SPACE*LAB

SEASON 1

Space Lab: Season 1 คือกิจกรรมการสอนวิชาอวกาศออนไลน์ (Online Space Education) ที่จัดขึ้นระหว่างช่วง Lock-down ในสถานการ COVID-19 เป็นการเรียนทั้งหมด 5 คลาสออนไลน์ และ 1 คลาสออฟไลน์

165

การลงทะเบียน

100

ชั่วโมงการสอน

ฟรีสำหรับเยาวชน

เปิดให้เยาวชนที่สนใจได้ลงทะเบียนร่วมฟรี

มีใครร่วมสอนบ้าง

แนวคิด Space Lab เริ่มขึ้นโดย ดร.โพธิวัฒน์ งามขจรวิวัฒน์ ผู้ร่วมก่อตั้งบริษัทอวกาศ Space Zab บริษัทอวกาสสัญชาติไทย ซึ่งมีประสบการณ์ในการทำงานด้านอวกาศ และเป็นพันธมิตรกับหน่วยงานอวกาศทั่วโลก ต้องการที่จะถ่ายทอดความรู้ด้านการทำงานอวกาศ ในแง่ของกระบวนการคิด ให้กับเยาวชน โดยเน้นให้อวกาศเชื่อมโยงเข้ากับสิ่งรอบตัว

จึงร่วมกับสเปซทีเอช (Spaceth) สื่อออนไลน์ด้านอวกาศที่มีผู้ติดตามกว่าสามแสนคน ในการร่วมพัฒนาแพลตฟอร์มการเรียนรู้ผ่านทางออนไลน์ โดยได้รับความร่วมมือจาก ทั้ง JAXA (หน่วยงานสำรวจอวกาศญี่ปุ่น) มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี และ Freak Lab ห้องวิจัยแห่งอนาคต รวมวิทยากรมากกว่า 10 รายจากสถาบันชั้นนำ

แนวคิดในการออกแบบเนื้อหา

เนื่องจากเนื้อหาในห้องเรียนทำให้อวกาศกลายเป็นสิ่งที่อยู่ไกลตัว และมีความซับซ้อน ต้องเข้าใจสมการ ตัวเลข และทฤษฎีต่าง ๆ ทำให้เยาชนอาจมองอวกาศเป็นเรื่องน่าเบื่อ ซับซ้อน แต่จริง ๆ แล้ว การทำงานอวกาศเน้นความช่างสังเกต และการประยุกใช้ความรู้รอบตัวเป็นหลัก

โจทย์ในการทำงานอวกาศสามารถเริ่มจากการสังเกตรอบตัว เช่น เราจะสื่อสารกับเพื่อนในอวกาศอย่างไร ? ปลูกต้นไม้ในอวกาศรากจะงอกไปทางไหน ? สร้างบ้านบนอวกาศต่างจากบนโลกอย่างไร ? จะออกแบบส้วมในอวกาศได้ไหมถ้าไม่มีน้ำ ? ซึ่งการคิดจากปัญหาเป็นหลัก จะช่วยกระตุ้นให้เยาวชนอยากหาคำตอบ

และด้วยคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญที่ผ่านการทำงานจริงในระดับโลก จะช่วยทำหน้าที่ “ผู้ชี้ทาง” มากกว่า “ผู้สอนเนื้อหา” ทำให้ Space Lab เป็นเหมือนห้องทดลองที่ทุกคนมาช่วยกันแก้ปัญหาที่ซับซ้อน ด้วยความหลากหลายทางการคิด

เนื้อหาออนไลน์

TALK LIKE
ASTRONAUT

25 พฤษภาคม 2020 / 30 ผู้เข้าร่วม

ในกิจกรรมนี้ จะฝึกผู้เข้าร่วม ทำกิจกรรมด้วยขั้นตอนการฝึกแบบนักบินอวกาศ ให้ลองสื่อสารโดยใช้การส่งผ่านด้วยข้อความเสียงเท่านั้นเพื่อทำภารกิจ ดังนั้นแล้วหลังจากเข้าร่วมกิจกรรมนี้ ผู้เข้าร่วมจะได้พัฒนาทักษะการสนทนา สื่อสาร ด้วยเทคนิคลับของนักบินอวกาศทีเดียว

เนื้อหาโดย ดร.วเรศ จันทร์เจริญ / ดร.สุกฤต สุจริตกุล / นิศาชล คำลือ

SPACE
PLANT

15 มิถุนายน 2020 / 21 ผู้เข้าร่วม

ต้นไม้และพืชได้วิวัฒนาการมาหลายล้านปีบนโลกให้สามารถเติบโตได้แทบทุกบริเวณที่มีดินไม่ว่าจะเป็นร่องคอนกรีตบนฟุ้ตบาทหรือช่องวางบนกำแพงอิฐหนึ่งในตัวแปรสำคัญที่เอื้อให้พืชสามารถเติบโตที่ไหนก็ได้นั่นคือความสามารถในการพาลำต้นขึ้นไปหาแสงแดดและนำรากลงไปในดินไม่ว่าเมล็ดและลำต้นจะถูกฝังในจุดไหนก็ตาม ใน Space Lab รอบนี้เราจะมาทดลองและสังเกตปรากฏการณ์นี้กัน

เนื้อหาโดย ดร.ชัยรัตน์ ตรีทรัพย์สุนทร / ดร.โพธิวัฒน์ งามขจรวิวัฒน์ / นิศาชล คำลือ

LITTLE
HOUSE IN THE
UNIVERSE

28 มิถุนายน 2020 / 37 ผู้เข้าร่วม

ใน Episode นี้จะพูดถึงการประกอบชิ้นส่วนอย่างง่าย เพื่อสร้างเป็นโครงสร้างบ้าน บนดวงจันทร์หรือดาวอังคาร โดยคำนึงถึงความแข็งแรงเมื่อเจอลมพายุ อุกกาบาต ซึ่งเราจะทำขนาดใหญ่พอที่จะให้ผู้เล่นเข้าไปนั่งในบ้านได้เลย ตรียมตัวพวกเรา ในการเป็นพลเมืองของยุคอวกาศในอนาคต เราจะได้ออกแบบบ้าน เป็นของเราเองได้ในอาณานิคมดวงจันทร์ หรือ ดาวอังคาร ก่อนสมัคร Episode นี้ ต้องเตรียมตัวเตรียมใจ เตรียมพื้นที่และอุปกรณ์ให้ดี

เนื้อหาโดย ดร.สุกฤต สุจริตกุล / ดร.วเรศ จันทร์เจริญ / นิศาชล คำลือ

HOME
SPACE FOOD

12 กรกฏาคม 2020 / 24 ผู้เข้าร่วม

Space Lab ในตอนนี้จะชวนทุกคนมาลองทำ Astronaut Pudding กันที่บ้าน และมาคุยกันเรื่องวิทยาศาสตร์ในอาหารอวกาศ พูดคุยกับนักวิทยาศาสตร์ นักวิจัย จาก Space Zab ที่กำลังพัฒนาอาหารไทยบนอวกาศ

เนื้อหาโดย ชนินาถ วัฒนศักดิ์ / ดร.โพธิวัฒน์ งามขจรวิวัฒน์ / นิศาชล คำลือ

SPACESHIT

19 กรกฏาคม 2020 / 23 ผู้เข้าร่วม

ปิดมุมมองความคิดวิทยาศาสตร์ในเรื่องที่ยากกว่าที่คิด ไม่ใช่แค่เรื่องขี้ ๆ ใน Workshop เราจะมาพูดคุย อวดแบบของแต่ละคน แล้วเรามาวิเคราะห์แบบ โดยนักฟิสิกส์และวิศวกรอวกาศ ถึงความเป็นไปได้ เราจะได้เข้าใจแนวคิดของการออกแบบส้วมบนอวกาศรวมถึงในสภาวะแรงโน้มถ่วงน้อยอย่างบนดวงจันทร์

เนื้อหาโดย จิรสิน อัศวกุล / ดร.โพธิวัฒน์ งามขจรวิวัฒน์ / สิรภพ สันติรณรงค์ / นิศาชล คำลือ

เนื้อหาออฟไลน์

CULTIVATING
LUNAR
CIVILIZATION

8 สิงหาคม 2020 / จำกัดจำนวนผู้เข้าร่วม 15 คน / Dek-D เอื้อเฟื้อสถานที่

ผู้คนสวมใส่อะไรเมื่ออาศัยอยู่บนดวงจันทร์? ในเวิร์คช็อปนี้เราจะพัฒนาแนวคิดและปลดปล่อยจิตนาการเพื่อสร้างสรรคอารยธรรมบนดวงจันทร์ผ่านการออกแบบเครื่องแต่งกาย พร้อมกับทำความเข้าใจวิวัฒนาการทางด้านวัฒนธรรมอวกาศ

เนื้อหาโดย Juliah S. Champion

เดินหน้าสู่ Season ถัดไป

ในกิจกรรม Space Lab เราได้เห็นถึงโอกาสในการพัฒนาเยาชนไทยด้วยเนื้อหาการเรียนการสอนอวกาศ (Space Education) รูปแบบใหม่ที่แปลกตาไปจากการเรียนในห้องปกติ ซึ่งผลจากโครงการ Space Lab Season 1 ช่วยให้เราสามารถปรับปรุงเนื้อหา และการเข้าถึงกลุ่มเยาชนให้ได้มากขึ้น พร้อมร่วมมือกับหน่วยงานเอกชน มหาวิทยาลัย และสถาบันการศึกษาตั้งแต่ระดับมัธยมไปจนถึงมหาวิทยาลัย ในการนำเนื้อหาระดับโลก สู่สมองของเยาวชนไทย เพื่อกระตุ้นกระบวนการคิด การแก้ไขปัญหา และทักษะสำหรับการใช้ชีวิตในโลกเทคโนโลยี