NASA ใช้ดาวเทียมสำรวจโลกติดตามไฟป่าในรัฐแคลิฟอร์เนีย มุมมองจากอวกาศ

NASA ได้ใช้ข้อมูลจากดาวเทียมสำรวจโลกจำนวนมากในการติดตามไฟป่าที่กำลังเกิดขึ้นในรัฐแคลิฟอร์เนีย เริ่มต้นขึ้นเมื่อวันที่ 16 สิงหาคม 2020 ซึ่งเกิดจากคลื่นความร้อนซึ่งทำให้เชื้อเพลิงแห้งในป่าติดไฟ โดยไฟป่ารอบนี้เป็นไฟป่าที่รุนแรงที่สุดเท่าที่รัฐแคลิฟอร์เนียเคยเจอมาในประวัติศาสตร์ หน่วยงานหลายหน่วยไม่ว่าจะเป็น NASA, JPL, Japan Science Systems ต่างช่วยกันรวบรวมข้อมูลที่จะเป็นประโยชน์ต่อการบรรเทาสาธารณภัย

NASA ได้ใช้ดาวเทียม Terra (EOS AM-1) และ Aqua (EOS PM-1) ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของดาวเทียมใน Earth Observing System (EOS) หรือเครื่อข่ายดาวเทียมสำรวจโลกในการถ่ายรูปพื้นที่ที่เกิดไฟป่าและใช้ข้อมูลจาก MODIS (MOderate Resolution Imaging Spectroradiometer) บน Terra และ Aqua ในการติดตามจุดที่เรียกว่า Hot Spot/Fire detection ที่หมายถึงจุดที่มีความร้อนสูงกว่าปกติซึ่งบ่งบอกว่าอาจมีไฟป่าอยู่ภายในบริเวณที่เกิดจุด Hot Spot จากข้อมูลภาพของ Terra กลุ่มควันไฟได้ลอยไปไกลที่สุดเกือบ 2 กิโลเมตรและเริ่มปกคลุมทั่วบริเวณรัฐแคลิฟอร์เนีย ส่งผลกระทบต่อค่าคุณภาพอากาศ (AQI)

ข้อมูลภาพจากดาวเทียม Terra ของ NASA และจุด Hot Spot/Fire Detections จาก NASA MODIS – ที่มา Earth Observing System Data and Information System (EOSDIS)

นอกจากนี้ยังมีข้อมูลจากอุปกรณ์ที่ชื่อว่า ASTER (Advanced Spaceborne Thermal Emission and Refelction Radiometer) และ MISR (Multi-angle Imaging Spectro Radiometer) บนดาวเทียม Terra ดูแลโดย Japan Science Systems

ASTER ถูกใช้ในการตรวจจับแสงช่วงคลื่นใอินฟราเรดใกล้และช่วงคลื่นความร้อน (IR) ทำให้นักวิทยาศาตร์สามารถทำแผนที่แลติดตามการลุกลามของไฟป่าได้ ส่วน MISR ถูกใช้ในการตรวจจับความสูงของกลุ่มควันไฟ เพื่อทำแผนที่สามมิติสำหรับติดตามทิศทางของควันไฟและทิศทาวของลมเพื่อวางแผนในการเข้าดับไฟ (เข้าไปดับผิดด้านก็คือโดนรมควัน)

ภาพสามมิติของไฟป่าและกลุ่มของควันจากข้อมูลของ Multi-angle Imaging Spectro Radiometer (MISR) บน Terra – ที่มา NASA/JPl-Caltech/GSFC

นอกจากนี้ JPL กำลังจะส่ง UAVSAR (Uninhabited Aerial Vehicle Synthetic Aperture Radar) ซึ่งใช้เทคโนโลยี SAR (สามารถอ่านบทความเกี่ยวกับเทคโนโลยี SAR ได้ที่นี่ เจาะลึก InSAR เทคโนโลยีการเตือนแผ่นดินไหวจากอวกาศ) ไปสำรวจพื้นที่ที่เกิดไฟป่า โดยที่ UAVSAR แตกต่างจาก SAR ตรงที่ว่า UAVSAR เป็น SAR ที่ติดอยู่กับเครื่องบิน C-20A ไม่ใช่ติดอยู่บนดาวเทียมเหมือน InSAR ทั่วไป การสำรวจจึงใช้การบินผ่านบริเวณที่ต้องการทำการสำรวจซ้ำ ๆ เพื่อเก็บข้อมูล

UAVSAR จะถูกใช้ในการตรวจสอบการเปลี่ยนแปลงของพื้นที่ต่าง ๆ ด้วย การทำ Interferometric SAR ในความละเอียดระดับมิลลิเมตรซึ่งเดิมใช้ในการเฝ้าระวังแผ่นดินไหวด้วยการตรวจจับการเคลื่อนที่ของรอยเลื่อนในความละเอียดระดับมิลลิเมตร แต่นักวิทยาศาสตร์นำ SAR มาประยุกต์ในด้านของไฟป่าด้วยการทำแผนที่ความเสียหายคล้ายกับที่ใช้ SAR ทำแผ่นที่ความเสียหายในการระเบิดของ Ammonium Nitrate ที่กรุงเบรุต ประเทศเลบานอนเมื่อเดือน สิงหาคม 2020 ซึ่งการมีแผนที่ความเสียหายจะช่วยให้เราสามารถทราบผลกระทบและความเสี่ยงของการลุกลามได้มากขึ้น และยังสามารถวางแผนการช่วยเหลือประชาชนที่อยู่ในพื้นที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นอีกด้วย โดยเฉพาะการหาพืนที่ที่มีประสิทธิภาพที่สุดในการจำกัดขอบเขตของไฟไม่ให้ลุกลามด้วยการทิ้ง Fire retardant (สารหน่วงการติดไฟ) ด้วยเครื่องบินนั่นเอง

ภาพ False Color ของอุปกรณ์ ASTER จากดาวเทียม Terra โดยที่สีแดง คือ ป่า ส่วนสีดำคือส่วนของไฟป่าที่กำลังลุกไหม้ (ตรงกลาง) – ที่มา NASA/METI/AIST/Japan Space Systems

เรียบเรียงโดย ทีมงาน SPACETH.CO

From Space and in the Air, NASA Tracks California’s Wildfires

California Fires August 2020

Chief Science | A 20-year-old biologist with a passion for space exploration, science communication, and interdisciplinarity. Dedicated to demystifying science for all - Since 2018.