ดาวเทียมเผยกลุ่มควันไฟป่าแคลิฟอร์เนียถูกพัดไปทางมหาสมุทรแปซิฟิก เพิ่มปริมาณฝุ่นมหาศาล

ดาวเทียมสำรวจ Suomi NPP (Suomi National Polar-orbiting Partnership) ของ NOAA และ NASA ตรวจพบว่าลมในพื้นที่ไฟป่าของรัฐแคลิฟอร์เนียกำลังเริ่มเปลี่ยนทิศทางไปทางมหาสมุทรแปซิฟิกเริ่มต้นขึ้นเมื่อวันที่ 6 กันยายน 2020 และในวันที่ 10 กันยายน 2020 กลุ่มควันไฟก็ได้กระจายตัวไปกว่า 2,000 กิโลเมตรนอกชายฝั่งแคลิฟอร์เนียคลอบคลุมพื้นที่ไปเกือบ 2,500,000 ตารางกิโลเมตรแล้วอ้างอิงจากข้อมูลของ NASA Worldview และ NASA Earth Observing System Data and Information System (EOSDIS) ซึ่งเป็นฐานข้อมูลภาพถ่ายดาวเทียมขนาดใหญ่ของ NASA ซึ่งข้อมูลต่าง ๆ ที่มาจาก EOSDIS เป็นข้อมูลที่อัพเดตตลอดเวลาจึงทำให้นักวิทยาศาสตร์จำนวนมากสามารถติดตามภาพถ่ายดาวเทียมของเหตุการณ์ต่าง ๆ บนโลกได้

ภาพของกลุ่มควันที่กำลังถูกลมพัดไปทางมหาสมุทรแปซิฟิก – ที่มา NASA/NOAA

นอกจากนี้ Ozone Mapping Profiler Suite (OMPS) บนดาวเทียม Suomi NPP ยังตรวจพบการเคลื่อนที่ของ Particulate Matters หรือโมเลกุลขนาดเล็กในอากาศที่เราเรียกกันว่า P.M. รวมถึงแก๊สต่าง ๆ เช่น Carbon Dioxide และ Carbon Monoxide ซึ่งเป็นอันตรายต่อสภาพอากาศและสิ่งมีชีวิตเป็นอย่างมาก โดยบริเวณที่เกิดไฟป่านั้นมีความเข้มข้นของของฝุ่น P.M. ในระดับที่สูงมาก

ภาพแสดงความเข้มข้นของ Particulate Matters ในชั้บรรยากาศจากข้อมูลของ OMPS บนดาวเทียม Suomi NPP – ที่มา NASA/NOAA

จากงานวิจัยเผยแพร่ในวารสาร Nature Geoscience เมื่อปี 2017 พบว่า Particulate Matter และ Aerosols จากไฟป่าซึ่งเกิดจากการเผาไหม้วัตถุธรรมชาติอย่างเช่น ท่อนไม้ จะปลดปล่อยฝุ่นประเภท Aerosols และ P.M. มากกว่าการเผาไหม้ทั่วไปกว่า 3 เท่า นอกจากนี้ยังพบว่าไฟป่าทำให้ดกิด Byproducts จำพวก Methanol, Benzene, Ozone และอื่น ๆ อีกมากมายซึ่งล้วนเป็นแก๊สที่เป็นอันตรายต่อการหายใจถึงแม้จะในปริมาณน้อยก็ตาม แต่หากไฟป่าครั้งนี้ยังคงดำดนินต่อไป ผลกระทบระยะยาวจะเริ่มปรากฏโดยเฉพาะโรคทางเดินหายใจ

สามารถติดตามสถานการณ์ไฟป่าในรัฐแคลิฟอร์เนียผ่านฐานข้อมูลของ NASA ได้ที่ Earth Observing System Data and Information System (EOSDIS) Worldview

เรียบเรียงโดย ทีมงาน SPACETH.CO

อ้างอิง

Winds of Change Move Western Smoke Into the Pacific

Western U.S. Smoke From Fires Stretching Across the Country

Chief Science | A 20-year-old biologist with a passion for space exploration, science communication, and interdisciplinarity. Dedicated to demystifying science for all - Since 2018.