ยาน Juno และกล้องโทรทรรศน์ Gemini North ตรวจพบ Hot Spot บนดาวพฤหัส

นักดาราศาสตร์ได้ใช้กล้องโทรทรรศน์ช่วงคลื่นแสงที่มองเห็นได้และอินฟราเรด Gemini North ที่ International Gemini Observatory ซึ่งดูแลโดย NSF และ AURA เพื่อถ่ายภาพของดาวอังคารที่ช่วงคลื่น 5 ไมโครเมตรและพบจุด Hot Spot บนดาวพฤหัสบริเวณเหนือซีกเหนือใกล้กับบริเวณที่มีลักษณะเป็นเข็มขัด Hot Spot ในการสำรวจที่ Perijove 29

Perijove คือ Periapsis หรือจุดที่ดาวพฤหัสเข้าใกล้โลกมากที่สุด

ภาพเหนือบริเวณ Hot Spot ของดาวพฤหัสใน Perijove 29 – ที่มา NASA/JPL-Caltech/SwRI/MSSS/Kevin M. Gill © cc by

ซึ่ง Hot Spot ของดาวพฤหัสในปัจจุบันยังเป็นปริศนาที่นักดาราศาสตร์ยังไม่สามารถแก้ไขได้ อย่าง The Great Red Spot ที่เป็นพายุขนาดใหญ่บนดาวพฤหัส เราก็ยังไม่สามารถไขปริศนาใด ๆ ได้ ความพยายามในการศึกษาดาวพฤหัสของเรามีตั้งแต่ใช้กล้องโทรทรรศน์ภาคพื้นดิน กล้องโทรทรรศน์อวกาศ หรือแม้แต่ส่งยานไปสำรวจอย่าง ยาน Cassini และยาน Juno ซึ่งสมมติฐานของการเกิด Hot Spot ก็มีหลากหลายอย่างเช่นปรากฏการณ์ Rossby wave ที่เกิดจากอากาศร้อนดันตัวลงไปในชั้นเมฆแอมโมเนียที่มีอุณหภูมิต่ำทำให้ผิวชั้นบรรยากาศของดาวจมลงไป ส่วนอากาศร้อนก็ติดอยู่ในหลุมทำให้เกิดเป็น Hot Spot ขึ้น

ภาพแสดงปรากฏการณ์ Rossby wave ที่ทำให้เกิด Hot Spot – ที่มา NASA

ซึ่ง Hot Spot เหล่านี้ส่วนใหญ่แล้วจะมีลักษณะมืดเพราะว่าเมฆแอมโมเนียที่ทำการสะท้อนแสงถูกแทนที่ด้วยอากาศร้อนทำให้แสงสะท้อนได้น้อยลงเมื่อเทียบกับความสว่างรอบ ๆ ข้างของมัน

ภาพของจุด Hot Spot อีกจุดบนดาวพฤหัส – ที่มา NASA

อย่างไรก็ตามเมื่อสำรวจจุด Hot Spot ที่พึ่งค้นพบนี้ด้วยกล้องโทรทรรศน์ Gemini North ซึ่งมีขนาดกระจกปฐมภูมิ 8.1 เมตรในช่วงคลื่น Infrared ก็พบว่าจุด Hot Spot อันนี้มีความสว่างในช่วง Infrared ที่ 5 ไมโครเมตรมาก หมายความว่ามันร้อนมากนั้นเอง และยังอยู่ในบริเวณที่เป็นลักษณะเข็มขัด Hot Spot อีกด้วย นอกจากนี้ นักวิทยาศาสตร์พลเรือน Brian Swift และ Tom Momary ได้นำภาพถ่าย Hot Spot Perijove 29 ไปทำ Image Processing พร้อมกับการเปรียบเทียบข้อมูลจากกล้องโทรทรรศน์ Gemini North ก็ได้เป็นภาพที่แสดงให้เห็นถึงพื้นผิวของ Hot Spot บริเวณนี้อย่างชัดเจน

ภาพเปรียบเทียบระหว่างภาพจากกล้องโทรทรรศน์ Gemini North และภาพจากยาน Juno ซึ่งผ่านการทำ Image Processing –
ที่มา Gemini image: International Gemini Observatory/NOIRLab/NSF/AURA M.H. Wong (UC Berkeley)
JunoCam image:  NASA/JPL-Caltech/SwRI/MSSS/ Brian Swift © CC BY / Tom Momary © CC BY

โดยเราสามารถไปดูคลังภาพถ่ายจากยาน Juno ซึ่งเปิดให้สาธารณะนำไปใช้ได้ที่นี่ JUNO IMAGE PROCESSING GALLERY

เรียบเรียงโดย ทีมงาน SPACETH.CO

อ้างอิง

A Hot Spot on Jupiter

Chief Science | A 20-year-old biologist with a passion for space exploration, science communication, and interdisciplinarity. Dedicated to demystifying science for all - Since 2018.