Kerbal Space Program และ NASA ร่วมท้าชาว Kerbal ให้จำลองการปล่อยยาน Crew Dragon ไป ISS ด้วย KSP

ในภารกิจวันที่ 27 พฤษภาคม 2020 นี้ NASA และ SpaceX กำลังจะปล่อยยาน Crew Dragon จากสหรัฐอเมริกาเพื่อพานักบินอวกาศไปที่ ISS นับเป็นครั้งแรกในรอบ 9 ปีที่ผ่านมาที่ NASA มียานปล่อยนักบินอวกาศเป็นของตัวเองหลังจากที่ต้องใช้ยาน Soyuz ของรัสเซียมาตลอดตั้งแต่ปลดระวางกระสวยอวกาศทั้งหมดในปี 2011 และก่อนการปล่อยของจริง SpaceX ก็ไม่พลาดที่จะหาอะไรสนุก ๆ มาให้เราเล่นอย่าง ISS Docking Simulator ที่จำลองการเชื่อมต่อยาน Crew Dragon กับ ISS (หากใครยังไม่ได้เล่นสามารถกดเข้ามาเล่นได้ที่นี่)

Kerbal Space Program – ที่มา KSP

ชาว Kerbal Space Program (KSP) ที่ได้ลองเล่น Simulator จำลองการ Docking ของยาน Crew Dragon กับ ISS ก่อนหน้านี้ที่ SpaceX ปล่อยออกมา เราอาจจะรู้สึกว่ามันง่ายเพราะว่าใน KSP นั้น เราจะต้องสร้างตั้งแต่จรวดยันสถานีอวกาศแถมการปล่อยก็ไม่ได้ง่ายทีเดียวเพราะต้องทำ Orbit insertion, Rendezvous และอื่น ๆ อีกมากมาย กว่าจะไปถึง ISS ได้ รอบนี้ NASA กับ Kerbal Space Program ก็เลยทวีตท้าชาว Kerbal ทั่วโลกให้มาร่วมกันส่งคลิปจำลองการปล่อยของตัวเองด้วย KSP แล้วนำไปโพสต์ใต้ Tweet ของ @KerbalSpaceP

หากใครอยากลองจำลองการปล่อยด้วย KSP แล้วละก็เรามี Flight Plan และ Mission Profile สำหรับ Crew Dragon Demo-2 มาให้ก็คือ Flight ที่จะปล่อยในวันที่ 27 พฤษภาคม 2020 นี้นี่เองและทาง SpaceX ก็มี Animation การปล่อย Crew Dragon ในภารกิจ Demo-2 ครั้งนี้มาให้เราดูด้วย

Flight Plan ของ Crew Dragon Demo-2 – ที่มา NASA TV
  • T – 3 s | Ignition Sequence Start
  • T + 0 | Liftoff
  • T + 67 s | max Q (Maximum dynamic pressure)
  • T + 145 s | Main engine cutoff (MECO)
  • T + 148 s | Stage separation, booster initiate landing sequence
  • T + 156 s | Second-engine start-1 (SES-1)
  • T + 195 s | Fairing deploy
  • T + 514 s | Second-engine cutoff-1 (SECO-1)
  • T + 3086 s | Second-engine start-2 (SES-2)
  • T + 3090 s | Second-engine cutoff-2 (SECO-2)
  • Proceed to orbit insertion and ISS rendezvous
Flight Plan ของ Crew Dragon Demo-2 – ที่มา NASA TV

หากนำ Timeline ข้างบนมาทำผังวงโคจรก็จะแบ่งได้เป็น 6 Phase ใหญ่ ๆ Phase 1 นั้นก็คือการปล่อยนั้นเองซึ่ง Timeline ก็ดังที่กล่าวไว้ข้างบนแต่เพราะว่าทาง NASA และ KSP ไม่ได้กำหนดว่าจะต้องใช้ Timeline แบบเดียวกันจึงอาจจะไม่จำเป็นต้องกำหนด Timeline ให้ตรงกันก็ได้ Phase 2 ก็คือ Orbit Activation หรือ Orbit Insertion ด้วยการ Burn ให้จุด Periapsis ให้สูงขึ้นมาพอ ๆ กับ Apoapsis จากนั้นจึงทำ Perigee burn เพื่อยก Apoapsis เตรียมทำ Phasing burn ซึ่งเป็น Phase 3 ของภารกิจ Demo-2 ใน Phasing burn จะเป็นการยกวงโคจรให้เท่ากับวงโคจร ISS เพื่อทำ Rendezvous และเตรียม Approach ซึ่งก็คือ Phase 4

ใน Phase 5 นี้เองเราอาจจะคุ้น ๆ นั้นก็คือจุดที่เราเกิดใน ISS Docking Simulator ที่ SpaceX ทำมาให้เราเล่น จุดนี้เป็นจุดนอก ISS เรียกว่า Keep Out Sphere หรือ KOS เป็นพื้นที่รัศมี 200 เมตรจาก ISS เป็นรัศมีที่ยานทุกลำก่อนข้ามรัศมีนี้มาจะต้องถูกประเมินจากศูนย์ควบคุมและรับคำสั่ง Go/No Go จากศูนย์ควบคุมก่อนที่จะข้ามมาได้แล้วพอข้ามมาได้แล้วก็ไม่ได้จบแค่นั้นเพราะยังจะต้องคอยหยุดที่ Decision point เป็นระยะเพื่อรอคำสั่งต่อไปที่ระยะต่าง ๆ ทั้งนี้เพื่อลดความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นจาก Missed Approach ซึ่งอาจทำให้เกิดการศูนย์เสียได้ไม่ว่าจะเป็น ISS เองหรือ Crew Dragon เอง

Phase 5 ของภารกิจ Crew Dragon Demo-2 ใน ISS Docking Simulator

เมื่อผ่าน Phase 5 แล้วขั้นตอนสุดท้ายก็คือการเชื่อมต่อและการปรับความดันระหว่างยานก่อนที่จะเปิด Hatch ได้นั้นเอง Process พวกนี้เองที่เราอาจจะคิดว่ามันก็ใช้แค่กับยานอวกาศแต่จริง ๆ แล้วมันเอามาใช้กับหลายอย่างมาก ยกตัวอย่างระบบบนยาน Crew Dragon ที่มีพื้นฐานมาจากระบบนำทางบนเครื่องบิน (ผู้เขียนเล่น X-Plane 11 ฮา) เพราะว่าทุก Phase ที่กล่าวมานี้จะเกิดขึ้นแบบอัตโนมัติ นักบินอวกาศมีหน้าที่แค่นั่งดูและเตรียม Take over หากเกิดข้อผิดพลาด ใน Phase 4 นี่เองระบบนำทางบนยานจะค่อย ๆ พา Crew Dragon เข้าใกล้ ISS เรื่อย ๆ เรียกว่า (Low inertial approach) ใน Phase ที่ 5 นี่เองระบบ Autonomous Docking System ของยานจะทำหน้าที่คล้าย ๆ ระบบ ILS (Instrument Landing System) บนเครื่องบิน ซึ่งระบบ ILS บนเครื่องบินใช้ในการนำทางนักบินที่บินแบบ IFR (Instrument Flight Rules) ภายใต้สภาวะอากาศแบบ IMC (Instrument Meteorological Conditions) ง่าย ๆ ก็คือหมอกเยอะมองไม่เห็น นั่นแหละ และยังใช้ในการลงจอดอัตโนมัติที่เรียกว่า Autoland ด้วย

บน Crew Dragon คอมพิวเตอร์นำทางบนยานจะสื่อสารกับ ISS ตลอดเวลาเพื่อ Translate และ Rotate ยานให้ตรงกับ Docking Port หากใครลองเล่น Simulator แล้วจะรู้ว่าการ Translate ก็คือการเคลื่อนยานซ้ายขวาหน้าหลังบนล่างนั้นเอง ส่วนการ Rotate ก็คือ การหมุนยานนั้นเอง ส่วนใน KSP ก็จะเป็น LIN/ROT Mode หรือ Linear and Rotational Mode ในโหมด Docking นั้นเอง

Docking Interface ใน Mode LIN ของ KSP – ที่มา KSP

เมื่อถึง Phase 6 ยาน Crew Dragon จะทำ Final approach ด้วยการยิง Thruster เพื่อค่อย ๆ นำยานเข้าเชื่อมกับ ISS อย่างช้า ๆ จนเชื่อมต่อในที่สุดแล้วก็ทำการ Pressurize เพื่อปรับความดันในยาน Crew Dragon ให้เท่ากับ ISS ก่อนที่จะเปิด Hatch ก็เปิดอันเสร็จสิ้นภารกิจ Departure ของ Crew Dragon Demo-2 สู่ ISS แต่ว่าหากใครอยากลองกลับโลกด้วยก็ได้เพราะว่าการกลับโลกนั้นก็มี Phase คล้าย ๆ ตอนมานั่นแหละ (ง่ายกว่าด้วย แค่อย่าทำ Parachute พังตอน Re-entry)

ขั้นตอนการกลับก็นั้นทำ Phasing burn เพื่อลดวงโคจรลงจากนั้นจึง Burn ครั้งสุดท้ายที่ Phase 4 เพื่อ De-orbit และ Re-entry เป็นอันจบภารกิจ Crew Dragon Demo-2 ฉบับ Kerbal Space Program หากใครสนใจทำก็สามารถลองทำแล้วอัดคลิปส่งไปให้ KSP และ NASA ใน Twitter ก่อนวันที่ 25 พฤษภาคม 2020 นี้ได้ ภารกิจ Demo-2 นี้เองจะเป็นภารกิจที่จะพิสูจน์ประสิทธิภาพและความปลอดภัยของระบบ Human Spaceflight System ของ NASA หาก Demo-2 สำเร็จ Crew Dragon จะถูกรับรองให้เป็นยานสำหรับจนส่งมนุษย์ขึ้นไปบน ISS โดย NASA

เรียบเรียงโดย ทีมงาน SPACETH.CO

Chief Science | A 20-year-old biologist with a passion for space exploration, science communication, and interdisciplinarity. Dedicated to demystifying science for all - Since 2018.