามารถมองเห็นได้จากดาวเทียมของ NASA (National Oceanic and Atmospheric Administration) ที่อยู่ใน Low Earth Orbit (LEO) ซึ่งเป็นดาวเทียมอุตุนิยมวิทยาของ NASA เพื่อใช้ในการวัดค่า Burning aerosol biomass และใช้ในการพยากรณ์อากาศของ NASA

ภาพถ่ายจากดาวเทียมสำรวจอุตุนิยมวิทยา (NOAA) ของ NASA – ที่มา NASA/NOAA

จากภาพถ่ายทางดาวเทียมจะเห็นว่าควันไฟจำนวนมากปกคลุมภูมิภาคของป่า Amazon และประเทศใกล้เคียง Brazil ซึ่งผลกระทบจากควันไฟยังไม่หมดเพียงแค่นี้แต่แก๊ส Carbon Dioxide ที่ลอยไปปกคลุมในชั้นที่เกิดก้อนเมฆขึ้นอาจทำให้เกิดฝนกรด ที่ถึงแม้จะเป็นกรดอ่อนแต่ก็ยังสามารถสร้างความเสียหายแก้สิ่งก่อสร้างต่าง ๆ ได้อีกด้วย

ภาพถ่ายทางดาวเทียมของควันไฟเมื่อวันที่ 11 สิงหาคม 2019 – ที่มา NASA

ข้อมูลจากดาวเทียมสำรวจของบราซิลระบุว่าผืนป่าประมาณ 1 สนามฟุตบอลของป่า Amazon จะหายไปทุก ๆ นาที ซึ่งมีสาเหตุมาจากการถางป่าอย่างผิดกฎหมายเพื่อใช้ในการทำเกษตรกรรม สืบเนื่องมาจากนโยบายรัฐของรัฐบาลบราซิลปัจจุบันที่ลดโทษการถางป่าอย่างผิดกฎหมายและไม่สนับสนุนการต่อต้านการถางป่า แสดงให้เห็นถึงความไม่ใส่ใจของรัฐบาลในการดูแลรักษาผืนป่าของมนุษย์

แผนที่แสดงการเผาไหม้ของชีวมวลในอากาศในเขตป่า Amazon – ที่มา CAMS

จากแผนที่แสดงการเผาไหม้ของชีวมวลในเขตป่าแสดงให้เห็นถึงการลามของไฟป่าอย่างรวดเร็วในเขตป่า Amazon ทำให้อุณหภูมิในบริเวณที่เกิดการเผาไหม้สูงขึ้นซึ่งมีผลกระทบต่อสัตว์ที่อาศัยอยู่ในเขตป่า Amazon เป็นอย่างมาก

แผนที่แสดงค่า Carbon Monoxide – ที่มา CAMS

ข้อมูลจาก Copernicus Atmosphere Monitoring Service โครงการย่อยของ The Copernicus Programme ภายใต้การดูแลของ ECMWF (European Centre for Medium-Range Weather Forecasts) และ European Commission กำลังบอกเราว่าพื้นที่ในเขตป่า Amazon ตอนนี้กลายเป็นเหมือนภูเขาไฟที่กำลังปะทุและปลดปล่อยมลพิษอย่างแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ออกมา แทนที่จะเป็นแก๊สออกซิเจน ระบบนิเวศจะพังทลายอันเนื่องมาจากการสูญเสียถิ่นที่อยู่อาศัยของสัตว์นานาชนิด ความหลากหลายทางชีวภาพจะลดลงเพราะสายใยอาหารบกพร่องทำให้เกิดภาวะ population decline

ประชากรแต่ละสปีชีส์จะลดลงจนทั้งสายใยอาหาร ห่วงโซ่อาหาร และระบบนิเวศล่มทั้งระบบ เมื่อเขตป่า Amazon ซึ่งรวบรวมความหลากหลายทางชีวภาพ (Biodiversity) ไว้กว่า 10% ล่มลง อาจนำไปสู่การสูญพันธ์ของสปีชีส์บางสปีชีส์อันเนื่องมาจากการขาดอาหาร ขาดถิ่นที่อยู่อาศัยหรือถูกล่าจนสูญพันธ์

และผลกระทบนั้นจะมาถึงมนุษย์ในที่สุด เมื่อสัตว์ทั้งหลายตายลงหรือถึงขั้นสูญพันธ์มนุษย์ก็จะขาดอาหารเพราะไม่มีสัตว์ให้ล่า ทำให้เกิดภาวะขาดแคลนอาหารในระดับภูมิภาคได้

ภาพกราฟิกของพื้นที่ป่า Amazon ที่ถูกไฟป่าคุกคาม – ที่มา WINDY

หากสถานการณ์ไฟป่ายังคงไม่คลี่คลายโดยเร็ว ผืนป่า Amazon ขนาดใหญ่อันดับ 1 ของโลกจะแปลงสภาพกลายเป็นทุ่งหญ้าสะวันนาแทน และแหล่งผลิตออกซิเจนที่เปรียบเสมือนปอดของโลกเราที่ช่วยผลิตออกซิเจนกว่า 20% ก็จะหายไป แก๊ส Carbon Dioxide เฉลี่ยในอากาศก็จะสูงขึ้น นำไปสู่ภาวะเรือนกระจกที่ทำให้เกิดภาวะโลกร้อนเพราะความร้อนจากดวงอาทิตย์สะท้อนออกไปนอกชั้นบรรยากาศไม่ได้ ทำให้อุณหภูมิเฉลี่ยของโลกสูงขึ้น ธารน้ำแข็งบนขั้วโลกละลายแล้วทำให้ระดับน้ำทะเลสูงขึ้นจนกัดเซาะพื้นที่ชายฝั่งไป

การจะฟื้นฟูระบบนิเวศ (Ecosystem) ในที่นี้เป็นไปได้อย่างยากมากหากเราไม่แก้ตั้งแต่ตอนนี้ เพราะการฟื้นฟูระบบนิเวศเมื่อมันล่มไปแล้วจะใช้ทั้งทรัพยากรและเวลาซึ่งอาจมากกว่า 100 ปี หรือ หมื่นปีเลยก็เป็นได้ และมันอาจไม่เหมือนเดิม อย่างเช่นสัตว์ที่สูญพันธ์ไปแล้ว เราก็จะไม่สามารถกู้คืนพวกมันกลับมาได้ด้วยเทคโนโลยีในปัจจุบัน และทั้งหมดนี้จะเกิดขึ้นเร็วมากเป็นดั่งปฎิกิริยาลูกโซ่เพราะฉะนั้นเราควรเข้าใจถึงผลกระทบเหล่านี้ที่กำลังจะเกิดขึ้น

ผืนป่า Amazon กำลังถูกทำลายในขณะนี้โดยยังมีไฟป่าเกิดขึ้นในเขตป่า Amazon อย่างต่อเนื่องจนตอนนี้ทางการบราซิลยังไม่สามารถประเมินพื้นที่ของผืนป่าที่เสียไปได้ แต่แน่นอนว่าเสียไปจำนวนมาก ถ้าเรายังไม่ตระหนักถึงปัญหาและหาวิธีทางแก้ไขปัญหาที่เราสร้างมันขึ้นมาเอง แล้วใครที่ไหนจะมาแก้ปัญหาให้เรา หากเรายังปล่อยให้ป่า Amazon ลุกเป็นไฟต่อไปเราก็เปรียบเสมือนเรากำลังฆ่าเผ่าพันธุ์ของตัวเองอยู่และดาวเคราะห์ดวงเดียวดวงนี้ที่ให้เราอยู่อาศัย เช่นเดียวกับมะเร็ง

สามารถเข้าไปเยี่ยมชมฐานข้อมูลการลุกล้ำพื้นที่ป่าในเขต Amazon จากดาวเทียมสำรวจของประเทศบราซิล (DETER, PRODES Project) ได้ที่นี่

เรียบเรียงโดย ทีมงาน Spaceth.co

อ้างอิง

European Centre for Medium-Range Weather Forecasts

Amazon rainforest Burning at record rate

BBC Amazon fires: Record number burning in Brazil rainforest

CNN Amazon rainforest wildfire breaking a record

Copernicus Atmosphere Monitoring Service CO Forecasts

Copernicus Atmosphere Monitoring Service Aerosol Forecasts

NASA Earth Observatory, Fires in Brazil

Global Fire Database (GFED) Amazon

Chief Science | A 20-year-old biologist with a passion for space exploration, science communication, and interdisciplinarity. Dedicated to demystifying science for all - Since 2018.