วิเคราะห์โดยละเอียด การทดสอบยาน Starship SN9 และอนาคตของ Starship รุ่นต่อไป

ย้อนกลับไปเมื่อวันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2021 ที่ผ่านมา ทางหมู่บ้าน Boca Chica ในรัฐเท็กซัส ซึ่งเป็นสถานที่ทาง SpaceX ได้เข้าซื้อพื้นที่ไว้เพื่อเป็นสถานที่วิจัยพัฒนาจรวดในการเดินทางในอวกาศห้วงลึกหรือ deep space รุ่นใหม่อย่าง Starship นั้นได้ทำการทดสอบยาน Starship รุ่นทดสอบ SN9 (Serial Number 9) ซึ่งเป็นยานลำที่สองในซีรี่ย์ Starship ที่ได้ประกอบแบบเต็มลำ (ในที่นี้หมายถึงมีทั้ง nose cone และ flap และเครื่องยนต์หลักทั้งสามเครื่องมี่ใช้ในชั้นบรรยากาศ) และได้ทดสอบขึ้นบินระดับสูง (High-Altitude Flight Test)

ยาน Starship SN9

สำหรับการทดสอบยาน Starship SN9 นั้นจะมีความแตกต่างจากการทดสอบยาน Starship SN8 ที่พึ่งทดสอบไปเมื่อวันที่ 10 ธันวาคม 2020 อยู่เล็กน้อย นั่นคือตอนทดสอบ SN8 นั้นจะเป็นการทดสอบบินที่ระดับความสูง 12.5 กิโลเมตรแต่สำหรับ SN9 นั้นจะเป็นการทดสอบบินที่ระดับความสูง 10 กิโลเมตร แต่ว่าเวลาการทดสอบการบินนั้นดันออกมาใกล้เคียงกันมาก ๆ นั่นคือ SN8 ในเวลา 6:42 นาที ส่วน SN9 นั้นใช้เวลาที่ 6:26 นาที เพราะจริง ๆ ถ้าให้สังเกตุด้วยตาก็จะพบว่ายาน SN9 นั้นบินขึ้นด้วยความเร่งที่ต่ำกว่า SN8 รวมถึงแรงขับของเครื่องยนต์ Raptor ของ SN9 นั้นก็ดูเหมือนจะน้อยกว่าด้วย

กราฟเทียบค่าสถิติต่าง ๆ ระหว่างการบินโดยสีน้ำเงินเป็น SN8 และสีเขียวเป็น SN9 ที่มา – twitter @flightclubio

อ่าน เที่ยวบินทดสอบยาน Starship SN8 ก้าวสำคัญแห่ง SpaceX สรุป วิเคราะห์ เจาะลึก

ส่วนในเรื่องของการทดสอบ SN9 นั้นก็จะคล้ายกับครั้งที่ทดสอบ SN8 โดยจะขอสรุปคร่าว ๆ หากใครยังไม่ทราบหรือลืม โดยในช่วงวินาทีแรกที่ยานออกตัวนั้นเครื่องยนต์ Raptor หลักที่สามตัวนั้นจะทำงานพร้อมกัน จนผ่านไประยะหนึ่งจะมีเครื่องยนต์หนึ่งในสามตัวนั้นดับลงแต่เครื่องยนต์ที่เหลือจะยังทำงานต่อด้วยเหตุผลที่ว่า ถ้าเชื้อเพลิงน้อยลงแต่ถ้าแรงขับยังเท่าเดิมก็จะมีความเร่งที่มาก จึงต้องดับเครื่องยนต์ลงเพื่อควบคุมความเร็วและความเร่งในการไต่ระดับ

หลังจากนั้นไม่นานก็จะดับเครื่องยนต์อีกตัวหนึ่งซึ่งจะเหลือเครื่องยนต์เพียงตัวเดียวที่ยังคงทำงานอยู่ ซึ่งตรงนี้ก็จะใช้เหตุผลเดียวกันกับข้างต้นที่ได้กล่าวออกไป หลังจากนั้นไม่นานช่วงที่ถึงจุดสูงสุดของเพดานบินหรือ apogee ที่ระดับความสูง 12.5 กิโลเมตรจากพื้นดินก็จะถึงเวลาที่จะต้องทำ gimbal หรือเป็นการให้เครื่องยนต์เอียงจากต่ำแหน่งปกติเพื่อดันให้ตัวยานเอียง (หลักการเดียวกันกับคานงัด) ที่ทำเช่นนี้เนื่องจากว่าจะเป็นการเตรียมตัวเข้าสู่ขึ้นตอน belly flop ซึ่งหน้าท้องตัวยานที่เป็นตำแหน่งเดียวกันที่ติดตั้งแผงกระเบื้องกันความร้อนหันลงสู่พื้นเพื่อทำการ skydive ลงสู่พื้น ซึ่งแน่นอนว่าหลังจากทำ gimbal เครื่องยนต์เสร็จแล้วก็จะทำการดับเครื่องยนต์ตัวสุดท้ายเพื่อไม่สร้างแรงขับระหว่างร่อนตัวลงสู่พื้น

Starship SN9 ขณะ skydive ลงสู่พื้น ที่มา – SpaceX

แน่นอนว่าการทำ skydive นั้นถ้าไม่เอาเรื่องของหลัก aerodynamic เข้าช่วยก็จะไม่สามารถควบคุมวิถีตกได้ ดังนั้นต้องหาอุปกรณ์ในการช่วยควบคุมวิถีตกเช่นเดียวกับจรวด Falcon 9 ท่อนแรก แต่สำหรับยาน Starship นั้นจะใช้ปีกเล็ก ๆ ที่เรียกว่า flap ในการคุมวิถีตกเพื่อให้สามรถร่วงลงสู่เป้าหมายที่ต้องการได้ ตามมาด้วยประมาณ 10 วินาทีก่อนแตะพื้น เครื่องยนต์สองเครื่องที่อยู่ฝั่งเดียวกันกับหน้าท้องที่หันลงสู่พื้น เพื่อทำการ gimbal เครื่องยนต์อีกครั้งเพื่องัดตัวยานให้เงยขึ้นมาตั้งได้ (ขั้นตอนนี้น่าหวาดเสียวสุด ๆ ชี้เป็นชี้ตายยานลำนั้นได้เลยนะ) โดยเครื่องยนต์ทั้งสองตัวนี้ก็จะใช้ลงจอดอีกด้วย

Starship SN8 ขณะจุดระเบิดเครื่องยนต์เพื่อใช้ในการลงจอด ที่มา – SpaceX

เหตุผลที่ไม่ใช้เครื่องยนต์ Raptor ทั้งสามเครื่องในการลงจอดนั้นก็ง่ายมากเลย เพราะเนื่องจากว่าเดิมทีแล้วเครื่องยนต์ Raptor เครื่องเดี่ยว ๆ นั้นก็มีแรงขับที่มากพอตัวอยู่แล้ว ซึ่งมันก็มากพอที่จะใช้เครื่องยนต์แค่สองเครื่องในการลงจอด แล้วถ้าใช้ทั้งสามเครื่องยนต์เลยแรงขับมันจะมากเกินไป ซึ่งแน่นอนว่าตามหลักฟิสิกส์แล้วของที่เคลื่อนที่อยู่ดี ๆ แล้วมีแรงมากระทำในทิศตรงข้ามกับทิศการเคลื่อนที่หลักก็จะเกิดความหน่วงขึ้น

ถ้าใช้หลักนี้ในการการลงจอด การมีความหน่วงที่มากก็จะเกิดแรง g ที่มากซึ่งมันอาจจะเป็นอันตรายต่อร่างกายมนุษย์ที่จะเป็น payload หลักในอนาคตก็ได้ จึงไม่คุ้มค่าที่จะเสี่ยงทำเช่นนั้นแต่แรก และอาจจะผลักยานกลับขึ้นไปอีกจนไม่สามารถลงจอดได้รวมทั้งจะเป็นการสร้างความเสียหายให้กับโครงสร้างยานที่ค่อนข้างสูงอีกด้วย

ในส่วนของผลการทดสอบก็เป็นที่รู้กันดีว่ายาน SN9 นั้นไม่ประสบความสำเร็จในการลงจอดซึ่งเราจะมาวิเคราะห์กันในส่วนถัดจากนี้

การลงจอดที่เกิดปัญหาซ้ำสอง

จริง ๆ ถ้าให้พูดตามความจริงแล้ว การลงจอดยาน Starship SN9 นั้นมีหลาย ๆ อย่างที่ค่อนข้างเลวร้ายกว่าครั้งที่ทดสอบยาน SN8 อย่างมาก โดยขอเริ่มเล่าเรืองของการจุดจะเบิดเครื่องยนต์ในขั้นตอนของการลงจอดกันก่อนดีกว่า

ภาพของยาน​ SN8 และ SN9 ขณะเตรียมการลงจอด

จากรูปเราจะเห็นได้ว่าเครื่องยนต์ในช่วงการลงจอดของ SN8 นั้นสามารถจุดระเบิดกลับขึ้นมาได้ทั้งคู่ แต่ก็ตามที่ได้กล่าวไปในบทความ เที่ยวบินทดสอบยาน Starship SN8 ก้าวสำคัญแห่ง SpaceX สรุป วิเคราะห์ เจาะลึก ว่า SN8 นั้นก็ลงจอดไม่สำเร็จอยู่ดีเพราะเนื่องจาก header tank มีความดันที่ต่ำเกินไปทำให้เชื้อเพลิงถูกป้อนเข้ามาในเครื่องยนต์ในปริมาณที่ไม่เพียงพอ จึงทำให้นำไปสู่ปรากฏการณ์ engine rich ที่ห้องเผาไหม้ดันถูกเผาไหม้เสียเอง แสงสีเขียวที่เราเคยเห็นใน SN8 นั้นเกิดจากการที่ผนังห้องเผาไหม้นั้นเป็นโลหะทองแดงซึ่งเวลาถูกเผาแล้วจะเกิดแสงวาบสีเขียว การที่เชื้อเพลิงถูกป้อนเข้าเครื่องยนต์ไม่พอแสดงว่าเครื่องยนต์นั้นทำงานไม่สมบูรณ์ซึ่งจะทำให้แรงขับที่ใช้ในการลงจอดมีไม่พอ และนำไปสู่การตกลงสู่พื้นด้วยความเร็วที่มากเกินไปทำให้เกิดการ RUD (Rapid Unscheduled Disassembly) ไปในที่สุด

ซึ่งผิดกับ SN9 ที่เครื่องยนต์หนึ่งในสองตัวนั้นทำงานไม่สมบูรณ์แต่แรก ถ้าทุกคนได้ดูเป็นครั้งแรกคงคิดว่าเครื่องยนต์อาจจะมีปัญหาแน่ ๆ ในส่วนของตรงนี้จะขอพาย้อนกลับไปในช่วนวินาเกิดเหตุและต้นตอของหายนะในการลงจอดลองยาน SN9 กันก่อน

ในภาพด้านบนเราจะเห็นว่าภาพทางซ้ายนั้นเป็นภาพที่ถูกตัดมาตอนที่เครื่องยนต์หนึ่งในสองตัวที่ใช้ในการลงจอดนั้นเกิดแสงวาบพอดี ตรงนี้เป็นเหตุการณ์ที่เกิดในช่วงเสี้ยววินาที ซึ่งถ้าไม่สังเกตุก็คงนึกว่าเครื่องยนต์พยายามที่จะทำงานเฉย ๆ แต่ไม่ใช่เลย แสงวาบนี้เป็นแสงที่เกิดจากการที่ส่วนต่อขยายของห้องสร้างแรงดันหรือ nozzle extansion เกิดการระเบิดขึ้น ซึ่งเป็นอะไรที่รุนแรงและเลวร้ายมาก ๆ สำหรับจรวดที่ต้องใช้ nozzle extansion ในการผลักจรวดขึ้นสู่ท้องฟ้า

ตามมาที่ภาพกลางและภาพขวา เราจะเห็นว่ามีวงกลมสีแดงวงไว้อยู่ โดยเจ้าจุดขาวชิ้นเล็ก ๆ นี้เป็นตัว nozzle extansion ที่หลุดออกมาจากการระเบิดจากภาพขวา ซึ่งมันสื่อให้เรารู้แล้วว่าเครื่องยนต์เครื่องนี้พังแล้วนะ แน่นอนว่าการที่ nozzle extansion ปลิวออกมาขนาดนี้ทำให้รู้ได้ทันทีว่าเครื่องยนต์ทั้งเครื่องนั้นเหลือแค่ตัวห้องเผาไหม้หลัก ตัว nozzle ที่ติดกับห้องเผาไหม้และปั๊มต่าง ๆ ซึ่งเรียกได้ว่ามันแทบไม่มีประโยชน์สำหรับการสร้างแรงขับแล้ว หรือแปลได้อีกความหมายหนึ่งว่า ณ ขณะนั้นตัวยานทั้งลำเหลือเครื่องยนต์เพียวตัวเดียวที่ยังกำลังทำงานอยู่ ซึ่งต่อให้ทำงานเต็มที่ก็มีแรงขับไม่พอในการพยุงยานทั้งลำให้พลิกกลับขึ้นมาและลงจอด ซึ่งเป็นเหตุผลเดียวกันกับยาน SN8 ที่มีเครื่องยนต์เดียวที่ยัง “พอ” ทำงานต่อได้

จากภาพจะเห็นได้ว่ามีวงแหวนหลุดออกมาจากเครื่องยนต์ SN49 ที่มา – SpaceX

แต่ถ้าพูดถึงต้นตอของหายนะของการทดสอบครั้งนี้จริง ๆ มันไม่ได้เกิดตอนที่เครื่องยนต์เกิดการระเบิดจน nozzle extansion หลุดออกมา แต่มันเกิดขึ้นในช่วงที่ยานกำลังขึ้นบินขึ้นในช่วงนาทีที่ T +00:33 หรือวินาทีที่ 33 หลังบินออกจากฐานส่งฯ โดยเรื่องมันเกิดจากวงแหวนวงหนึ่งของเครื่องยนต์ Raptor SN49 (เครื่องยนต์เครื่องหนึ่งในสองเครื่องที่ใช้ในการลงจอดและเป็นเครื่องเดียวกันที่เกิดการระเบิด) นั้นได้หลุดออกมาจากเครื่องยนต์ แน่นอนว่าเป็นเรื่องที่ไม่ดีแล้วที่เกิดเหตุการณ์แบบนี้ขึ้น แต่เครื่องยนต์เครื่องนี้ก็ยังทำงานได้ดีเยี่ยมอยู่ก่อนที่จถูกสั่งดับเครื่องตามขั้นตอนการทำสอบ แต่การจุดระเบิดเครื่องยนต์ครั้งที่สองนั้นไปดันกระตุ้นความสียหายของเครื่องยนต์มากขึ้นจนนำไปสู่การระเบิดของเครื่องยนต์ SN49 และ RUD ของ SN9

เหตุการณ์ในวินาทีนี้เกิดขึ้นเร็วมากจนถ้าไม่ได้สังเกตุคือเราจะไม่รู้เลยว่ามันมีแหวนหลุดไปจริง ๆ (ฮา)

ภายหลังของการทดสอบ SN9

หนึ่งวันให้หลังการทดสอบยาน SN9 (4 กุมภาพันธ์ 2021) Elon Musk ผู้ก่อตั้ง CEO และ CTO แห่ง SpaceX ก็ได้ทวีตรูปภาพ SN9 ขณะกำลังสัมผัสฐานลงจอดพร้อมเติมข้อความ “Pull Up” หรือที่แปลว่า “ดึงขึ้น” พร้อมระบบในทวีตนั้นว่า “ครั้งหน้านะ เราจะหาวิธีดึง *ขึ้น* ดู” ซึ่งการออกมาทวีตแบบนี้เหล่าแฟน ๆ SpaceX และ Elon รู้ได้ทันทีว่าจงใจกวนตีน FAA (องค์การบริหารการบินแห่งสหรัฐอเมริกา) แน่ ๆ

ก็แน่นอนอีกว่าหลังจากที่ Elon ออกมาพูดถึงยาน SN9 ที่พึงระเบิดไปก็ต้องมีคำถามจากเหล่าแฟนคลับเป็นธรรมดา หนึ่งในคำถามที่อีลอนตอบนั้นค่อนข้างน่าสนใจมาก ๆ โดยคำถามนั้นมีใจความว่า “คำถาม: ทำไมถึงจุดระเบิดในการลงจอดเครื่องยนต์แต่สองเครื่อง? ทุก ๆ ครั้งที่เครื่องยนต์ตัวใดตัวหนึ่งทำงานล้มเหลวนั่นแปลว่าจะสูญเสียยานลำนั้นไปเลย เครื่องยนต์คุณล้มเหลวไปเครื่องเดียวจากทั้งสองครั้งที่ทดสอบ (หมายถึงยาน SN8 และ SN9) ทำไมไม่จุดระเบิดไปเลย 3 เครื่องเพื่อพลิกยานให้กลับมาตั้งแล้วเลือกสองเครื่องที่ดีที่สุดจากนั้นก็ดับอีกเครื่องไปเลยล่ะ?” โดยทาง Elon ก็ได้ออกมาตอบสั้น ๆ ว่า “พวกเรามันโง่เกินไป”

ภายหลังทวีตนี้ไม่นานทางคุณ Tim Dodd creator รายหนึ่งที่ทำคอนเทนต์เกี่ยวกับด้านจรวด (เรามักจะรู้จักกันใน Everyday Astronaut) ได้ออกมาทวีตอัพเดทข้อมูลตามปกติว่าจะมีเทปบันทึกเกี่ยวกับภารกิจทดสอบ SN9 พร้อมทั้งปิดท้ายว่า “แน่นอน SpaceX ไม่ได้โง่อย่างที่ Elon Musk พูดขำ ๆ ไว้ แต่มันมีหลาย ๆ อย่างที่พวกเขาต้องลองทดสอบในเที่ยวบินแรก ๆ และจะต้องมีวิธีปรับปรุงข้อผิดพลาดพวกนั้นแน่นอน”

“มันเป็นความโง่ของพวกเราเองที่ไม่จุดเครื่องยนต์ทั้งสามแล้วดับหนึ่งในนั้นลงทันทีแล้วปล่อยอีกสองเครื่องพยุงยานในการลงจอด” Elon ออกมาตอบทวีตของ Tim ซึ่งตรงนี้ขออธิบายเกี่ยวกับแนวคิดนี้ตามความเข้าใจของผู้เขียนกันก่อน การที่จุดเครื่องยนต์ทั้งสามเครื่องยนต์นั้นมันดูเป็นเรื่องที่ง่ายกว่า เพราะมันจะเหมือนกับการจุดเครื่องยนต์ทั้งสามเครื่องตอบขึ้นบิน เพราะตัว hardware ของยานถูกออกแบบมาให้ใช้เครื่องยนต์สามเครื่อง (ที่ใช้ในชั้นบรรยากาศ) ซึ่งแน่นอนว่าการให้มันทำงานพร้อมกันหมดนั้นเป็นอะไรที่ง่ายกว่าการกำหนดให้เครื่องยนต์สองเครื่องนั้นทำงาน ซึ่งพอจุดออกไปแล้วจะดับเครื่องยนต์ที่ไม่ใช้ไปเลยก็ได้ เหมือนกับการดับเครื่องยนต์ไปที่ละตัวโดยไม่เกิดปัญหาใด ๆ ตอนขณะบินขึ้น

“มันจะไม่ปลอดภัยกว่าหรือถ้าจุดเครื่องยนต์ทั้งสามเครื่อง แล้วใช้ทั้งสามเครื่องในการลงจอดในกรณีที่มีเครื่องยนต์หนึ่งในนั้นทำงานล้มเหลว” ผู้ใช้ทวิตเตอร์นาม @ajtourville ได้ถาม Elon หลังจากที่ Elon ได้บอกว่าควรแก้ส่วนไหนกับปัญหาการลงจอด

“ใช่มันปลอดภัยกว่า แต่เครื่องยนต์มีจุดเค้นต่ำสุดที่จะเกิดเปลวไฟ ดังนั้นการลงจอดด้วยเครื่องยนต์ 3 เครื่องหมายความว่ามันก็จะมีอัตราส่วนระหว่างแรงขับกับน้ำหนักที่มาก (ถ้าอยู่ห่างจากตำแหน่งลงจอด) ซึ่งนั่นก็มีความเสี่ยงอยู่เหมือนกัน” Elon ได้ทวีตตอบ @ajtourville ซึ่งตามที่เคยกล่าวออกไป มีแรงขับมากแต่ถ้าน้ำหนักน้อยก็จะเป็นปัญหาต่อการลงจอดเช่นกัน

“หมายความว่าเครื่องยนต์ตัวนั้นจะถูกกำหนดให้ดับเครื่องหลังจากถูกจุดสินะ?” ผู้ใช้ทวิตเตอร์นาม @josh_bickett ได้ถาม Elon ต่อ

“ใช่ โดยจะให้เครื่องยนต์ฝั่งที่น้อยที่สุดดับลงถ้าเครื่องยนต์ทั้งสามทำงานได้ปกติดี” Elon ได้ตอบกับ @josh_bickett

ภาพ render อธิบายการดับเครื่องยนต์ของ Staship ขณะลงจอด ที่มา – Twitter @brendan2908

จริง ๆ แล้วที่เขียนมาก่อนหน้านี้ Elon ไม่ได้ใช้คำว่า ‘เครื่องยนต์ฝั่งที่น้อยที่สุด’ แต่เป็น ‘ฝั่งที่มีแขนคันโยกน้องที่สุด’ (ที่แปลเป็นแบบแรกเพราะเพื่อให้อ่านแล้วเข้าใจได้เลย เพราะตอนแรกผู้เขียนก็ไม่เข้าใจเหมือนกันว่าหมายถึงอะไร (ฮา)) จากภาพ render ด้านบนได้มีการขยายความที่ Elon ได้กล่าวไว้ โดยแขนคันโยกที่ว่าหมายถึงเครื่องยนต์ Raptor ที่สามารถโยกไปมาได้ทุกเครื่องเพื่อทำ gimbal ให้ตัวยานสามารถส่ายไปมาได้

จากรูปจะเห็นได้ว่ายาน Starship จะมีลักษณะการติดตั้งเครื่องยนต์รูปแบบสามเหลี่ยม ฐานของสามเหลี่ยมจะอยู่ฝั่งเดียวกันกับหน้าท้องที่หันลงพื้นเมื่อทำการ skydive หรือในอีกความหมายหนึ่งคืออยู่ฝั่งเดียวกันกับด้านที่จะมีการติดตั้งเกราะกันความร้อน ที่ทำแบบนี้เพราะจากรูปเราจะเห็นว่ามีการลากเส้นแรงที่เกิดขึ้น ซึ่งเป็นไปตามหลัก torque ถ้าพูดภาษาบ้าน ๆ หน่อยก็คือการส่งแรงไม่ผ่านจุดศูนย์กลางมวลจะทำให้เกิดการหมุนของวัตถุ และยิ่งส่งแรงห่างจากจุดศูนย์กลางมวลเท่าไหร่ก็ยิ่งทำให้วัตถุหมุนง่ายขึ้น

ไดอะแกรมอธิบายหลัก gimbal ที่อาศัยประโยชน์ของ torque เข้าช่วย ที่มา – NASA

แต่ตามที่ Elon กล่าวไว้ว่าจะจุดทั้งสามเครื่องยนต์ ในที่นี้หมายถึงจะเป็นการให้ปั๊มของเครื่องยนต์ทุกเครื่องทำงานป้อนเชื้อเพลิงเข้าระบบจากนั้นเราก็จะเห็นเป็นแก๊สออกมา ซึ่งในส่วนของตรงนี้เกิดจากการที่เครื่องยนต์ Raptor ถูกออกแบบมาในรูปแบบของระบบ gas-gas หรือนั่นคือเชื้อเพลิงเหลวที่เข้าสู่ระบบจะผ่านขั้นตอนต่าง ๆ จนได้ออกมาเป็นแก๊ส ทำให้เราจึงเห็นแก๊สพุ่งออกมาแทนที่จะเป็นของเหลวจากเครื่องยนต์ Raptor

จากวีดีโอเราจะเห็นได้ว่าในช่วงเวลาก่อนเครื่องยนต์ Raptor ถูกจุดระเบิดจะมีแก๊สพุ่งออกมา

มาถึงตรงนี้เรียกได้ว่าเครื่องยนต์นั้นทำงานสมบูรณ์แล้วเหลือแค่จุดระเบิดที่ห้องเผาไหม้หลักเพื่อสร้างแรงขับ แต่สำหรับเครื่องยนต์ที่อยู่บนปลายยอดจองสามเหลี่ยมหรือฝั่งตรงข้ามกับเกราะกันความร้อนนั้นจะไม่ถูกจุดระเบิดขึ้นในห้องเผาไหม้ เพราะเกินความจำเป็นต่อการลงจอด ซึ่งจะถูกสั่งดับเครื่อง (สั่งปั๊มหยุดทำงาน) ในเวลาอันสั้นหลังจากเครื่องยนต์ทุกตัวถูกจุดให้ปั๊มทำงาน

สรุปเลยก็คือปัญหาหลักนั้นไม่ได้อยู่ที่ตัวยาน แต่อยู่ที่ระบบเครื่องยนต์ที่ถือว่าใหม่มาก ๆ (เครื่องยนต์ Raptor เป็นเครื่องยนต์รุ่นแรกของโลกที่สามารถทำงานบนระบบ full-flow staged combustion ได้ เหตุผลที่ใช้เพราะเหมาะแก่การนำมาใช้ซ้ำมากกว่าระบบเครื่องยนต์อื่น ๆ) แน่นอนว่าเครื่องยนต์รุ่นนี้ยังต้องอยู่ในขั้นตอนการพัฒนาอีกนานพอสมควร รวมถึงต้องปรับปรุงระบบที่สามารถใช้ระบบแก๊สร้อนได้อีก (ปัจจุบันเครื่องยนต์รุ่นนี้ใช้ระบบแก๊สเย็น) ซึ่งแก๊สร้อนจะทำให้เครื่องยนต์มีแรงขับมากขึ้น

นอกจากนี้ Elon ยังระบบอีกว่าในการพัฒนายาน Starship นี้ยังปัญหาใหญ่ ๆ ที่ต้องทำอีกสามอย่างคือ

  • การทำหอฐานส่งยานขึ้นวงโคจร
  • เครื่องยนต์ Raptor ที่เพียวพอต่อการนำยานขึ้นวงโคจร
  • ปรับเรื่องมวลของตัวยานหลัก (Starship) และตัวบูสเตอร์ (Super Heavy)

สุดท้ายนี้ก็ขอแปะภาพสวย ๆ ของยาน SN9 ที่ทาง SpaceX ได้ปล่อยออกมาให้เราได้ดูกันฟรี ๆ

ยาน Starship SN9 บนฐานส่ง B และ SN10 บนฐานส่ง A ซึ่งเราจะเห็น Starhopper และ SN7.2 อยู่ทางด้านขวาและซ้ายของรูปอีกด้วย
ภาพของเครื่องยนต์ Raptor ทั้งสามที่ใช้ในภารกิจทดสอบยาน SN9 จะเห็นได้ว่า nozzle extansion ของแต่ละเครื่องนั้นผ่านกระบวนการผลิตในรูปแบบที่ต่างกัน (สังเกตได้จากรอยสีดำขนผนัง nozzle extansion ด้านใน)
Starship SN9 ขณะขึ้นบิน

เรียบเรียงโดย ทีมงาน Spaceth.co

19 y/o Just mechanical engineering student, hobbyist illustrator, amateur writer who wanted to be a rocket propulsion engineer.