เมฆปริศนายาวกว่า 1,500 กิโลเมตรในบรรยากาศของดาวอังคาร

ในวันที่ 10 ตุลาคม 2018 ยาน Mars Express สามารถถ่ายภาพวัตถุปริศนาสีขาวที่มีความยาวกว่า 1,500 กิโลเมตรได้ในบรรยากาศของดาวอังคาร เมื่อนักวิทยาศาสตร์ตรวจสอบโดยละเอียดจากภาพถ่ายแล้วพบว่ามันคือก้อนเมฆ

เมฆก้อนนี้มันไม่ใช่เมฆธรรมดา ๆ ที่พบในบรรยากาศของดาวอังคารเพราะ เมฆก้อนนี้อยู่ที่เดิมตลอดเวลาเหนือภูเขาชื่อว่า Arsia Mons บนดาวอังคารทำให้เมฆก้อนนี้เป็นเมฆที่สร้างความสนใจให้กับนักวิทยาศาสตร์เป็นอย่างมาก เมฆก้อนนี้อยู่เหนือ Arsia Mons ตั้งแต่ 13 กันยายน 2018 ถึง ปัจจุบันจากข้อมูลขององค์การอวกาศยุโรป (European Space Agency)

ภาพความละเอียดต่ำของเมฆยาว 1,500 กิโลเมตร ถ่ายโดยยาน Mars Express – ที่มา ESA

ภาพความละเอียดสูงของเมฆที่กำลังก่อตัวเหนือ Arsia Mons – ที่มา ESA/Mars Express

จากข้อมูลของ ESA ภูเขา Arsia Mons สูงประมาณ 20 กิโลเมตร เป็นภูเขาไฟที่ดับมาแล้วกว่า 10 ล้านปี จึงไม่น่าจะมีผลต่อการก่อตัวของก้อนเมฆนี้ นักวิทยาศาสตร์จึงพยายามหาทฤษฎีอื่นที่จะอธิบายปรากฎการณ์เหล่านี้ มีตำแหน่งอยู่ใกล้เส้นศูนย์สูตรบนพื้นที่ชื่อว่า Tharsis

เมฆก้อนนี้เกิดจากปรากฎการณ์ชื่อว่า Orographic ที่เกิดขึ้นจากปัจจัยหลาย ๆ อย่างมารวมกัน ฝุ่น และ อากาศที่เย็นบนดาวอังคารก่อตัวเป็นเมฆ Orographic หลังจากพายุทรายบนดาวอังคารสงบลง นอกจากบนดาวอังคารแล้ว Orographic ยังสามารถเกิดขึ้นบนโลกได้อีกด้วย

เมฆ Orographic หลังพายุทอร์นาโดสลายตัว – ที่มา Own Work

เวลาที่พายุทรายบนดาวอังคารบดบังแสงจากดวงอาทิตย์ทำให้อากาศภายใต้พายุทรายเย็นตัวลง ส่วนอากาศเหนือพายุทรายจะดูดซับรังสีและความร้อนทั้งหมดจากดวงอาทิตย์ที่ตกลงมากระทบบรรยากาศของดาวอังคารทำให้อากาศร้อนที่อยู่เหนือตัวสูงขึ้นไปเรื่อย ๆ จากความกดอากาศที่สูงขึ้น

เมฆ Orographic ที่ก่อตัวขึ้นใกล้แนวภูเขา – ที่มา AccuWeather

เมื่ออากาศที่ถูกดันขึ้นไปกองอยู่จุดที่สูงที่สุดที่อากาศจะลอยขึ้นไปได้อากาศจะอัดกันเรื่อย ๆ จนควบแน่นเป็นไอน้ำ และเป็นก้อนเมฆ ตามลำดับ ดังนั้นแน่นอนว่าอากาศที่ถูกดันขึ้นมาถึงจุดสูงสุดนั้นไม่ใช้น้อย เพราะขนาดของพายุทรายบนดาวอังคารไม่ใช้น้อยเช่นกัน (พายุทรายทั่วดาวก็ยังมี)

แล้วทำไมก้อนเมฆมันไม่สลายตัว

อุณหภูมิของบรรยากาศของดาวอังคารที่ก้อนเมฆลอยตัวอยู่นั้น คือ ติดลบ แน่นอนว่ามันจะทำให้ไอน้ำนั้นแข็งตัวเป็นน้ำแข็งแน่นอน ทำให้เมฆแข็งเป็นน้ำแข็ง จากคุณสมบัติของมัน น้ำแข็งไม่สามารถระเหิดเป็นไอน้ำได้ทันที เพราะฉะนั้นมันจะเปลี่ยนไปเป็นน้ำก่อนที่จะเปลี่ยนไปเป็นไอน้ำ

แต่บนดาวอังคารก็มีลมนะ ลมที่พัดผานพื้นที่เหนือ Arsia Mons ทำให้น้ำแข็งที่ละลายกลับเป็นน้ำจากความร้อนของดวงอาทิตย์ถูกลมของดาวอังคารที่เย็นยะเยือกพัดให้แข็งเป็นน้ำแข็งอีกครั้ง

เมฆก้อนนี้มีความชื้นสูงมากจากความหนาของมัน ความชื้นที่สูงนี้ทำให้เมฆก้อนนี้ไม่สามารถระเหิดจากความร้อนของดวงอาทิตย์และ ขนาดเดียวกันลมก็ยังพัดผ่านก้อนเมฆทำให้มันคงสภาพน้ำแข็ง (เมฆติด Loop) ทำให้วัฎจักรของมันวนไปวนมาและไม่ระเหิดหายไปสักที

สุดท้ายนี้เจ้าเมฆก้อนนี้มันก็ยังล่องลอยอยู่ในบรรยากาศของดาวอังคารต่อไป และนักวิทยาศาสตร์ก็ยังไม่ทราบว่าเมื่อไรมันจะสลายตัวซักที

เรียบเรียงโดย ทีมงาน SPACETH.CO

อ้างอิง

950-Mile-Long Cloud Spotted Over Martian Volcano. And It Has Staying Power.

Chief Science | A 20-year-old biologist with a passion for space exploration, science communication, and interdisciplinarity. Dedicated to demystifying science for all - Since 2018.