หินบริเวณน้ำพุร้อน แบคทีเรีย เส้นทางแห่งการค้นพบสิ่งมีชีวิตบนดาวอังคาร

ในสภาพแวดล้อมที่แตกต่างกันมักจะมีสิ่งมีชีวิตที่แตกต่างกันออกไป ในแม่น้ำ ลำธาร หรือมหาสมุทรก็มีสิ่งมีชีวิตที่ไม่จำเป็นต้องหายใจผ่านจมูกแบบมนุษย์ หรือแม้แต่ในทะเลทรายที่ร้อนระอุก็ไม่จำเป็นที่จะต้องมีต้นไม้ใบเยอะ ๆ แบบป่าดงดิบหรือป่าอื่น ๆ ทุกพื้นที่บนโลกของเรามีสิ่งมีชีวิตอยู่ทุกที่แต่แค่มีลักษณะแตกต่างกันออกไป ให้เข้ากับลักษณะทางภูมิศาสตร์หรือระบบนิเวศน์ก็เท่านั้น

ย้อนกลับไปในสมัยไดโนเสาร์สูญพันธ์ หรือช่วงเวลาที่โลกกำลังร้อนระอุด้วยภูเขาไฟระเบิดหรือการชนของอุกกาบาต โลกเต็มไปด้วยฝุ่นและความร้อนที่แผดเผา สิ่งมีชีวิตล้มตายลงเป็นจำนวนมาก เหล่าไดโนเสาร์สูญพันธ์เกือบหมด อาจจะเหลือบางสายพันธ์ที่สามารถปรับปรุงตัวเองให้เข้ากับสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนไปได้ เวลาเนินนานผ่านไปพวกแบคทีเรียก็ได้เริ่มถือกำเนิดขึ้น

สำรวจบ่อน้ำพุร้อนและแร่ซิลิกา

ส่วนใหญ่บ่อน้ำพุร้อนเกิดจากการที่น้ำอยู่ใต้ดินไหลไปสัมผัสกับหินเปลือกโลกที่มีอุณหภูมิสูง บางแห่งร้อนจัดจนมีควันพุ่งออกมาด้วย ทุก ๆ 30 เมตรความร้อนก็จะเพิ่มขึ้นทีละ 1 องศาเซลเซียส ดังนั้นน้ำที่ไหลลงไปลึก ๆ แล้วพุ่งสู่พื้นดินอย่างรวดเร็วตามแรงดันทำให้ไม่มีโอกาสเย็นตัว จึงกลายเป็นน้ำพุร้อน และมักมีแร่ธาตุต่าง ๆ ปะปนอยู่มากมาย เช่น ซิลิกา แคลเซียมคาร์บอเนต และกำมะถัน เป็นต้น แต่ในที่นี้ทีมนักวิจัยจะเจาะจงไปที่บ่อน้ำพุร้อนที่มีซิลิกาเป็นส่วนมาก

จากงานวิจัยเรื่อง Silica deposits on Mars with features resembling hot spring biosignatures at El Tatio in Chile ได้นำเสนอเกี่ยวกับรูปร่างของแร่ซิลิกาที่บริเวณน้ำพุร้อน El Tatio ในประเทศชิลีซึ่งมีรูปร่างคล้ายคลึงกับแร่ซิลิกาที่พบโดยยาน Spirit บริเวณ Columbia Hills / Home Plate ใน Gusev Crate

ภาพเปรียบเทียบรูปร่างของแร่ซิลิกาบนดาวอังคารบริเวณ Columbia Hills (ด้านซ้าย) กับบริเวณน้ำพุร้อน El
Tatio (ด้านขวา) ที่มา – Nature

นอกจากนี้เมื่อพวกเขานำตัวอย่างหินที่ได้จากบริเวณน้ำพุร้อน El Tatio มาตรวจสอบด้วยวิธีการ Microscopy โดยใช้กล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอน พวกเขาได้พบเข้ากับสารอินทรีย์และสิ่งที่เหมือนจะมีชีวิต แต่ไม่แน่ใจว่าเป็นสิ่งมีชีวิตหรือเปล่าหรือเป็นแค่ Pseudofossil คือสิ่งที่รูปร่างเหมือนฟิซซิล ฟอซซิลของพวกสิ่งมีชีวิตที่ถูกกระบวนการทางเคมีเปลี่ยนแปลงไปให้สามารถคงสภาพเดิมอยู่ได้ หรือจะเป็น mineralization ก็คือการแทนที่ด้วยแร่เข้าไปแทน พบมากในพวกตัวนิ่มที่เรามักจะเห็นเป็นร่องรอยของมันมากกว่า ไม่ใช่ซากของตัวมันเลย

แสดงให้เห็นสารอินทรีย์ที่อยู่กับแร่หินซิลิกอนที่พบในบริเวณน้ำพุร้อน El Tatio ประเทศชิลี ที่มา – Nature

นั้นแสดงให้เห็นว่าในบริเวณน้ำพุร้อน El Tatio ในประเทศชิลีอาจจะเคยมีสิ่งมีชีวิตอาศัยอยู่ ซึ่งสิ่งมีชีวิตเหล่านี้อาศัยอยู่ในบริเวณที่มีอุณหภูมิสูง และใช้ซิลิกาในการดำรงชีวิตอยู่ได้ และยาน Spirit ได้พบซิลิกาในบริเวณ Columbia Hills เช่นกัน จึงมีนักดาราศาสตร์ นักธรณีวิทยา และนักชีวะดาราศาสตร์ได้ตั้งข้อสันนิฐานว่ามันจะเป็นไปได้ไหมที่ในบริเวณนั้น หรือบริเวณรอบ ๆ ภูเขาไฟบนดาวอังคารอาจจะพบซากสิ่งมีชีวิต แบคทีเรียต่าง ๆ ในชั้นหินที่มีซิลิกาอยู่ด้วย

ต่อมาคุณ Kathleen Campbell นักธรณีวิทยา นักบรรพชีวินวิทยาและนักชีวดาราศาสตร์จากมหาวิทยาลัย Univereity of Auckland ได้ศึกษาชั้นหินบริเวณพื้นโลกที่ยังคงมีความร้อนรุนแรงจาก บ่อน้ำพุร้อนที่ประเทศ New Zealand บริเวณหินที่มีอายุประมาณ 1 หมื่นปีก่อน และบ่อน้ำพุร้อนที่ Patagonia ประเทศ Argentina มีอายุราว ๆ 150 พันปีก่อน และได้พบกับฟอสซิลของแบคทีเรียที่เกาะกับหินบริเวณนั้น ซึ่งเป็นฟอสซิลที่ถูกแทนที่เข้าไปด้วยซิลิกาเช่นเดียวกัน

แล้วเราจะสำรวจหินบนดาวอังคารได้ยังไง

เมื่อสำรวจชั้นหิน ชุดหินบนพื้นโลกแล้ว ปัญหาต่อไปคือการสำรวจบนดาวอังคาร ในช่วงเวลาของยาน Spirit ทำให้เราทราบว่า ณ บริเวณนั้นและรอบ ๆ ภูเขาไฟบนดาวอังคารมีซิลิกาที่นักดาราศาสตร์และนักธรณีวิทยาคิดว่ามันอาจจะเคยมีสิ่งมีชีวิตจำพวกแบคทีเรียอาศัยอยู่ก็ได้ ดังนั้นการที่จะไปสำรวจหินบนดาวอังคารได้จำเป็นจะต้องส่งยานสำรวจขึ้นไปใหม่อีกครั้ง เพราะอันเก่าของเราพังไปแล้ว

และแน่นอนโครงการสำรวจดาวอังคารต่อไปที่กำลังจะปล่อยในปีหน้า Mars 2020 ซึ่งจะมีขนาดและความสามารถใกล้เคียงกับยาน Curiosity ซึ่งคาดว่าจะสำรวจในบริเวณ Jezero Creater แทน สำหรับการสำรวจบริเวณ Columbia Hills กำลังอยู่ในระหว่างการดำเนินการปรึกษาผู้เชี่ยวชาญในการสำรวจอีกครั้ง

Jezero Crater  ที่มา – sciencemag.org

ถ้ากระบวนการ mineralization เกิดขึ้นที่บนดาวอังคารเหมือนกัน โอกาสที่จะเจอฟอสซิลแบคทีเรียบนดาวอังคารก็อาจะมีความเป็นไปได้สูง และนี้อาจจะนำไปสู่การค้นพบสิ่งมีชีวิตหรือร่องรอยของสิ่งมีชีวิตจำพวกแบคทีเรียหรืออาร์เคียบนดาวอังคารเป็นครั้งแรก ต่อจากการค้นพบสารอินทรีย์บนดาวอังคารเมื่อปีก่อน และมันจะเป็นก้าวที่ยิ่งใหญ่ของการค้นพบชีวิตใหม่บนดาวเคราะห์ดวงใหม่ และอาจจะเป็นการเริ่มต้นการสำรวจอวกาศ สำรวจสิ่งมีชีวิตบนดาวเคราะห์ดวงอื่น ๆ ต่อไปในอนาคตอีกด้วย


อ้างอิง

Silica deposits on Mars with features resembling hot spring biosignatures at El Tatio in Chile

LOOKING FOR LIFE ON MARS — IN CHILE

มายด์ - บรรณาธิการและนักเขียน นิสิตปี 1 ภาคฟิสิกส์ จุฬาฯ สนใจเรื่องอวกาศ วิทยาศาสตร์ BLACKPINK อดีตไอดอลที่ออกวงการมาแล้ว และในปัจจุบันนี้เป็น Atomic Queen Ambassador of Physics 2019