วันนี้ทางทีมงาน Spaceth.co ได้รับเกียรติเข้าร่วมกิจกรรมเสวนาทางวิทยาศาสตร์ Science Cafe โดย คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เป็นผู้จัดขึ้น ในครั้งนี้ จัดขึ้นที่ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตพญาไท
เนื้อหาสาระสำคัญในครั้งนี้จะเป็นเรื่องใดไปไม่ได้นอกจาก เรื่องเกี่ยวกับชีวประวัติของ Stephen Hawking
ในการจัดเสวนาในครั้งนี้ประกอบไปด้วยสามองค์เนื้อหาคือ 1.รู้จักสตีเฟ่น ฮอว์คิง 2.งานวิจัย, Hawking Radiation, หลุมดำ, มรดกที่ทิ้งไว้ให้นักฟิสิกส์รุ่นหลัง 3. โรค ALS และ แรงบันดาลใจ “However difficult life may seem, there is always something you can do and succeed at.”
ในช่วงองค์แรกกล่าวเกี่ยวกับชีวประวัติของ Stephen Hawking เกี่ยวกับชีวิต ความเป็นอยู่ การเรียน การทำงาน และครอบครัว โดยอาจารย์พิเซษฐ กิจธารา
โดยที่เป็นประเด็นมากๆเลยคือการใช้งานรถเข็นและเครื่องสังเคราะห์เสียงของเขานั้นเอง
Stephen Hawking เป็นคนที่ดื้อและไม่ยอมใช้รถเข็นทั้งๆที่ขาของเขาอ่อนแรงลงทุกวันจนกระทั่งไม่มีแรงเดินแล้วจึงยอมนั่งรถเข็นไฟฟ้าไปไหนมาไหน
เป็นนักซิ่งรถวิลแชร์แห่งแคมบริดจ์ ซิ่งไปตามถนนต่างๆเพื่อไปสอนหรือไปทำกิจกรรมต่างๆ
หลังจากนั้นเขามีปัญหาเกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจ กล้ามเนื้อที่ช่วยในการหายใจไม่สามารถทำงานต่อไปได้ทำให้เขาไม่มีแรงที่แม้จะหายใจหรือพูดออกมา จึงจำเป็นต้องเจาะคอของเขา
เมื่อไม่สามารถพูดได้แต่ชีวิตของเขาต้องดำเนินต่อไปเหมือนที่พวกเรารู้ เขาได้รับการช่วยเหลือโดยคอมพิวเตอร์ที่สามารถสังเคราะห์เสียงได้
ในช่วงแรกนั้นเขายังมีแรงพอที่จะขยับกล้ามเนื้อมืออยู่ เขาจึงใช้มือในการกดและควบคุมการทำงานของคอมพิวเตอร์ รวมถึงรถวิลแชร์ไฟฟ้าของเขาจึงทำให้เขาเป็นนักซิ่งวิลแชร์แห่งแคมบริดจ์
สามารถหาดูวิธีที่เขาใช้งานได้ในภาพยนตร์เรื่อง The Theory of Everything ได้
แต่หลังจากนั้น เซลล์ประสาทของเขาเสื่อมมากขึ้น เขา ไม่สามารถขยับนิ้วมือได้อีกต่อไป เขาจึงต้องอาศัยกลไกพิเศษที่ตรวจจับจากใบหน้าแทน
อุปกรณ์ที่อยู่บนแว่นตาของเขาคอยตรวจจับการเคลื่อนไหวของแก้มของเขา เมื่อขยับแก้มเป็นการกดปุ่มเหมือนการใช้นิ้วมือกดปุ่มในอดีต
ช่วงเวลาตอบคำถามระหว่างงานเสวนาเป็นช่วงเวลาที่ทุกคนลุ้นว่าฮอว์คิงจะตอบยังไงและตอบว่าอะไร โดยเขาต้องใช้ความพยายามอย่างมากในการขยับแก้มเพื่อเลือกคำในการตอบคำถาม
ในองค์ที่สองนั้นเป็นเรื่องเกี่ยวกับผลงานและงานวิจัยของฮอว์คิงที่ทิ้งเอาไว้ให้พวกเรา โดย อาจารย์ สุจินต์ วังสุยะ ซึ่งเป็นนักฟิสิกส์ทฤษฎีชั้นแนวหน้าของประเทศไทย
เป็นเรื่องราวเกี่ยวกับทฤษฎี Hawking radiation สมการสนามของไอสไตน์ ทฤษฎีสัมพันธภาพ กลศาสตร์ควอนตัม และทฤษฎีสรรพสิ่ง (Unified Theory)
ซึ่ง Hawking radiation ที่อาจารย์บรรยายได้ช่วยเพิ่มพูนความเข้าใจเกี่ยวกับการแผ่รังสีนี้มากยิ่งขึ้นจากบทความที่แล้ว
อีกทั้งยังทำให้เข้าใจเกี่ยวกับทฤษฎีสัมพันธภาพทั่วไปของไอสไตน์และกลศาสตร์ควอนตัมที่มาใช้อธิบายหลุมดำอีกด้วย
และในองค์สุดท้าย เป็นเรื่องราวทางการแพทย์เกี่ยวกับโรคที่ฮอวคิงเป็น โรค ALS ในหัวข้อบรรยายในหัวข้อ โรค ALS และ แรงบันดาลใจ “However difficult life may seem, there is always something you can do and succeed at.” โดย แพทย์หญิงฐานิตา ทองตัน
โรค ALS (Amyotrophic lateral sclerosis) หรือ MND (motor neurone disease) เป็นโรคที่เกี่ยวกับการเสื่อมของเซลล์ประสาทสั่งการกล้ามเนื้อโครงร่าง
การเสื่อมของเซลล์ประสาททำให้กระแสประสาทที่ลงไปสั่งงานกล้ามเนื้อไม่ทำงาน กล้ามเนื้อนั้นจึงไม่ทำงานและค่อยๆเสื่อมสภาพลงไป เหมือนคนเป็นอัมพาต
โดยปกติทั่วไป ผู้ป่วยที่เป็นโรค ALS มักพบในผู้ที่มีอายุ 55 ปีขึ้นไป และมักเสียชีวิตเนื่องจากขาดอากาศหายใจภายในระยะเวลา 2-5 ปีหลังจากพบว่าป่วยเป็นโรค
ปัจจุบันการศึกษาเกี่ยวกับโรค ALS นั้นยังไม่ทราบแน่ชัดว่าเพราะเหตุใดถึงเป็นโรคนี้และยังไม่สามารถรักษาโรคนี้ได้อย่างสมบูรณ์
การรักษาในปัจจุบันเป็นเพียงการประคับประคองอาการไว้ให้เป็นช้าลง ด้วยยารักษา
สำหรับฮอวคิงนับได้ว่าเป็นผู้ป่วยโรค ALS ที่มีอายุยืนที่สุดเท่าที่เคยมีมา เขาอยู่มาเกือบ 55 ปี และพึ่งสิ้นลมหายใจไปเมื่อไม่นานมานี้
Stephen Hawking เป็นนักวิทยาศาสตร์ที่น่ารักและน่าเคารพของเราทุกคน
เขาคือผู้ต่อสู้กับโรค ALS โรคที่ร้ายแรงและน่ากลัว ฆ่าชีวิตผู้คนไปมากมายและเป็นอุปสรรคต่อการทำงาน ใช้ชีวิตของเขาเป็นอย่างมาก แต่ถึงกระนั้นเขาไม่ยอมให้สิ่งเหล่านั้นมาเป็นอุปสรรคต่อความใคร่รู้ในตัวตนของเขาได้
ความใคร่รู้ที่จะรู้คำเฉลยในปริศนาแห่งเอกภพ สิ่งนั้นคือความรู้ และไม่ยอมให้ความพิการทางกายของเขามาเป็นความพิการทางใจ
However difficult life may seem, there is always something you can do and succeed at.