หลายคนคงจะจำเรื่อง 2001: space Odyssey ได้ว่าจะมี AI ที่ชื่อว่า HAL900 คอยเป็นตัวช่วยงานนักบินต่าง ๆ แต่สุดท้ายแล้ว HAL ก็ดันคิดเองและไม่ฟังคำสั่งของนายมันซะงั้น “Sorry, Dave, I’m afraid I can’t do that” หรือในหนังเรื่อง Interstellar ที่ NASA ทำการสร้างหุ่นยนต์ขึ้นมาและเดินทางไปในอวกาศเพื่อเป็นเพื่อนนักบินและช่วยงานต่าง ๆ (ซึ่งมันก็แอบน่ากลัว) แต่สิ่งนี้เกิดขึ้นจริงแล้ว เมื่อ เราตัดสินใจส่ง CIMON ซึ่งเป็นหุ่นยนต์ที่ภายในเป็น AI ขึ้นไปอยู่บนสถานีอวกาศนานาชาติร่วมกับนักบินอีกหลายชีวิต ราวกับว่า CIMON เป็นลูกเรือคนนึงของสถานี
สำหรับรูปร่างหน้าตาของ CIMON มันจะเป็นหุ่นยนต์ขนาดถือบนมือได้รูปร่างเป็นทรงจานคล้ายกับจานบิน โดย CIMON จะมีหน้าจอ LED ที่แสดงเป็นหน้าตาบ่งบอกอารมณ์ของมัน (ทำไมดูหลอน) แค่สิ่งที่หลอนไปกว่านั้นก็คือเจ้า CIMON มันจะเคลื่อนที่ไปมาในสถานีได้เองด้วยการสูบอากาศและปล่อยออกมาในทิศทางตรงกันข้ามที่มันต้องการเคลื่อนที่ ทำให้มันสามารถเดินทางไปในสถานีได้ราวกับว่าเป็นลูกเรือคนนึง (โอ้ย พอแล้ว)
พีคไปกว่านั้น ด้วยความที่ว่ามันเป็นเทคโนโลยี AI หรือปัญญาประดิษฐ์นั้นทำให้มันสามารถเรียนรู้พฤติกรรม การใช้ชีวิต และมีปฏิสัมพันธ์กับนักบินอวกาศคนอื่น ๆ ด้วยระบบการพูดคุยด้วยเสียงคล้ายกับ Siri หรือ Google Now แต่ CIMON นี้ผู้ที่พัฒนาระบบการสั่งการด้วยเสียงและการโต้ตอบเป็น IBM
ในรายงานไม่ได้มีบอกว่า ได้ถามความเห็นของนักบินหรือเปล่าว่าอยากได้เพื่อนใหม่ไหม (ฮา) แต่การส่ง CIMON ขึ้นไปนี้เป็นความร่วมมือระหว่างประเทศเยอรมนีกับ DLR Space Administration ที่ต้องการจะทดสอบเทคโนโลยีการช่วยเหลือมนุษย์ในอนาคตในการเดินทางสำรวจอวกาศ
มันจะถูกส่งขึ้นไปในเที่ยวบิน CRS-15 โดยจรวด Falcon 9 และยาน Dragon ของ SpaceX พร้อมกับการทดลองวิทยาศาสตร์ และเบียงต่าง ๆ ที่ถูกส่งขึ้นไปให้กับนักบินบนสถานีอวกาศนานาชาติที่ตอนนี้ประจำการกันอยู่ 6 ชีวิต
CIMON อาจจะเป็นตัวช่วยนักบินในกิจวัตรประจำวันต่าง ๆ ได้เช่น จนบันทึก, แสดงรูปภาพ หรือช่วยเหลืออื่น ๆ แนว ๆ Siri แต่ยังโชคดีที่ CIMON จะยังไม่ถูกเชื่อมเข้ากับระบบคอมพิวเตอร์หลักของสถานี ดังนั้นเราอาจจะยังไม่ต้องกลัวว่า CIMON จะไปปิดประตูไม่ให้ใครเข้ายาน
อ้างอิง