สรุปและวิเคราะห์การส่งจรวดในปี 2020 ไม่หวั่นแม้เจอ COVID-19

หลังจากที่ได้รับชมภารกิจส่งจรวดเที่ยวบินสุดท้ายของปี 2020 กันไปแล้วที่จบไปด้วยภารกิจการส่งดาวเทียม Composante Spatiale Optique 2 ซึ่งเป็นดาวเทียมทางการทหารของกองทัพฝรั่งเศส ในปี 2020 นี้ทั่วโลกก็ได้ร่วมกันส่งจรวดขึ้นสู่งวงโคตรกันไปแล้วถึง 114 ภารกิจด้วยกัน

ประกอบกับสภาวะการแพร่ระบาดของ COVID-19 ที่เริ่มระบาดหนักทั่วโลกกันในช่วงประมาณไตรมาสที่ 2 ของปีนี้ ที่ดูเหมือนจะมีผลกระทบต่อวงการการขนส่งอวกาศเหมือนกับแวดวงอื่น ๆ แต่ก็เป็นที่หน้าแปลกใจที่มันไม่ค่อยได้ส่งผลต่อการทำสถิติการส่งจรวดในปีนี้เท่าไหร่ ถ้าเทียบกับปี 2019 ที่ทำสถิติไว้เพียง 102 ภารกิจ และถ้าเทียมกับปี 2018 จะพบว่าเมื่อปีนี้ก็ทำสถิติถึง 114 ภารกิจซึ่งแสดงให้เห็นว่า COVID-19 นั้นไม่ค่อนส่งผลต่อสถิติภารกิจรายปีเท่าไหร่

การส่งจรวดที่ทุกหน่วยงานต้องเผชิญกับปัญหาการแพร่ระบาดของ COVID-19

อย่างที่เราทราบกันดีว่าในปีนี้ทั่วทั้งโลกต้องเผชิญกับปัญหาไวรัส COVID-19 ผลกระบทมันกระจายไปในวงกว้างไม่ว่าจะเรื่องระบบเศษรฐกิจ การเดินทางทั้วภายในและต่างประเทศ การเข้าสู่สถานที่สถานที่ต่าง ๆ ที่ต้องมีมาตราการที่เข้มงวดมากขึ้น อาหารการกิน ผลกระทบต่อระบบการศึกษาที่แทบทุกประเทศต้องปรับเปลี่ยนมาเป็นระบบการเรียนแบบออนไลน์ เรียกได้ว่าปัญหา COVID-19 นั้นมีผลกระทบต่อทุกระบบและทุกวงการที่มีอยู่บนโลก และแน่นอนว่ามันมีผลกระทบต่อวงการอุตสาหกรรมจรวดและการขนส่งอวกาศ ในเนื้อหาส่วนนี้จะเป็นการสรุปและวิเคราะห์สถิติในการส่งจรวดภายในปี 2020 รวมถึงตอบคำถามว่า COVID-19 มีผลกระทบมากน้อยแค่ไหนต่อวงการการขนส่งอวกาศ

สถิติการส่งจรวดในแต่ละเดือน (ไม่แบ่งชาติ)

  • มกราคม 7 ภารกิจ
  • กุมภาพันธ์ 9 ภารกิจ
  • มีนาคม 8 ภารกิจ
  • เมษายน 5 ภารกิจ
  • พฤษภาคม 9 ภารกิจ
  • มิถุนายน 7 ภารกิจ
  • กรกฎาคม 14 ภารกิจ
  • สิงหาคม 7 ภารกิจ
  • กันยายน 10 ภารกิจ
  • ตุลาคม 9 ภารกิจ
  • พฤศจิกายน 13 ภารกิจ
  • ธันวาคม 16 ภารกิจ

จากสถิติจะเห็นได้ว่าการส่งจรวดในแต่ละเดือนนั้นดูเป็นเรื่องปกติมาก ๆ เหมือนไม่มีอะไรเกิดขึ้น ซึ่งถ้าสมมติเราเอามาเขียนเป็นกราฟจะเห็นได้ว่าอัตราการส่งจรวดนั้นไม่ได้มีรูปร่างแบบกราฟ exponential ซึ่งหลาย ๆ คนอาจจะถามว่าทำไมไม่เป็นเช่นนั้น คำตอบก็คือการส่งจรวดนั้นมีตารางที่ไม่แน่นอน (แต่ตารางการส่งนั้นค่อนข้างจะแน่นอนนะ) เพราะเนื่องจากในแต่ละช่วงเวลาจะมีคนที่ต้องการส่ง paylaod ของตัวเองที่แตกต่างกันออกไป บางครั้งมีมากบางครั้งมีน้อย ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับโชคด้วยว่ามีใครอยากส่งอะไรมากน้อยแค่ไหน ซึ่งก็ถือว่าปกติมา ๆ ของวงการนี้

สถิติการส่งจรวดในแต่ละประเทศ

ตารางแสดงสถิติการส่งจรวดของแต่ละประเทศในปี 2020 ที่มา – Wikipedia

จากตารางนั้นเราจะเห็นอยู่สองชาติหลัก ๆ ที่ทำสถิติการส่งจรวดได้มากที่สุดนั้นคือสหรัฐอมเริกาและประเทศจีน โดยในส่งของสหรัฐอเมริกาคิดเป็น 38.6% ของการส่งทั้งหมดโดยประสบความสำเร็จเพียง 35.09% ในส่วนของประเทศจีนคิดเป็น 34.21% ของการส่งทั้งหมดโดยประสบความสำเร็จเพียง 30.7% ถือว่าเป็นสองชาติใหญ่ที่มีสถิติการส่งจรวดสู่สีกันแบบนี้มาตั้งแต่ปี 2018 ซึ่งปล่อยให้จีนทำสถิตินำอยู่สองปี (ปี 2018 จีนส่งจรวด 39 ภารกิจ สหรัฐอมเริกาส่งจรวด 34 ภารกิจ ปี 2019 จีนส่งจรวด 34 ภารกิจ สหรัฐอมเริกาส่งจรวด 27 ภารกิจ)

จากข้อมูลทางสถิติจะเห็นได้ว่าไม่กี่ปีที่ผ่านมานี้ทำให้เราทราบได้ว่าทางจีนเองก็มีความต้องการที่จะเข้ามาเล่นในวงการอวกาศเช่นเดียวกันกับสหรัฐอเมริกา โดยสิ่งที่จีนส่งขึ้นไปตลอด 3 ปีที่ผ่านมานี้ส่วนใหญ่เป็น payload ทางวิทยาศาสตร์นั่นยิ่งแสดงให้เห็นว่าทางจีนเองก็มีความสนใจในการในงานวิทยาศาตร์ที่เกี่ยวข้องกับอวกาศ ประกอบกับทางจีนก็ได้มีประกาศโครงการที่จะพามนุษย์ไปสำรวจดวงจันทร์เหมือนกับสหรัฐอเมริกา จึงไม่แปลกใจที่เราจะเห็นจีนในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมานี้ส่งของขึ้นสู่อวกาศถี่ขึ้นเพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมของการเดินทางไปสู่ดวงจันทร์

ภาพ render หากจีนไปตั้งฐานปฏิติบัติภารกิจบนดวงจันทร์ ที่มา – Luna society intenational

ในส่วนของภารกิจที่ไม่ประสบความสำเร็จทั้ง 10 ภารกิจนั้นคิดเป็น 8.77% ของภารกิจทั้งหมด ซึ่งถึงว่ามากกว่าปี 2019 ที่ไม่ประสบความสำเร็จ 5 ภารกิจจาก 102 ภารกิจ และถ้าย้อนกลับไปปี 2018 ที่ทำสถิติภารกิจเท่ากันจะพบว่ามีภารกิจที่ไม่ประสบความสำเร็จเพียง 3 ภารกิจ (แบ่งเป็นล้มเหลว 2 ภารกิจและล้มเหลวบางส่วน 1 ภารกิจ) ซึ่งคิดเป็น 2.63% เห็นได้ว่าไม่ประสบความสำเร็จน้อยกว่าปี 2020 พอสมควร โดยปัญหานี้ทางผู้เขียนคาดว่าเกิดจากปัญหา COVID-19 ที่ทำบุคลากรในวงการนี้ให้ไม่สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพเทียบเท่ากับปีก่อน ๆ จึงอาจผิดพลาดในการตรวดสอบตัว hardware ที่ใช้ส่งอย่างจรวด

สำหรับผลกระทบจาก COVID-19 ในปีนี้นั้นมีอีกอย่างหนึ่งนั่นคือการเลื่อนการส่งจรวดในหลาย ๆ ภารกิจ จริง ๆ แล้วถ้าเช็คตารางการส่งจรวดของปีนี้จะเห็นได้เลยว่าหลาย ๆ ภารกิจนั้นต้องถูกเลื่อนออก ซึ่งก็มีทั้งปัญหาที่ตัว hardware ขณะอยู่บนฐานส่งและถูกเลื่อนเนื่องจากปัญหา COVID-19 โดยเราจะไม่ค่อยได้ยินข่าวการเลื่อนเพราะ COVID-19 มากนักเพราะทุกวันนี้เราสามารถรับชมการถ่ายทอดสดการส่งจรวดได้มากขึ้นกว่าสมัยก่อนทำให้เราสามารถรับรู้ได้ว่าภารกิจไหนเลื่อนไม่เลื่อน (จากการประกาศในการถ่ายทอดสด) ทำให้ข่าวที่เกี่ยวกับภารกิจต่าง ๆ ถูกยกเลิกหรือเลื่อนเนื่องจากปัญหาที่ตัว hardware นั้นแพร่กระจายไปได้เร็ว แต่ไม่ใช่กับปัญหาที่เกิดจาก COVID-19 เพราะมันเป็นงานเบื้องหลังในการจัดตารางเที่ยวบินรวมไปจนถึงการตรวจเช็ค hardware ก่อนนำขึ้นฐานส่งจรวด (ราวกับว่าเป็นเรื่องวงในที่คนนอกไม่ต้องมาห่วงเรื่องพวกนี้) ซึ่งใครจะไปรู้ว่ามันอาจถูกเลื่อนแล้วเลื่อนอีกในช่วงตรวจเช็ค hardware ก่อนจะมา scrub จนถูกเลื่อนภารกิจคาฐานส่งก็ได้ (ฮา) จึงเป็นไปได้ยากที่เราจะรับรู้ว่ามันก็ถูกเลื่อนเพราะปัญหา COVID-19 ได้เช่นกัน

โดยรวมแล้วปัญหาของ COVID-19 ภายในปีนั้นดูเหมือนจะมีผลกระทบพอสมควรต่อวงการขนส่งอวกาศ ที่ไม่ว่าจะเรื่องข้อผิดผิดพลาดต่าง ๆ ขณะภารกิจทำให้จรวดทำงานล้มเหลว หรือแม้แต่การถูกเลื่อนเที่ยวบินเพราะเนื่องจากปัญหาการแพร่ระบาดของ COVID-19 แต่ก็ดูเหมือนว่าปัญหานี้จะไม่ส่งผลการทบต่อสถิติการส่งจรวดมากเท่าไหร่

บริษัทเอกชนที่หลาย ๆ คนอาจไม่คุ้นหน้าได้ส่งจรวดในปีนี้เป็นครั้งแรก

การส่งจรวดในยุคต่อจากนี้มันเปลี่ยนไปแล้ว ต่อจากนี้อวกาศจะไม่ใช่ที่ของรัฐบาลหรือหน่วยงานทหารเพียงอย่างเดียว อวกาศยุคสมัยใหม่จะเป็นพื้นที่ที่หน่วยงานเอกชนเข้ามามีบทบาทต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นการขนส่งหรืองานวิจัยทางวิทยาศาสตร์กันมากขึ้น แต่ก็ยังขาดกันสนับสนุนที่มีประสิทธิภาพจากภาครัฐไปไม่ได้อยู่ดี ดังนั้นภาครัฐก็ยังมีความสำคัญอยู่ดีเพียงแต่มีการปรับเปลี่ยนบทบาทกันนั่นเอง (ถ้าภาครัฐทำงานและให้การสนับสนุนอย่างมีประสิทธิภาพ…ล่ะนะ (?)) ในเนื้อหาส่วนนี้จึงจะพาทุกคนมาลงลึกถึงบริษัทเอกชนที่เริ่มเข้ามามีบทบาทในวงการการขนส่งอวกาศ

เป็นเรื่องปกติที่ในครั้งแรก ๆ เราจะได้ยินข่าวที่บริษัทหน้าใหม่ ๆ ไม่ประสบความสำเร็จในการนำจรวดของตัวเองขึ้นสู่วงโคจร ซึ่งไม่ใช่เรื่องทีน่าแปลกใจอะไรเพราะบริษัทการขนส่งอวกาศเอกชนที่เราจะคุ้นหน้าคุ้นตาดีอย่าง SpaceX ก็ไม่ประสบความสำเร็จในการนำจรวดของตัวเองขึ้นสู่วงโคจรในสมัยที่เริ่มก้าวเข้ามาเล่นในวงการนี้เช่นกัน แต่อย่างไรก็ตาม คนที่จะเข้ามาเล่นในวงการนี้ก็ต้องเผื่อใจในเรื่องนี้กันอยู่แล้ว

บริษัทเอกชนที่น่าจับตามองสำหรับปีนี้ก็คงจะหนีไม่พ้น Astra บริษัทขนส่งอวกาศสัญชาติอเมริกันที่ก่อตั้งเมื่อปี 2004 (ก่อตั้งโดยคุณ Chris Kemp และคุณ Adam London) โดยตลอดระยะเวลากว่า 16 ปีที่ผ่านมานี้ ในปีนี้ก็เป็นปีแรกที่เราจะได้เห็น Astra ส่งจรวดของตัวเองขึ้นสู่วงโคจร สำหรับปีนี้เราจะเห็นอยู่ 2 ภารกิจด้วยกันประกอบไปด้วย Rocket 3.1 และ Rocket 3.2 โดยจะเป็นการส่งจรวดตระกูล Rocket 3 ทั้ง 2 ภารกิจ

ภาพการส่งจรวด Rocket 3 ในภารกิจ rocket 3.2 ที่มา – Twitter @Astra

โดยสำหรับในภารกิจ Rocket 3.1 นั้นไม่ประสบความสำเร็จในการส่งขึ้นสู่วงโคจรซึ่งมีสาเหตุมากจากเครื่องยนต์ของจรวดท่อนแรกทำงานผิดปกติทำให้เอาหัวโหม่งพื้นโลกโลกไปในที่สุด ซึ่งเป็นเรื่องที่ยอมรับกันได้ในครั้งแรก ๆ ตามที่ได้กล่าวไปก่อนหน้า เพราะทุกคนที่อยู่ในวงการนี้ต่างพูดเป็นเสียงเดียวกันว่า “Space is hard.” และการจะนำจรวดของสู่วงโคจรได้นั้นก็เป็นเรื่องที่ยากเช่นกัน

ในส่วนของภารกิจ Rocket 3.2 นั้นก็ได้รับผลกระทบจาก COVID-19 ที่ทำให้การส่งนั้นต้องล่าช้าออกไปหลายเดือน แต่อย่างไรก็ตามภารกิจนี้เป็นเที่ยวบินแรกที่จรวดตระกูล Rocket 3 ประสบความสำเร็จในการบินขึ้นสู่วงโคจร ซึ่งถือเป็นความสำเร็จครั้งใหญ่ของ Astra ที่เป็นสัญลักษณ์ที่บ่งบอกว่า Astra นั้นพร้อมที่จะส่ง payload ขึ้นสู่อวกาศ โดยจะทำการทดสอบครั้งสุดท้ายกันในภารกิจ Rocket 3.3 ที่เราอาจจะได้เห็นการในช่วงปีหน้าก่อนที่จะได้เห็นจรวดรุ่นใหม่ ๆ ของ Astra ที่จะใช้สำหรับการส่ง payload จริงขึ้นไป

Virgin Orbit บริษัทขนส่งอวกาศสัญชาติอเมริกันที่ก่อตั้งเมื่อปี 2007 สำหรับปีนี้ได้มีการส่งจรวด LauncherOne ครั้งแรก เป็นการส่งจรวดรูปแบบจากอากาศสู่วงโคจร (Air-launch-to-orbit) ที่ต้องติดตั้งขึ้นไปกับตัวเครื่องบินก่อนที่จะนำขั้นไปปล่อยในอากาศเพื่อเป็นการลดขนาดและน้ำหนักในการส่งถ้าเทียบกับการส่งที่พื้นโลก ในเที่ยวบินนี้ Virgin Orbit ไม่ประสบความสำเร็จในการส่ง LauncherOne เพราะเนื่องการปัญหาที่ออกซิเจนเหลวไม่ไหลเข้าสู่เครื่องยนต์ของจรวดท่อนแรกทำให้การทำงานของเครื่องยนต์ดับลงในเวลาต่อมา

จรวด LauncherOne ขณะถูกปลดออกจาก Cosmic Girl (เครื่องบินในรูป)

ทางฝั่งของประเทศจีนก็มีเช่นกันนั่นคือ Galactic Energy บริษัทขนส่งอวกาศสัญชาติจีนที่ก่อตั้งเมื่อปี 2018 ซึ่งในปีนี้ก็เป็นปีแรกที่ทาง Galactic Energy ได้ส่งจรวด Ceres-1 ซึ่งเป็นจรวดต้นทุนต่ำที่เป็นจรวดเชื้อเพลิงแข็ง 4 ท่อน แต่ในภารกิจการส่งครั้งแรกนี้มีการติดตั้งไปแค่ 3 ท่อนเพื่อให้ส่งของให้ถึงตำแหน่งที่ต้องการและประสบความสำเร็จในการส่งครั้งแรก

ภาพเที่ยวบินแรกของจรวด Ceres-1 ที่มา NASA Spaceflight

นอกจากนี้เราก็จะเห็นบริษัทเอกชนหน้าเดิม ๆ ที่อยู่ในวงการนี้มาก่อนอยู่แล้วอย่าง spaceX, ULA, Rocket Lab หรือ Mitsubishi เป็นต้น หรือไม่ก็พวกหน่วยงานรัฐต่าง ๆ เช่น CASC จากจีน, Roscosmos จากรัสเซีย หรือแม้แต่ ISRO จากอินเดีย

เรียบเรียงโดย ทีมงาน Spaceth.co

19 y/o Just mechanical engineering student, hobbyist illustrator || เด็กวิศวะหัดเขียนเรื่องราวในโลกของวิศวกรรมการบินอวกาศ