Boeing 747 ที่ยิงจรวดได้ของ Virgin Orbit เมื่อ Virgin เล่นธุรกิจปล่อยดาวเทียม

ช่วงนี้ธุรกิจการปล่อยดาวเทียมกำลังมาแรง หลังจากที่เมื่อปี 2015 SpaceX ของ Elon Musk ได้เปิดสงครามกับบริษัทอวกาศเอกชนด้วยความสำเร็จในการนำจรวด Falcon 9 กลับมาลงจอดเป็นครั้งแรก ตอนนี้หนึ่งธุรกิจที่น่าจับตามองก็คือการรับจ้างปล่อยดาวเทียม ซึ่งปัจจุบันมีราคาถูกมาก ทำให้เกิดธุรกิจใหม่ ๆ อีกหลาย ๆ อันตามมา บริษัท Startup สามารถพัฒนาดาวเทียมและปล่อยขึ้นไปได้ด้วยต้นทุนที่ไม่สูงมากเหมือนเมื่อก่อนที่การสำรวจอวกาศหรือบริการดาวเทียมจำเป็นต้องมาจากบริษัททุนหนาเท่านั้น

หลายคนคงจะรู้จัก Richard Brandson เจ้าของธุรกิจเครือ Virgin ที่มีตั้งแต่ สายการบิน, ฟิตเนส และการท่องอวกาศของ Virgin Galactic แต่อีกหนึ่งธุรกิจด้านอวกาศของ Virgin เลยก็คือ Virgin Orbit ที่เน้นการปล่อยดาวเทียมและให้บริการลูกค้าองค์กร ซึ่งจะแตกต่างจาก Galactic ที่เน้นพาคนไปท่องอวกาศ

Cosmic Girl และ LauncherOne

เมื่อวันที่ 24 ตุลาคม 2018 เครื่องบิน Boeing 747 ที่ Virgin ตั้งชื่อว่า “Cosmic Girl” หรือ สาวน้อยอวกาศได้ทำการทดสอบเชื่อมต่อเข้ากับจรวด ณ สนามบิน Long Beach มลรัฐแคลิฟอร์เนีย จรวดที่ชื่อว่า LauncherOne นี้ออกแบบโดย Virgin Orbit ซึ่งทำการทดสอบความพร้อมต่าง ๆ ก่อนเปิดให้บริการลูกค้าจริง ๆ ซึ่งการทดสอบครั้งนี้สร้างความตื่นตาตื่นใจ แม้ว่าทั้งคู่จะยังไม่ได้บินขึ้นจริง ๆ ก็ตาม

จรวด LauncherOne ถูกนำเข้ามาติดใต้ปีกของ Boeing 747 รุ่นพิเศษ ในเที่ยวบินทดสอบครั้งแรกที่แคลิฟอร์เนีย ที่มา – Virgin Orbit

จรวด LauncherOne เป็นจรวดที่ใช้เชื้อเพลิงแบบ RP-1 Kerosene เผาไหม้กับออกซิเจนเหลว ซึ่งเป็นเชื้อเพลิงจรวดที่พบเห็นได้ทั่วไปแบบเดียวกับที่ใช้กับ Merlin Engine ของ Falcon 9 ซึ่งเครื่องยนต์ของ LauncherOne มีชื่อว่า NewtonThree  แผนการของ Virgin Orbit คือการติดจรวด LauncherOne นี้เข้าใต้ปีกของ Boeing 747-400 แล้วปล่อยลงมาจากความสูง 35,000 ฟุต แล้วจุดตัวจรวดที่บรรทุกตัวดาวเทียมขึ้นสู่อวกาศ โดยเครื่องยนต์จะจุดเป็นเวลาประมาณ 3 นาที ก่อนที่จรวดท่อนที่สองจะแยกตัวออก และทำการ Burn ต่อเป็นเวลาประมาณ 6 นาที  เพื่อพาดาวเทียมไปยังวงโคจรที่ออกแบบไว้

สำหรับวิธีการนี้สาเหตุที่สำคัญที่มีการเลือกปล่อยจรวดจากเครื่องบินก็คือ

  • จรวดไม่ต้องมีขนาดใหญ่มาก ประหยัดต้นทุน เนื่องจากเครื่องบินใช้ซ้ำได้ แต่จรวดใช้ซ้ำไม่ได้
  • สามารถบินไปปล่อยที่ไหนก็ได้ของโลก ตามการออกแบบวงโคจร
  • ตามหลักการออกแบบเครื่องยนต์จรวด เครื่องยนต์ที่ใช้บริเวณผิวโลกกับบนชั้นบรรยากาศที่สูงขึ้นไปจะมีลักษณะแตกต่างกัน เนื่องจากความดันบรรยากาศไม่เท่ากัน การจุดเครื่องยนต์ทีเดียวบนชั้นบรรยากาศที่มีความเบาบางจะช่วยลดต้นทุนการออกแบบเครื่องยนต์และความซับซ้อนได้

ขนาดของจรวด LauncherOne เมื่อเทียบกับตัวคน ที่มา – Virgin Orbit

ตามที่ Virgin Orbit ระบุไว้ Launcher One จะสามารถส่งดาวเทียมขนาด 300 – 500 กิโลกรัมขึ้นสู่วงโคจรโลกได้อย่างสบาย ๆ และด้วยขนาดของ Payload Firing ที่สูงสุด 3.5 เมตร เมตร และกว้าง 1.2 เมตร ทำให้มันสามารถบรรทุกดาวเทียมขนาดกลาง หรือสามารถบรรทุก Adapter สำหรับปล่อย CubeSat ได้หลาย ๆ ดวง

เห็นแบบนี้แล้ว คงไม่ต้องให้บอกว่าคู่แข่งของ Virgin Orbit คือจรวดของอินเดีย ซึ่งก่อนหน้านี้อินเดียได้โชว์โหดปล่อยดาวเทียมกว่าร้อยดวงในการปล่อยครั้งเดียวกันด้วยการฝากไว้ในส่วน Secondary Payload แล้ว และจรวด Falcon 9 ของ SpaceX ก็มีความสามารถในการบรรทุก Secondary Payload เช่นกัน

ตัวจรวด LauncherOne ในโรงงานของ Virgin Orbit ที่มา – Virgin Orbit

อันที่จริงแล้วจรวด LauncherOne นั้นนับว่ามีขนาดใหญ่พอสมควร มีเส้นผ่านศูนย์กลาง 1.8 เมตร และสูงถึง 16 เมตร ด้วยเหตุนี้มันจึงต้องถูกปล่อยด้วยเครื่อง 747 แต่อย่างไรก็ตามการปล่อยจรวดจากเครื่องบินนั้นไม่ใช่เรื่องใหม่

การปล่อยจรวดจากเครื่องบิน

ที่บอกว่าการปล่อยจรวดจากเครื่องบินนั้นไม่ใช่เรื่องใหม่ เพราะมันมีมาตั้งแต่ยุคหลังสงครามโลกครั้งที่สองแล้ว เครื่องบิน X-15 ก็นับได้ว่าเป็นหนึ่งในจรวดแบบ Sub-orbital ที่ปล่อยจากดาวเทียม จนมาในยุคของการปล่อยดาวเทียมและยานอวกาศจริง ๆ ก็จะมี จรวด Pegasus ของ Orbital Science ที่เป็นจรวดเส้นผ่านศูนย์กลาง 1.27 เมตร และสูง 17 เมตร (ขนาดพอ ๆ กับ LauncherOne) ที่ปล่อยลงมาจากเครื่องบินเหมือนกัน ซึ่งก็สามารถปล่อยได้จากหลายรุ่น ตั้งแต่ B-52 ไปจนถึงเครื่องบิน L-1011 Stargazer ที่เราจะคุ้นชินกับภาพการปล่อยมากกว่า

จรวด Pegasus ถูกปล่อยจาก L-1011 Stargazer ที่มา – NASA/Orbital Science

หรืออีกหนึ่งโครงการ ที่น่าสนใจก็คือ Stratolaunch โครงการของคุณ Paul Allen ผู้ร่วมก่อตั้ง Microsoft ผู้ล่วงลับ ที่ใช้เครื่องบินที่มีขนาดปลายปีกด้านนึงจรดด้านนึงกว้างที่สุดในโลก ความพิเศษของมันคือเครื่องลำนี้จะมี 2 fuselage โดยหวังจะใช้เทคนิคเดียวกันก็คือการติดจรวดไว้ตรงกลางเครื่องบิน แล้วปล่อยออกมา

เครื่องบินยักษ์ของ Stratolaunch ที่มา – Stratolaunch

สำหรับของ Stratolaunch นั้นยังไม่มีการทดสอบบินจริงแต่อย่างใด รวมถึงรายละเอียดต่าง ๆ ก็ยังคงเป็นแผนและทดสอบอยู่ ถ้านับเทคนิคการปล่อยจรวดจากเครื่องบินแล้ว ผู้ที่มีประสบการณ์มากที่สุดก็น่าจะเป็น Orbital ที่ปัจจุบันก็ยังเป็นเพียงเจ้าเดียวที่ประสบความสำเร็จและใช้งานได้จริงในทาง commercial อยู่

อนาคตของการแข่งขันธุรกิจปล่อยดาวเทียม

อย่างที่บอกไปว่าปัจจุบันการปล่อยดาวเทียมไม่ใช่เรื่องอยากอีกแล้ว เราเพียงแค่จดทะเบียนตามกฏหมายสากลและกฏหมายแต่ละประเทศ, เลือกผู้ให้บริการแล้วทำการปล่อยขึ้นไปได้โดยใช้งบจำนวนหนึ่งที่ไม่สูงเท่าเมื่อก่อน (แม้ว่างบการปล่อยจะมากกว่ามูลค่าจริง ๆ ของดาวเทียมในบางครั้ง) แต่ก็เปิดโอกาสให้เกิดธุรกิจใหม่ ๆ ที่ไม่เคยมีมาก่อนโดยเฉพาะพวก Startup สายอวกาศที่เมื่อก่อนดูเหมือนว่าจะเป็นไปไม่ได้

สิ่งที่น่าจับตามองคือตลาด ก่อนหน้านี้ผู้เขียนเคยเขียนบทความเรื่อง SPACETH.CO 

Technologist, Journalist, Designer, Developer - 21, I believe in anti-disciplinary. Proud to a small footprint in the universe. For Carl Sagan.