AIRS ยืนยันว่าคลื่นความร้อนแปซิฟิกตะวันตกในทวีปอเมริกาเหนือร้อนสูงสุดถึง 49 องศาเซลเซียส

จากข่าวก่อนหน้านี้ที่ข้อมูลจาก ECOSTRESS และ GEOS ตรวจพบการแผ่รังสี Infrared มากผิดปกติบริเวณชายฝั่งแปซิกฟิกตะวันตกของทวีปอเมริกาเหนือ ส่งผลกระทบถึงชายฝั่งแปซิกฟิกประเทศแคนาดาและอเมริกาตะวันตกเฉียงเหนือนั้น ระบบ AIRS (Atmospheric Infrared Sounder) บนดาวเทียม Aqua ของ NASA ได้ติดตามการเคลื่อนตัวของคลื่นความร้อนดังกล่าวตั้งแต่วันที่ 21 ถึงวันที่ 30 มิถุนายน 2021

อ่านข่าว ECOSTRESS และ GEOS ตรวจพบคลื่นความร้อนอย่างรุนแรงผิดปกติบริเวณชายฝั่งแปซิกฟิกตะวันตกของสหรัฐฯ และแคนาดา

แผนที่แสดงอุณหภูมิอากาศเหนือพื้นดิน 2 เมตรทั่วทวีปอเมริกาเหนือวันที่ 27 มิถุนายน 2021 เปรียบเทียบกับข้อมูลอุณหภูมิเฉลี่ยในวันเวลาเดียวกันเมื่อปี 2014-2020 – ที่มา Earth Observatory, NASA

ข้อมูลจาก AIRS นั้นเป็นข้อมูลอุณหภูมิอากาศเหนือพื้นดินซึ่งแตกต่างจากข้อมูลที่ ECOSTRESS และ GEOS ที่เป็นข้อมูลอุณหภูมิพื้นผิวซึ่งวัดจากการแผ่แสง Infrared ของพื้นผิวแล้วเอามาคำนวณกลับเป็นอุณหภูมิพื้นผิว ถ้าสมมุติว่ามีเหล็กอันหนึ่งที่มีอุณหภูมิสูงมาก ข้อมูลจาก ECOSTRESS และ GEOS จะเปรียบเสมือนอุณหภูมิของเหล็กอันนั้น ส่วนข้อมูลจาก AIRS คือ อุณหภูมิของอากาศเหนือเหล็ก ซึ่งแน่นอนว่ามันต่างกันในแง่ของความรู้สึกที่มนุษย์จะรับรู้ได้ เพราะฉะนั้นข้อมูลอุณหภูมิของ AIRS จะเป็นอุณหภูมิที่เรารู้สึกจริง ๆ นั่นเอง

ภาพจำลองของดาวเทียม Aqua – WikiCommons

โดย AIRS พบว่าอุณหภูมิอากาศในหลาย ๆ พื้นที่บริเวณชายฝั่งแปซิฟิกตะวันตกเฉียงเหนือนั้นได้รับผลกระทบจากคลื่นความร้อนรุนแรงมากจนอุณหภูมิทะลุ 40 องศาเซลเซียวแทบทุกเมือง ในวันที่ 28 มิถุนายน เมือง Quillayute, Washington ทำลายสถิติของตัวเองที่ 37 องศาเซลเซียวด้วยสถิติใหม่ที่ 43 องศาเซลเซียส รัฐ British Columbia ของแคนาดา ทำลายสถิติตัวเองด้วยสถิติใหม่ที่ 48 องศาเซลเซียส ซึ่งต่อมาในวันที่ 29 มิถุนายน อุณหภูมิเฉลี่ยสูงสุดทะลุไปที่ 49 องศาเซลเซียส

วิดีโอแสดงการก่อตัวและการเคลื่อนที่ของคลื่นความร้อนบริเวณชายฝั่งแปซิฟิกตะวันตกของทวีปอเมริกาเหนือ – ที่มา NASA/JPL-Caltech

ซึ่งต้องอย่าลืมว่าทางตอนบนของสหรัฐอเมริการวมถึงแคนาดานั้นเป็นเมืองหนาวทั้งสิ้น อย่าง British Columbia ที่ขึ้นชื่อว่าเป็นหนึ่งในรัฐที่มีอุณหภูมิอุ่นที่สุดของแคนาดาในช่วงฤดุร้อนยังมีอุณหภูมิเฉลี่ยเพียงแค่ประมาณ 20 องศาเซลเซียสเท่านั้น แต่ตอนนี้อุณหภูมิกับทะลุมาเป็นเท่าตัวที่ 49 องศาเซลเซียส เรียกได้ว่าร้อนกว่าประเทศไทยซะอีก มีรายงานการเสียชีวิตจากภาวะ Heat Stroke เป็นจำนวนมาก

นอกจากนี้ AIRS ยังพบว่าคลื่นความร้อนลูกนี้ไม่ได้มีผลกระทบแค่กับชายฝั่งอย่างเดียว แต่ส่งผลกระทบไปยังเขตภูเขาที่อยู่สูงขึ้นไปกว่า 3 กิโลเมตรด้วย และในบางพื้นที่ขยายตัวขึ้นไปสูงสุดถึง 5.5 กิโลเมตร ครึ่งหนึ่งของความหนาบรรยากาศชั้น Troposphere ของโลก

ยิ่งนานวัน ผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศของโลกเรายิ่งเผยตัวตนให้เราเห็นมากขึ้นเรื่อย ๆ ไม่ว่าจะเป็นการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิเฉลี่ยทั่วโลก การเปลี่ยนแปลงของบรรยากาศชั้นบนของโลก การเปลี่ยนแปลงของฤดูกาลและอื่น ๆ อีกมากมาย ถึงเวลาแล้วหรือยังที่เราจะต้องทำอะไรสักอย่าง

เรียบเรียงโดย ทีมงาน SPACETH.CO

อ้างอิง

NASA’s AIRS Tracks Record-Breaking Heat Wave in Pacific Northwest

Chief Science | A 20-year-old biologist with a passion for space exploration, science communication, and interdisciplinarity. Dedicated to demystifying science for all - Since 2018.