อวกาศข้างบ้าน EP 12.1 รีวิวโครงงานดาราศาสตร์จากงาน TACS 2019 PART 1

ในตอนที่ 12 นี้ อิงค์ เติ้ล กิ๊ก และ มิก จะมาเล่าถึงประสบการณ์การเข้าร่วมงานการประชุมวิชาการดาราศาสตร์แห่งประเทศไทยครั้งที่ 6 (สำหรับเยาวชน) ซึ่งจัดโดย สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ ซึ่งปีนี้ทีมงาน SPACETH.CO ก็ได้ไปเข้าชมการนำเสนอโครงงานของน้อง ๆ เยาวชนอีกเช่นเคย ซึงแน่นอนว่าเราในครั้งนี้เราก็ได้จัดรายการกันที่เชียงใหม่พร้อมเล่าบรรยายเนื้อหาของแลพความรู้สึกจากโครงงานต่าง ๆ ที่พวกเราสนใจจากงาน TACS 2019 นี้ ซึ่งหากท่านผู้ฟังสนใจสามารถอ่านเนื้อหาโครงงานวิจัยได้เพิ่มเติมได้ที่นี่

รับฟังได้ผ่าน

ผู้ดำเนินรายการ

จิรสิน อัศวกุล (อิงค์) , ณัฐนนท์ ดวงสูงเนิน (เติ้ล) , นิศาชล คำลือ (กิ๊ก) , ณฐกร จันทราธิกุล (มิก)

เนื้อหา

  • เบรคที่ 1 อิงค์ เติ้ล กิ๊ก และ มิก รวมจัดรายการ มิกเล่าถึงโครงงานที่ตนชื่นชอบ จากนั้นเติ้ล และกิ๊ก เล่าถึงโครงงานที่ตนชื่นชอบและประทับใจ
  • เบรคที่ 2 อิงค์กลับมาเล่าถึงบทความที่ตนชื่นชอบต่อจากเติ้ลและเล่าถึงโครงงาน ” The study of relation between color and brightness of the moon
    with the amount of dust particles in the atmosphere ” ของกลุ่มนักเรียนจาก โรงเรียนวารีเชียงใหม่อินเตอร์เนชั่นแนล ซึ่งเป็นเรื่องการศึกษาการตรวจวัดฝุ่นละอองภายในชั้นบรรยากาศโดยอาศัยการวัดค่าด้วยภาพถ่ายดวงจันทร์
  • เบรคที่ 3 อิงค์เล่าถึงโครงงาน “การศึกษาโครงสร้างและทดสอบแบบจำลองวิหารเอล-คาสติลโลของชนเผ่ามายา เพื่ออธิบายการเกิดปรากฏการณ์การปรากฏตัวของเทพคูคุลคาน” โดยกลุ่มนักเรียนจาก โรงเรียนสาธิต”พิบูลบําเพ็ญ”มหาวิทยาลัยบูรพา ที่ศึกษาถึงการขึ้นและตกของพระอาทิตย์ในวัน วิษุวัต กับการปรากฏตัวของเทพคูคุลคานบน วิหารเอล-คาสติลโล
  • เบรคที่ 4 อิงค์เล่าถึงโครงงาน “การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการวางตัวของพีระมิดและดาวเข็มขัดนายพราน” โดยกลุ่มนักเรียนจาก โรงเรียนสาธิต”พิบูลบําเพ็ญ”มหาวิทยาลัยบูรพา ที่ศึกษาถึงความสัมพันธ์ระหว่างตำแหน่งของพีระมิดแห่งกีซาร์และตำแหน่งของแถบดาวเข็มขัดนายพรานบนท้องฟ้า

รูปภาพประกอบ

Chichen Itza 3.jpg
พีระมิด เอล-คาสติลโลของชนเผ่ามายา
เทพคูคุลคานบริเวณฐานของพีระมิด
ภาพจำลองเทพคูคุลคานตามแบบความเชื่อของชาวมายา
รูปปั้นเทพคูคุลคานบริเวณสิ่งก่อสร้างของชาวมายา
ภาพเปรียบเทียบเส้นรุ้งของจังหวัดชลบุรีกับบริเวณที่ตั้งของพีระมิด เอล-คาสติลโลของชนเผ่ามายา ซึ่งมีองศาที่แตกต่างกัน จึงจำเป็นต้องตั้งพีระมิดเอียงทำมุมกับพื้นโลกเพื่อให้องศาการตกกระทบของแสงเสมือนตั้งบริเวณที่เดียวกับสถานที่จริง
ภาพเปรียบเทียบการเกิดเงาของพีระมิดในวันวิษุวัต ระหว่างสถานมี่จริงและแบบจำลองโดยกลุ่มนักเรียน

สื่อออนไลน์ คอนเทนต์ด้านอวกาศ การสํารวจอวกาศ และการค้นพบใหม่ ๆ โดยเน้นสร้างสรรค์เนื้อหาที่อ่านง่าย เข้าใจง่าย และสนุกไปกับความรู้ที่ได้รับ