สรุปการทดสอบ จรวด Long March 5B และยานอวกาศรุ่นใหม่ ก้าวแรกสู่ Deep Space ของจีน

เมื่อเช้าวันที่ 5 พฤษภาคม 2020 เวลา 10:00 UTC จีนได้ทดสอบปล่อยจรวดรุ่นใหม่พร้อมกับต้นแบบของยานอวกาศสำหรับภารกิจ Deep Space แบบมีมนุษย์ควบคุมจากฐานปล่อย Wenchang ทางตอนใต้ของประเทศจีน จรวดที่ใช้ปล่อยมีชื่อว่า Long March 5B ซึ่งเป็นจรวดที่มีต้นแบบมาจาก Long March 5 จรวด Long March 5B มี Boosters ขนาบข้างอยู่ทั้งหมด 4 อันไว้สำหรับเพิ่มแรงยกขณะ Lift-off ทำให้จรวดใน Variant Long March 5 เป็นจรวดชนิด Heavy-Lift Launch System ซึ่งสามารถเทียบได้กับจรวดอย่าง Falcon 9, Ariane 5 และ Delta IV Heavy เลยทีเดียว จรวด Long March 5 รุ่นแรกถูกปล่อยเมื่อวันที่ 3 พฤศจิกายน 2016 และรุ่นต่อมาซึ่งเป็นรุ่นปรับปรุงคือ Long March 5B ก็พึ่งถูกปล่อยครั้งแรกเมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม 2020 นี้นี่เอง

จรวด Long March 5B แตกต่างจากจรวด Long March 5 แบบเดิมตรงที่จรวด Long March 5 จะเป็นเป็น Two-Stage-To-Orbit (TSTO) ซึ่งหมายความว่าจรวดมี 2 Stages แต่ใน Long March 5B จรวดถูกดัดแปลงให้กลายเป็น Single-Stage-To-Orbit (SSTO) โดยเหลือแต่ Core Stage กับ Boosters ขนาบข้าง ส่วนพื้นที่ที่แต่เดิมเป็น Second stage ก็ถูกแปลงให้กลายเป็นพื้นที่ใส่ Payload ขนาดใหญ่แทน ทำให้มันสามารถส่ง Payload ที่มีขนาดใหญ่ขึ้นอย่าง Module สถานีอวกาศแทน

การปล่อยจรวด Long March 5B วันที่ 5 พฤษภาคม 2020 ที่มา – CNSA

ซึ่งใน Flight เมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม 2020 นี้ซึ่งใช้จรวด Long March 5B ถือเป็น Flight ที่ 4 ของจรวดกลุ่ม Long March 5 บนจรวดก็คือต้นแบบยานอวกาศแบบมีมนุษย์ควบคุมรุ่นใหม่ (Crewed Spacecraft) แต่ยังไม่มีมนุษย์ควบคุมเพราะเป็นการทดสอบ ยานรุ่นนี้ยังไม่มีชื่ออย่างเป็นทางการและยังไม่มีข้อมูลอย่างเป็นทางการ สื่อต่าง ๆ จึงให้ชื่อว่า Next-Generation Crewed Spacecraft ซึ่งมีความสามารถต่าง ๆ คล้ายยาน Orion ของ NASA ไว้สำหรับส่งมนุษย์ขึ้นไปวงโคจร LEO หรือ ดวงจันทร์ในอนาคต ซึ่งการปล่อยยานในครั้งนี้ก็สำเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดีเมื่อยาน Next-Gen ของจีนเข้าสู่วงโคจร LEO ได้ ซึ่งการปล่อยในครั้งนี้ถือเป็นการทดสอบทั้งจรวด Long March 5B และยาน Next-Gen ของจีนไปด้วยในตัว

คุณ Loren Grush แห่ง The Verge วิเคราะห์ว่ายาน Next-Gen ของจีนมีสองส่วนแยกกันคล้ายยาน Orion ซึ่งมีส่วน Crew Module และส่วน Service Module สำหรับการขับเคลื่อน Crew Module สามารถรับนักบินอวกาศได้สูงสุดถึง 6 คน และสามารถดัดแปลงให้จำนวนลูกเรือลดเหลือ 3 คนเพื่อขน Payload ขึ้นไปเพิ่มได้อีก 500 กิโลกรัม โครงสร้างบางส่วนของ Module ถูกออกแบบให้นำกลับมาใช้ใหม่ได้ ซึ่ง CMSEO (China Manned Space Engineering Office) ของจีนกล่าวว่ามันจะถูกเอาไปใช้สำหรับการไปดวงจันทร์ภายในปี 2030

Next-Generation Crewed Spacecraft ขณะกำลังทดสอบ – ที่มา CAST

ซึ่งก่อนการทดสอบ Long March 5B และยาน Next-Generation ในครั้งนี้จีนก็ประสบความล้มเหลวมามากมายอย่าง จรวด Long March 5 ใน Flight ที่ 2 (Long March 5 Y2) ถูกปล่อยเมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม 2017 ซึ่งหลังจาก Lift-off ได้เพียงแค่ 6 นาที เครื่องยนต์หลักใน Core stage ของจรวดก็สูญเสียกำลังส่ง (Loss of thrust) อย่างกระทันหันทำให้ยานไปไม่ถึงวงโคจรและตกลงมหาสมุทรในที่สุด ซึ่งความล้มเหลวในครั้งนี้ทำให้โครงการ Long March 5 รวมถึงโครงการอื่น ๆ ของจีนต้อง Delay ไปกว่า 2 ปี

สถานีอวกาศของจีนในปี 2021 พร้อม Core Cabin Module เรีบกว่า Tianhe – ที่มา Craigboy

การทดสอบในครั้งนี้ยังเกี่ยวข้องกับการทดสอบความสามารถของ Launch system ในการเตรียมปล่อยโมดูลชื่อว่า Tianhe ซึ่งเป็น Core Module ของสถานีอวกาศจีนในอนาคตอีกด้วยเพราะว่ามวลของยาน Next-Gen ใกล้เคียงกับมวลของ Tianhe Core Module ซึ่งกำหนดการปล่อย Tianhe คือปี 2021 ด้วยจรวด Long March 5B

การสำรวจอวกาศห้วงลึกของจีนอาจจะยังไม่ชัดเจนแต่จีนได้ประกาศว่าจะส่งมนุษย์ไปดวงจันทร์ถายในปี 2030 การทดสอบในครั้งนี้ถือเป็นการทดสอบแรกและอาจเป็นการทดสอบครั้งสุดท้ายของการพยายามส่งมนุษย์ไปดวงจันทร์หากมันล้มเหลว ทั้งนี้สามารถติดตามข้อมูลเพิ่มเติมได้ หากมีความคืบหน้า ทางทีมงานจะอัพเดตทันที

เรียบเรียงโดย ทีมงาน SPACETH.CO

อ้างอิง

Long March 5 Heavy-Life Launch System

Chief Science | A 20-year-old biologist with a passion for space exploration, science communication, and interdisciplinarity. Dedicated to demystifying science for all - Since 2018.