5 Apollo Facts เจาะลึกความจริงเกี่ยวกับโครงการอพอลโลที่เราอาจจะยังไม่รู้

ผู้เขียนเชื่อว่ามีหลาย ๆ เรื่องที่เรายังไม่รู้เกี่ยวกับโครงการ Apollo ซึ่งแน่นอนว่าแต่ละเรื่องราวก็มีทั้งฮาทั้งวิชาการก็มี หลาย ๆ อย่างล้วนเป็นความผิดพลาดมาจากมนุษย์ หรือ Human Error วันนี้ผู้เขียนจึงได้รวบรวมความจริงเกี่ยวกับ Apollo มาให้อ่านกัน

1. Apollo 11 เกือบไม่ได้ลงจอดบนดวงจันทร์

หลังจากที่ยาน LM ของ Apollo 11 Undock จากยานควบคุม หรือ CSM เพื่อรอจุดเครื่องยนต์เพื่อลดระดับสำหรับการลงจอด หรือ Power Descent โดยการลดระดับทั้งหมดถูกคำนวณและลดระดับอัตโนมัติโดย Apollo Guidance Computer หรือ AGC (สามารถอ่านบทความเกี่ยวกับ AGC ได้ที่นี้) โดย AGC มี Read-only magnetic core ที่ถูกออกแบบมาให้ “พอดี” กับโปรแกรมที่ใช้ในการลดระดับและลงจอด

AGC เป็น Single Core Computer ที่ใช้สำหรับคำนวณค่าตัวแปรต่าง ๆ ที่สำคัญในการลงจอด และแน่นอนว่าก็จะต้องมีที่เก็บข้อมูลซึ่งถูกออกแบบมาให้พอดีเป๊ะ นั้นก็คือ Read-only magnetic core ซึ่งก็คือ ROM ในสมัยนี้ ไว้สำหรับเก็บข้อมูลของโปรแกรมต่าง ๆ เมื่อ แต่ AGC เป็น Single Core Computer เพราะฉะนั้น มันรันได้แค่โปรแกรมเดียวเท่านั้น ไม่สามารถรันหลาย ๆ โปรแกรมพร้อมกันได้ เพราะ Multi-tasking ในสมัยนั้น เป็นอะไรที่ยังเอื้อมไม่ถึงเอามาก ๆ

Apollo Guidance Computer และ DSKY – ที่มา Wikipedia

เพราะเหตุนี้ AGC จึงต้องมี Priority Order เพื่อจัดระดับความสำคัญว่าควรทำโปรแกรมไหนก่อนโปรแกรมไหนหลัง เปรียบเทียบกับการทำความสะอาดบ้านก็คือเราต้องกวาดบ้านก่อนที่จะมาถูบ้าน ถูก่อนกวาดไม่ได้ ต่อเรื่อง AGC ใน AGC จะมีพื้นที่สำหรับการเก็บข้อมูล (Word Data Area) ที่ต้องใช้ในการรันโปรแกรมทั้งหมด 12 พื้นที่ เรียกว่า Core Set โดยใน LM แบ่งออกเป็น 5 พื้นที่สำหรับโปรแกรมที่ต้องใช้ในการประมวลผลข้อมูล และอีก 7 พื้นที่ที่เหลือสำหรับการเก็บข้อมูลชั่วคราว เช่นพวกโปรแกรมที่ไม่จำเป็นต้องรันตลอดเวลา

โดยเมื่อนักบิน Input Noun และ Verb เพื่อ Instruct ให้ AGC รันโปรแกรม Executive ของ AGC จะ Address ระดับความสำคัญของโปรแกรมและส่งต่อให้ VAC Routine เพื่อค้นหา Core Set ที่ว่างอยู่ ถ้าว่างปุ๊ปโปรแกรมนี้ก็จะเสียบเข้า Core Set ไปเลย แต่ถ้าไม่มี Core Set ว่าง โปรแกรมจะต่อคิวเพื่อรอให้ AGC คำนวณ Process ใด Process หนึ่งเสร็จแล้วเด้งออกจาก Core Set ซึ่ง AGC ต้องทำให้เสร็จภายใน 2 วินาที ที่เรียกว่า Duty-cycle แล้วปัญหาบน Apollo 11 มันคืออะไรละ?

ปัญหามันเกิดเมื่อ Buzz Aldrin สับสวิตซ์ของ Rendezvous Radar ในขณะที่ AGC อยู่ในโปรแกรม P63 ซึ่ง Rendezvous Radar เป็นเรดาร์ที่ใช้ในการติดตามยานควบคุมหรือยาน CSM ในกรณีที่ต้องยกเลิกภารกิจจะได้ไม่ต้องมางมหายานควบคุม โดย Aldrin สลับมันไปที่ “SLEW” Mode หรือเอาง่าย ๆ ก็คือระบบ Manual เอาไว้สำหรับปรับ Antenna เอง โดยเจ้า SLEW Mode จะคอยส่ง Interrupt Signal ไปให้ AGC เรื่อย ๆ เพื่อให้ AGC นับ แล้วเจ้า AGC บน Apollo 11 มันก็มี Design Flaw หรือข้อผิดพลาดในการออกแบบที่ทำให้การ “นับ” สัญญาณเรดาร์เฉย ๆ กินทรัพยากรของ AGC ทั้ง ๆ ที่ไม่ควรจะใช้ทรัพยากรด้วยซ้ำ

Buzz Aldrin กำลังสลับสวิตซ์ Rendezvous Radar ไปที่ SLEW – ที่มา From The Earth To The Moon Mini-Series/HBO

ซึ่งทุกอย่างก็ดูปกติดีเพราะ AGC ยังมี Core Set เหลืออยู่ จนกระทั่ง Buzz Aldrin สั่งให้ AGC ประมวลผลข้อมูลที่มี Data Range สูงจน Core Set เต็ม แล้วไอ้ Radar มันก็ยังส่งสัญญาณมาให้เรื่อย ๆ ทั้ง ๆ ที่ Core Set เต็มอยู่ แล้ว AGC ก็นับสัญญาณอยู่นั้นและจน Process มัน Delay เกิน 2 วินาที ซึ่งทุก 2 วินาที AGC จะต้องคำนวณแต่ละโปรแกรมเสร็จหากเกินนี้จะ Return Error แล้วมันก็เกินแบบชิบหายวายวอด Core Set เกิดการ Overflow ทำให้ AGC รีบูตตัวเองและขึ้นสัญญาณ 1202 Program Alarm: Executive Overflow – No Core Sets

ซึ่งนี้ทำให้ Neil Armstrong ตกใจจน Heart Rate เพิ่มขึ้นจาก 120 ไปถึง 150 เลยทีเดียว และอีกไม่กี่วินาทีต่อมา Mission Control ก็ตอบกลับมาว่า “We are Go on that alarm.” ถ้าตอบช้ากว่านี้ Neil Armstrong อาจจะกดปุ่ม Abort Mission ก็ได้ซึ่งถือว่ายกเลิกภารกิจไปเลย

Power Descent Initiation ที่แสดงให้เห็นช่วงของ Program Alarm ตามเวลาจริง (วินาทีที่ 6:57)

และอีกไม่กี่นาทีก็เกิด 1201 Program Alarm: Executive Overflow – No VAC Areas ขึ้นซึ่งก็คือแบบเดียวกับ 1202 ทำให้ AGC รีบูตตัวเองอีกรอบจน Neil Armstrong เปลี่ยนระบบ Autopilot เป็นบังคับด้วยมือ ซึ่งช่วยลดภาระของ AGC ลงไปมากจนไม่เกิดการ Overflow และ Buzz Aldrin ก็หยุดใช้คำสั่งที่่เรียกข้อมูลหรือ Data range สูง ๆ แต่ใช้วิธีถาม Mission Control เอา เช่น ค่า Delta-H

LM Eagle Lander สลับไปเป็นโปรแกรม P64 ลงจอดในอีก 10 นาทีต่อมาหลังจากสัญญาณ 1201 ปัญหานี้ได้รับการแก้ไขหลังจาก Apollo 11 ซึ่ง Design Flaw ทั้งหลายถูกเทสและแก้ไขก่อนปล่อย ยกเว้น Apollo 14 ที่ลูกเรือและ Mission Control ต้องมานั่งแก้โค้ดของ AGC ซึ่งผู้เขียนจะอธิบายให้ในบทความหน้า

2. Apollo 12 เจอแบคทีเรียในยาน Surveyor 3 (หรือเปล่า)

วันที่ 19 พฤษจิกายน 1969 นักบินอวกาศ Pete Conrad (Commander) และ Alan Bean (LM Pilot) นำยาน LM ลงจอดบน Oceanus Procellarum บนดวงจันทร์ ซึ่งมีตำแหน่งใกล้กับยานสำรวจ Surveyor 3 ของ NASA ที่ลงจอดเมื่อ วันที่ 20 เมษายน 1967 ห่างจากจุดลงจอดเพียง 163 เมตร

Pete Conrad จึงเดินไปตรวจสอบยาน Surveyor 3 และโขมยชิ้นส่วนของยานกลับโลกด้วยซึ่งก็คือส่วนของกล้องบนยาน Surveyor 3 เพื่อเอาไว้ตรวจสอบว่าสภาพของยานเป็นอย่างไรเมื่อต้องอยู่ในสภาวะที่เรียกได้ว่าโหดร้ายบนดวงจันทร์

Pete Conrad กำลังตรวจสอบยาน Surveyor 3 และเตรียมถอดชิ้นส่วนกล้องออก โดยมียานลงจอด LM Intrepid อยู่ข้างหลัง ที่มา – NASA

และเมื่อเจ้ากล้องตัวนี้กลับมาถึงโลก มันก็ถูกนำมาวิเคราะห์ทันทีโดยนักวิทยาศาสตร์ของ NASA และนักวิทยาสาสตร์ก็เจอเข้ากับ Colony ของแบคทีเรีย Streptococcus Mitis ประมาณ 50 – 100 ตัว ในสภาพแข็งโป้กที่อุณหภูมิ -253 องศาเซลเซียสบนดวงจันทร์ และเรื่องนี้ไม่จบแค่นี้แน่ เพราะหากมีแบคทีเรียหลุดออกไปนอกอวกาศอาจทำให้เกิดการปนเปื้อนของดาวเคราะห์ได้ (Planetary Contamination) ซึ่งในที่นี้คือดวงจันทร์

NASA จึงต้องไปขุดเอกสารว่ามันปนเปื้อนได้ยังไง ผิดพลาดขั้นตอนไหนมันถึงปนเปื้อน เพราะว่าทาง NASA ได้ Sterilize กล้องเป็นอย่างดีก่อนปล่อยยานแล้ว แล้วอีกอย่างคือมันแทบเป็นไปไม่ได้ที่แบคทีเรียจะมีชีวิตรอดบนดวงจันทร์ เพราะหนาวก็หนาว อาหารก็ไม่มี มันจะไปอยู่บนนั้นได้ยังไง แต่ๆๆๆๆๆ

หลังจากไปขุดเอกสารในอดีตมาอย่างยาวนั้นแล้วไม่พบอะไรที่บงชี้การปนเปื้อนได้เลย จึงลองไปค้นเอกสารตอนนำตัวอย่างกล้องกลับมา หลังจากนักวิทยาศาสตร์ได้เห็นภาพนี้ก็อึ้งไปยกใหญ่

นักวิทยาศาสตร์สองคนกำลังทำการสืบสวนและวิเคราะห์ตัวอย่างกล้องยาน Surveyor 3 ที่นำกลับมาโดย Apollo 12 ที่มา NASA

บางคนอาจจะไม่เห็นความผิดปกติกับภาพนี้ แต่ถ้าหากลองสังเกตุดี ๆ จะพบว่า… หมวกป้องกันหายไปหนายยย แล้วเสื้อคลุมหายไปหนายยย (ย. ล้านตัว) เหลือแต่หน้ากากปิดกับผ้าคลุมหัวเฉย ๆ และแขนเสื้อที่เห็นในภาพเป็นแขนสั้น ซึ่งตามหลักการแล้วต้องปกปิดให้มิดชิดทุกตำแหน่งเพื่อป้องกันไม่ให้แบคทีเรียบนผิวหนังถูกอากาศพัดปลิวไปตกบนตัวอย่างแล้วเกิดการปนเปื้อน (Contamination)

ชุดป้องกันสำหรับป้องกันการปนเปื้อนของตัวอย่าง – ที่มา NASA

ทาง COSPAR (Committee on Space Research Planetary Protection) จึงสรุปว่าแบคทีเรียที่พบนั้นเป็นการปนเปื้อนหลังการส่งตัวอย่างเพื่อไปวิเคราะห์ (Post-contamination)

3. ดินบนดวงจันทร์มีกลิ่น

หลังจากที่ยาน LM ของ Apollo 11 Eagle Lander ลงจอดที่ Sea of Tranquility และได้ทำ Moonwalk หรือ EVA เรียบร้อยแล้วกลับขึ้นยาน LM และปรับความดัน Neil Armstrong และ Buzz Aldrin รายงานว่าดินบนดวงจันทร์ที่ติดมากับชุดนั้นมีกลิ่นคล้าย ขึ้เถ่า เหมือนเวลาเราจุดดอกไม้ไฟ แต่หลังจากมันถูกนำกลับมาที่โลกและเปิดออกมันดันไม่มีกลิ่น

ดินบนดวงจันทร์ – ที่มา NASA

4. Apollo 12 ทำกล้อง TV พัง

หลังจากที่ Apollo 12 ลงจอด โดยทั่วไปบนยานจะมีกล้อง TV ไว้สำหรับการถ่ายทอดสดหนึ่งตัว และในขณะที่ Alan Bean กำลังจะย้ายกล้องจากยาน LM ไปตั้งไว้บนขาตั้ง เค้าดันเผลอหันกล้องไปดวงอาทิตย์ซะงั้น ทำท่อ CCD ไหม้ ทำให้ Apollo 12 ไม่สามารถถ่ายทอดสดต่อได้เพราะมีกล้องตัวเดียว และแน่นอนหลังจาก Apollo 12 NASA ก็ยัดกล้องเข้าไปเพิ่มอีกตัวสำรองไว้ในกรณีที่กล้องเสียซึ่งก็คือ Apollo 13 แต่น่าเสียดายที่ Apollo 13 ไม่ได้ลงจอดบนดวงจันทร์

วีดีโอในขณะที่ Alan Bean กำลังเคลื่อนย้ายกล้อง TV ไปตั้งไว้บน Tripod

5. Neil Armstrong ลงจอดบนดวงจันทร์นุ่มนวลเกินไป

ในรถของเราจะมีสิ่งที่เรียกว่า “โช้คอัพ” หรือ Shock Absorber สำหรับดูดซับแรงกระแทก และบนยานลงจอด LM ก็เช่นกัน ขาของยาน LEM ถูกสร้างด้วยอลูมีเนียมลักษณะคล้ายรังผึง โครงสร้างภายในถูกออกแบบมาให้สามารถถูกแรงอัดดันเข้าไปได้ ทังนี้ก็เพื่อรับแรงกระแทกเวลาลงจอด

ในขณะที่ยาน LM ลงจอด ตรงขาของยาน LEM จะมีเสายืนออกมาทิ่มลงไปด้านล่างเรียกว่า Lunar Surface Sensing Probe เพื่อเอาไว้บอกไว้ขาใกล้แตะพื้นแล้วโดย Probe ตัวนี้เมื่อแตะพื้นจะส่่งผลให้ไฟ Contact light ใน LM ติดเพื่อส่งสัญญาณให้นักบินดับจรวดขับดันและปล่อยให้แรงโน้มถ่วงของดวงจันทร์ดึงยานลงเอง ทั้งนี้ที่ต้องดับเครื่องก่อนขาแตะะพื้นก็เพื่อป้องกันไม่ให้ไอพ่นของจรวดขับดันพัดฝุ่นบนดวงจันทร์ออกมา และป้องกันไม่ให้ไอพ่นถูกตีกลับเข้ายานเพื่อปป้องกันความเสียหาย เพราะยาน LM หนาเพียงแค่ 0.3 mm

แต่เพราะ Neil Armstrong เป็นหนึ่งในนักบินที่เก่งที่สุดของ NASA เขาดับจรวดขับดันได้ตรงเปะโดยไม่มีการกระแทก (หรือมีน้อยมาก) โดยไม่สร้างความเสียหายแก่ตัวยาน แต่ปัญหามันอยู่ที่ขาที่ออกแบบให้รับแรงกระแทก เพราะโดยปกติแล้วเมื่อขายาน LM ได้รับแรงกระแทกมันจะถูกดันกลับเข้าไปทำให้ขาของยานสั้นลง แต่ไม่ใช่กับยาน Eagle Lander ของ Apollo 11

วีดีในขณะที่ยาน LM ของ Apollo 11 กำลังทำ Powered Descent Initiation และลงจอด

ขาของยานแถบจะไม่ถูกดันกลับเข้าไปเลยและอีกปัญหาก็ตามมาเมื่อบันไดของยาน LM ได้ออกแบบให้มันสั้นเท่ากับระยะที่ขายานถูกดันเข้าไปได้ แต่ขามันไม่ได้ถูกดันเข้าไปไง บันไดมันเลยสูงมาก ๆ นั้นเป็นเหตุผลว่าทำไหม Neil ต้องลองโดดขึ้นลงในภาพนี้เพื่อยืนยันว่าสามารถกลับเขายานได้

วีดีโอขณะที่ Neil Armstrong กำลังลองโดดขึ้นบันไดเพื่อยืนยันว่ามันสูงพอที่จะโดดกลับขึ้นไปได้

งานนี้ถ้าลงมาแล้วบันไดสูงเกินขึ้นไม่ได้นี้ซวยแน่ เพราะชุดมันเคลื่อนที่ยากมากเวลาก้าวขึ้นก้าวลงบันไดก็ยาก นี้ต้องกระโดดอีก

ทั้งหมดนี้ก็เป็นเรื่องที่เราอาจจะยังไม่รู้เกี่ยวกับโครงการอพอลโล ที่อาจจะทำให้การลงเดินบนดวงจันทร์นั้นเกิดขึ้นไม่ได้เลยทีเดียว

เรียบเรียงโดย ทีมงาน SPACETH.CO

อ้างอิง

Apollo 11 AGC Design Flaw

Apollo 11 AGC Program Alarm 1201 1202

Apollo 11’s “1202 Alarm”

Chief Science | A 20-year-old biologist with a passion for space exploration, science communication, and interdisciplinarity. Dedicated to demystifying science for all - Since 2018.