อวกาศข้างบ้าน EP 12.2 รีวิวโครงงานดาราศาสตร์จากงาน TACS 2019 PART 2

ในตอนที่ 12.2 นี้ อิงค์ เติ้ล กิ๊ก และ มิก จะมาเล่ากันต่อถึงโครงงานที่พวกเราสนใจจากตอนที่แล้ว มีหลากหลายโครงงานด้วยกัน ซึ่งสร้างความประทับใจให้กับพวกเราและเสริมสร้างแรงบันดาลใจให้กับพวกเรา และทำให้เห็นว่าเด็กไทยที่สนใจด้านดาราศาสตร์นั้นยังมีอีกมากมายให้พวกเราได้ค้นหาและเรียนรู้จากโครงงานของพวกเขา ซึ่งหากท่านผู้ฟังสนใจสามารถอ่านเนื้อหาโครงงานวิจัยได้เพิ่มเติมได้ที่นี่

รับฟังได้ผ่าน

ผู้ดำเนินรายการ

จิรสิน อัศวกุล (อิงค์) , ณัฐนนท์ ดวงสูงเนิน (เติ้ล) , นิศาชล คำลือ (กิ๊ก) , ณฐกร จันทราธิกุล (มิก)

เนื้อหา

  • เบรคที่ 1 อิงค์ เติ้ลและกิ๊กพูดคุยกันต่อถึงโครงงาน “การศึกษาแผนที่ดาว Nebra Sky Disk” ของกลุ่มนักเรียนจาก โรงเรียนสาธิต”พิบูลบําเพ็ญ”มหาวิทยาลัยบูรพา ที่ศึกษาหาความสัมพันธ์ของแผนที่ดาวและการคาดการณ์ฤดูกาลเพาะปลูกของชาวเยอรมันเมื่อ 1600 ปีก่อนคริตสกาลตามปฏิทินแบบจันทรคติ ว่ามีความสัมพันธ์ตรงกันหรือไม่
  • เบรคที่ 2 อิงค์เล่าเรื่องที่ไป Discuss กับกลุ่มนักเรียนที่ทำโครงงาน “ผลของการเกิดข้างขึ้น-ข้างแรมกับปริมาณการตกของฝน” และเล่าถึงโครงงานที่เขาชอบคือ “ความสัมพันธ์ของแสงโลกกับเฟสของดวงจันทร์” นักเรียนจากโรงเรียนสุราษฎร์ธานี ที่มีมากกว่าแค่ปรากฏการณ์แสงโลกธรรมดา
  • เบรคที่ 3 อิงค์เล่าถึงโครงงาน “ฐานกล้องตามดาวแบบศูนย์สูตรสำหรับกล้อง DSLR/Mirrorless” โดยนักเรียนจาก โรงเรียนสาธิต”พิบูลบําเพ็ญ”มหาวิทยาลัยบูรพา
nebra sky disk
กราฟความสัมพันธ์ของโครงงาน “ความสัมพันธ์ของแสงโลกกับเฟสของดวงจันทร์”

สื่อออนไลน์ คอนเทนต์ด้านอวกาศ การสํารวจอวกาศ และการค้นพบใหม่ ๆ โดยเน้นสร้างสรรค์เนื้อหาที่อ่านง่าย เข้าใจง่าย และสนุกไปกับความรู้ที่ได้รับ