Sounds of the Sea: จากภาพถ่ายดาวเทียมเหนือมหาสมุทร สู่เสียงดนตรี

ข้อมูลทางวิทยาศาสตร์นั้นนอกจากนำมาใช้ในการศึกษาด้านวิทยาศาสตร์แล้ว ยังสามารถนำมาผนวกรวมกันศิลปะและเสียงเพลงได้อีกด้วย และนี่ไม่ใช้ครั้งแรกที่นักวิทยาศาสตร์นำข้อมูลการสำรวจทางดาราศาสตร์มาทำเป็นเสียงเพลง ก่อนหน้านี้ก็เคยมีการนำการแปรแสงของดาวฤกษ์มาแปลงเป็นเพลงแล้ว โดยครั้งนี้เป็นตาของนักวิทยาศาสตร์มหาสมุทรใน Project Sounds of the Sea ด้วยการนำภาพถ่ายดาวเทียมของมหาสมุทรมาแปลงเป็นเสียงดนตรี

เริ่มต้นกันด้วยเสียงเพลงจาก Río de la Plata ซึ่งเป็นแม่น้ำที่เต็มไปด้วยการตกตะกอนเป็นสีต่าง ๆ ในอเมริกาใต้

เสียงดนตรีจากแม่น้ำ Río de la Plata ที่อเมริกาใต้ – ที่มา NASA

โดยเสียงเพลงที่ได้เกิดจากการแปลงค่าการสะท้อนแสงของมหาสมุทรมาเป็นโน้ตเพลง เนื่องจากแต่ละพื้นที่ของมหาสมุทรสะท้อนแสงแต่ละสีออกมาไม่เท่ากัน ทำให้เราสามารถแยกสีออกมาเป็น Channel จากนั้นจึงนำไปแปลงเป็นโน้ตก่อนที่จะนำมารวมกันได้ นอกจากนี้ด้วยธรรมชาติของข้อมูลที่จะมี “Variation” หรือความแปรปรวนเกิดขึ้นเล็กน้อยทำให้เมื่อนำมาแปลเป็นเสียงเพลงแล้วเกิดเป็นจังหวะ Harmonic ขึ้นซึ่งทำให้เสียงที่ได้เป็นธรรมชาติต่อหูมากขึ้น

นอกจากนี้เรายังสามารถนำสีของมหาสมุทรที่เกิดจากแพลงตอนมาแปลงเป็นเสียงได้อีกด้วย นักวิทยาศาสตร์ได้นำภาพถ่ายดาวเทียมจากทะเลเบริงที่อยู่ที่มหาสมุทรแปซิฟิกมาแปลงเป็นเสียงเพลงโดยนำสีต่าง ๆ ที่ได้จากภาพมาแปลงเป็นเสียงก่อนที่จะนำไปรวมกัน โดยให้สีฟ้าและสีเขียวซึ่งเป็นสีของมหาสมุทรและสีของ Phytoplankton เป็น Low Note ส่วนสีแดงนั้นให้เป็นเสียง Melody และด้วยลักษณะทางสมุทรศาสตร์เอง เมื่อสีหนึ่งมีความเข้มขึ้น อีกสีก็จะมีความเข้มน้อยลง ทำให้เกิดเป็นจังหวะ Harmonic ขึ้น คล้ายกับเพลงจริง ๆ

เสียงดนตรีจากทะเลเบริง – ที่มา NASA

ไม่ได้มีเพียงภาพถ่ายดาวเทียมที่สามารถนำมาแปลงเป็นเสียงเพลงได้เท่านั้น ข้อมูลดิบจากดาวเทียมสำรวจโลกอย่างข้อมูลสเปกตรัมของแสงก็สามารถนำมาแปลงเป็นเสียงดนตรีได้เช่นกัน โดยนักวิทยาศาสตร์นำข้อมูลสเปกตรัมของแสงเฉลี่ย 32 วันทั่วโลกของ Chlorophyll-a ซึ่งเป็น Chlorophyll ที่แพลงตอนและปะการังใช้ในการสังเคราะห์แสงที่เก็บได้จากดาวเทียม Aqua-MODIS มาเป็นปีนำมาแปลงเป็นเสียงเพลง

เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงของสเปกตรัมของแสงโดยเฉลี่ยนั้นเล็กน้อยมากและค่อยเป็นค่อยไปตามฤดูกาลทำให้เสียงเพลงที่ได้นั้นค่อนข้างแตกต่างจากการนำภาพถ่ายดาวเทียมมาแปลงเป็นเสียงเพลงโดยตรงเลย

เสียงดนตรีของมหาสมุทรโลก – ที่มา NASA

นอกจากวิธีการนำภาพถ่ายดาวเทียมหรือข้อมูลการสำรวจต่าง ๆ มาแปลงเป็นเสียงเพลงตามตัวข้อมูลแล้ว เรายังสามารถนำการเปลี่ยนแปลงของข้อมูลในที่ ๆ เดียวกัน (Data Offset) มาแปลงเป็นเสียงเพลงได้ด้วยเช่นกัน เนื่องจากมันเป็นข้อมูลที่มาจากแหล่งเดียวกันเป๊ะ ๆ หมายความว่าข้อมูลมันจะใกล้เคียงกัน แต่ไม่เหมือนกันทีเดียว ทำให้เราสามารถสร้างจังหวะของเสียงจากความแตกต่างนี้ได้

ยกตัวอย่างเช่นการนำภาพถ่ายดาวเทียมในมหาสมุทริอินเดีย เลือกพื้นที่ ๆ หนึ่งมาแล้วก็นำข้อมูลในแต่ละวันมาทำเป็นเสียงจังหวะ ๆ หนึ่ง จากนั้นจึงเอาเสียงจังหวะที่ได้จากแต่ละวันมาต่อกันก็จะได้เป็นจังหวะเสียงเพลงแล้ว

เสียงดนตรีจากมหาสมุทรอินเดีย – ที่มา NASA

จะเห็นได้ว่าวิทยาศาสตร์กับศิลปะนั้นแยกออกจากกันแทบไม่ได้เลย เมื่อเราสามารถทำศิลปะให้เป็นวิทยาศาสตร์ได้ วิทยาศาสตร์ก็สามารถนำมาทำเป็นศิลปะได้เช่นกัน

เรียบเรียงโดย ทีมงาน SPACETH.CO

อ้างอิง

Chief Science | A 20-year-old biologist with a passion for space exploration, science communication, and interdisciplinarity. Dedicated to demystifying science for all - Since 2018.