NASA HUNCH โครงการที่เปิดให้นักเรียนพัฒนาอุปกรณ์ส่งขึ้นไปบน ISS

หลังจากที่การปล่อยยาน Crew Dragon ในภารกิจ Crew Dragon Demo-2 ได้ผ่านพ้นไปเลยจนนักบินอวกาศ Doug Hurley และ Bob Behnken ได้เดินทางถึงสถานีอวกาศนานาชาติเป็นที่เรียบร้อย แน่นอนว่าภารกิจ Demo-2 ไม่ได้มีแค่ Bob กับ Doug ที่ขึ้นไปบน ISS เท่านั้นแต่ยังมีทั้งเสบียงต่าง ๆ รวมถึง Scientific Payload สำหรับทำการทดลองใน Microgravity ด้วย หลาย ๆ คนก็อาจจะคิดว่า Scientific Payload ที่ส่งขึ้นมาบนนี้อย่างน้อยก็ต้องเป็นหน่วยงานใหญ่ ๆ แหละ แต่ Payload ที่ถูกส่งขึ้นไปนั้นจริง ๆ แล้วมีของนักเรียนมัธยมทั่วไปด้วยซึ่งถูกส่งขึ้นไปภายใต้โครงการ NASA HUNCH (High school students United with NASA to Create Hardware)

NASA HUNCH คืออะไร

NASA HUNCH หรือ High school students United with NASA to Create Hardware เป็นโครงการที่ก่อตั้งมาแล้วกว่า 16 ปี (ก่อตั้งในปี 2003) และ Partner กับบริษัทต่าง ๆ จำนวนมากหลากหลาย Field อย่างเช่น Lockheed Martin, ACF, Raspberry Pi โครงการ HUNCH เปิดให้นักเรียนจากโรงเรียนในสหรัฐอเมริกากว่า 277 แห่งทั่วประเทศจาก 44 รัฐร่วมกันพัฒนา Payload ทางวิทยาศาสตร์กับศูนย์วิจัยของ NASA ที่อยู่ใกล้เคียงอย่างเช่น Johnson Space Center หรือ NASA’s Ames Research Center ซึ่งแต่โรงเรียนก็จะมีศูนย์วิจัยที่ดูแลต่างกันจากนั้นจึงนำอุปกรณ์ของแต่ละศูนย์วิจัยมา Contest เพื่อคัดเลือกอุปกรณ์ที่จะส่งไปบน ISS ซึ่งอุปกรณ์ที่ส่งขึ้นไปบน ISS นั้นก็ไม่จำเป็นต้องเป็นการทดลองทางวิทยาศาสตร์เสมอไปแต่เป็นอุปกรณ์ที่ช่วยเพิ่มคุณภาพชีวิตให้นักบินอวกาศบน ISS เครื่องมือต่าง ๆ สำหรับใช้งานในอวกาศ ซอฟต์แวร์แอพลิเคชั่นต่าง ๆ อย่าง IoT, VR, Mobile Web application หรือแม้แต่สูตรทำอาหารต่างก็ถูกส่งขึ้นไปบน ISS ทั้งสิ้น

IVA Handrails พัฒนาโดยนักเรียนมัธยมโครงการ HUNCH – ที่มา NASA HUNCH

ตัวอย่างของอุปกรณ์ที่ส่งขึ้นไปบน ISS ก็อย่างเช่น IVA Handrails หรือ Intra-vehicular activity Handrails สำหรับใช้ใน ISS เป็นที่จับที่สามารถเอาไปแปะที่ไหนก็ได้สำหรับให้นักบินอวกาศเกาะขณะกำลังทำกิจกรรมใน ISS ต่าง ๆ เพราะหากไม่ยึดตัวเองเข้ากับอะไรสักอย่างตัวนักบินอวกาศก็จะลอยไปลอยมานั้นเองซึ่งส่วนใหญ่ที่จับบน ISS ที่มีอยู่แล้วมันไม่สามารถย้ายตำแหน่งได้ทำให้ IVA Handrails แบบเปลี่ยนที่ได้สไลด์ได้ก็ถือเป็นอุปกรณ์ที่มีประโยชน์เลยทีเดียว

รองเท้าสำหรับใช้บน ISS พัฒนาโดยนักเรียนมัธยมโครงการ HUNCH – ที่มา NASA HUNCH

รองเท้าอันนี้ก็เป็นรองเท้าที่ใช้สำหรับ IVA เช่นกันเป็นรองเท้าที่ช่วยลดการกดทับบนเท้าเพราะว่าเวลานักบินอวกาศจะยืนบนพื้นจะต้องเอาสอดเข้าไปในที่ยึดแล้วดันไว้ซึ่งเหมือนเป็นการงัดเท้าตัวเองเข้ากับคานอะไรสักอย่างซึ่งมันเกิดขึ้นตลอดเวลาบน ISS เพราะว่านักบินอวกาศจะไม่สามารถยืนทำงานได้เลยหายไม่ยึด (ลอยไปลอยมา) มันจึงเลี่ยงไม่ได้ ซึ่งการทำแบบนี้ทุกวันทุกเวลาทำให้เท้านักบินช้ำจากการยึดนั้นเอง รองเท้า IVA อันนี้ถูกพัฒนาขึ้นมาเพื่อรับแรงงัดและลดการกดทับบนเท้าลงนั้นเอง

รองเท้าสำหรับใช้บน ISS พัฒนาโดยนักเรียนมัธยมโครงการ HUNCH – ที่มา NASA HUNCH

และคราบสีน้ำตาลที่เห็นนั้นไม่ใช่คราบแต่อย่างใดแต่เป็นลาย

Expedition 59 บน ISS กับเมนู Orange Blackberry Croissant จากนักเรียนบนโลก – ที่มา NASA HUNCH

โครงการ HUNCH ยังคัดเลือกอาหารที่คิดและทำโดยนักเรียนจากโรงเรียนมัธยมทั่วประเทศส่งขึ้นบน ISS ให้นักบินอวกาศได้กินอีกด้วย ซึ่งในภาพที่เห็นนี้เป็นนักบินอวกาศของ Expedition 59 ขณะกำลังร่วมกันทาน Orange Blackberry Croissant (ครัวซ็อง) บน ISS ในห้วงเวลา 16 ปีนี้มี Payload ที่สร้างโดยนักเรียนมากกว่า 1300 ชิ้น แล้วที่ถูกส่งขึ้นไปบน ISS ตั้งแต่โครงการกระสวยอวกาศยันกระสวยอวกาศถูกปลดประจำการในปี 2011 ก็ถูกส่งขึ้นไปกับยาน Soyuz แทนและมาถึงปัจจุบันในปี 2020 ภารกิจ Demo-2 ก็มีการส่ง Payload ของ HUNCH ขึ้นไปกับยาน Crew Dragon สู่ ISS ด้วยเช่นกัน

ในภารกิจ Demo-2 โครงการ HUNCH ส่งอะไรขึ้นไป?

ในภารกิจ Demo-2 ที่ถูกปล่อยขึ้นสู่อวกาศในวันที่ 30 พฤษภาคม 2020 นั้นไปพร้อมกับเสบียงเครื่องมือและ Payload ทางวิทยาศาสตร์สำหรับทำการทดลองต่าง ๆ จำนวนมาก ซึ่งหากใครติดตาม Live ของทาง NASA ระหว่างที่ Crew Dragon กำลังเดินทางไป ISS ลูกเรือทั้งสอง Bob และ Doug ได้ลงมาตรงส่วนของ Cargo compartment เพื่อมาเตรียมของต่าง ๆ จะเห็นได้ว่ามี Payload เป็นจำนวนมากแพ็คไว้อยู่ หนึ่งในนั้นมีของโครงการ HUNCH ด้วย นั้นก็คือ Locker นั้นเอง ซึ่งออกแบบโดยนักเรียนจากโครงการ HUNCH ทั่วประเทศไม่ได้ออกแบบจากแค่โรงเรียนได้โรงเรียนหนึ่ง

Bill Gibson และ Bob Zeek เจ้าหน้าที่ NASA HUNCH ที่เข้ามาช่วยทำ HUNCH Locker ให้เสร็จทันตามกำหนด – ที่มา NASA/Bob Zeek

ซึ่งเจ้า HUNCH Locker อันนี้นั้นถูกพักการออกแบบและการสร้างไว้เนื่องจากการประกาศ State of Emergency ของการระบาด COVID-19 ทำให้โรงเรียนต่าง ๆ ต้องหยุดเรียนจึงไม่สามารถทำต่อได้ เจ้าหน้าที่ของ NASA HUNCH จึงต้องเข้ามาช่วยทำให้เสร็จเพื่อให้ทันตามกำหนดการปล่อยนั้นเอง

HUNCH Locker พัฒนาโดยนักเรียนโครงการ HUNCH ระหว่างการประกอบขั้นสุดท้าย – ที่มา NASA/Bob Zeek

ดูภายนอกมันก็เหมือน Locker ธรรมดาไม่มีอะไรพิเศษแต่ใน Locker ที่เห็นนั้นประกอบไปด้วยอุปกรณ์ข้างในกว่า 280 ชิ้นสำหรับทำการทดลอง อย่างน้อย 41 ชิ้นถูกสร้างโดยนักเรียนจากโครงการ HUNCH ตัว Locker เองทำหน้าที่เป็น Payload locker เพื่อป้องกันอุปกรณ์ข้างในจากแรงกระแทกต่าง ๆ ระหว่างการปล่อยนั้นเอง ครั้งนี้ HUNCH ไม่ได้ส่งขึ้นไปแค่อันเดียวแต่ส่ง Locker แบบเดียวกันนี้เองขึ้นไปบน ISS กับยาน Crew Dragon กว่า 5 อัน ซึ่งแต่ละอันมาจากศูนย์วิจัยของ NASA แต่ละแห่งอย่าง Johnson Space Center, Glenn Research Center, Kenny Space Center, Marshall Space Flight Center และ Langley Research Center

HUNCH Locker จำนวน 5 อันก่อนถูกส่งขึ้นไปบน ISS – ที่มา SpaceX/NASA

ใน Locker ประกอบไปด้วยอุปกรณ์หลากหลายชนิดอย่าง Liquid Cooling Ventilation Garments หรือเสื้อผ้าสำหรับใส่ระหว่างทำ EVA นอก ISS เพื่อรักษาอุณหภูมิร่างกายระหว่างการทำ Spacewalks นั้นเอง Glenn Flight Harness สำหรับยึดนักบินไว้กับลู่วิ่งบน ISS เพื่อให้นักบินอวกาศออกกำลังกายได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นและอุปกรณ์อำนวยความสะดวกอีกมากมายหลายร้อยชิ้นให้นักบินอวกาศบน ISS ได้ลองใช้นั้นเอง

ภาพขณะ Doug Hurley กำลังย้าย HUNCH Locker ใน Cargo compartment ของยาน Crew Dragon – ที่มา NASA

ขากลับของภารกิจ Demo-2 จะมี Locker หนึ่งอันที่จะถูกส่งกลับมาบนโลกซึ่งจะเป็นชุดที่เป็นการทดลองทางวิทยาศาสตร์ซึ่งต้องนำมาวิเคราะห์บนโลกส่งกลับมาเพื่อส่งต่อให้ศูนย์วิจัยต่าง ๆ ไปทำการทดลองต่อบนโลกนั้นเอง สุดท้ายนี้เราก็หวังว่าในอนาคตประเทศไทยจะมีโครงการลักษณะนี้เพิ่มขึ้นเพื่อเปิดโอกาสให้นักเรียนได้ลองพัฒนาอุปกรณ์ทางวิทยาศาสตร์จริง ๆ ส่งขึ้นไปบน ISS ไม่ใช่แค่ทำเสร็จแล้วก็โละทิ้ง

เรียบเรียงโดย ทีมงาน SPACETH.CO

อ้างอิง

NASA HUNCH

NASA HUNCH | HUNCH Locker Demo-2 Mission

Chief Science | A 20-year-old biologist with a passion for space exploration, science communication, and interdisciplinarity. Dedicated to demystifying science for all - Since 2018.