BRUIE ยานสำรวจใต้น้ำแข็ง ในมหาสมุทรของดวงจันทร์ยูโรปา

นักวิทยาศาสตร์จาก NASA ได้เริ่มออกแบบการสำรวจอวกาศในวิธีที่แตกต่างออกไป หนึ่งในภารกิจที่น่าสนใจคือหุ่นยนต์ต้นแบบ BRUIE หุ่นยนต์ที่ออกแบบให้ลงไปเคลื่อนไหวบนพื้นผิวของดวงจันทร์ที่ใหญ่เป็นอันดับต้น ๆ ของระบบสุริยะอย่างยูโรปา

Buoyant Rover for Under-Ice Exploration หรือ BRUIE เป็นหุ่นยนต์ขนาดเล็กที่ถูกสร้างขึ้นโดยความร่วมมือระหว่าง NASA Jet Propulsion Laboratory และ University of Western Australia (UWA) โดยมีจุดประสงค์เพื่อสำรวจพื้นที่ที่เป็นทะเลน้ำแข็งเพื่อเสาะแสวงหาหลักฐานการมีอยู่ของสิ่งมีชีวิตนอกโลก

หากดูลักษณะภายนอกจะพบว่า BRUIE เป็นหุ่นยนต์ที่มีขนาดเล็ก ประกอบไปด้วยล้อเพียง 2 ล้อเท่านั้น และตัว Body เชื่อมระหว่างล้อคล้ายดัมเบล หน้าตาแบบนี้มันอาจจะเหมือนจะถูกออกแบบเพื่อการเดินบนพื้นผิวของดวงจันทร์ยูโรปา แต่ตชจริง ๆ แล้ว มันถูกออกแบบเพื่อการเดินใต้แผ่นชั้นน้ำแข็งต่างหาก

แม้ว่า BRUIE จะยังไม่ถูกอนุมัติให้เดินทางไปกับยานลำใด แต่มันก็คือหุ่นยนต์ต้นแบบของภารกิจการสำรวจอวกาศที่แตกต่างออกไป เหมือนกับ Ingenuity ที่เดินทางไปสำรวจดาวอังคาร

นักวิทยาศาสตร์เชื่อว่าใต้แผ่นชั้นน้ำแข็งของยูโรปานั้นมีน้ำที่เป็นของเหลวอยู่และคาดว่าน่าจะมีสิ่งมีชีวิตอยู่ใต้ชั้นน้ำแข็งนั้น มันจึงถูกออกแบบให้มีน้ำหนักที่เบา สามารถลอยน้ำได้ และตัวล้อยังถูกออกแบบมาอย่างดีเพื่อเกาะและปีนป่ายบนพื้นผิวน้ำแข็งที่ลอยอยู่เหนือตัวมัน โดย BRUIE นั้นอยู่ในระหว่างพัฒนาและเป็น Candidate สำหรับ Mission สำคัญ ๆ ในอนาคตที่จะไปสำรวจดวงจันทร์น้ำแข็งเช่น ยูโรปาของดาวพฤหัส หรือเอ็นเซลาดัสของดาวเสาร์

BRUIE version 2019 ที่มา – NASA/JPL

ดวงจันทร์ยูโรปาเป็นหนึ่งในดวงจันทร์กาลิเลียนที่มีลักษณะคล้ายกับโลกของเรา ยกตัวอย่างเช่น มีน้ำเป็นพื้นที่ส่วนมากของดาวพื้นผิวดาวเช่นกัน เพียงแต่จากกการคำนวณดวงจันทร์ยูโรปามีน้ำบนพื้นผิวมากกว่าโลก 2 เท่า ซึ่งนั่นหมายความว่าบนดวงจันทร์ยูโรปาเราอาจจะสามารถพบหลักฐานการมีอยู่ของสิ่งมีชีวิตนอกโลกได้ โดยพื้นที่ภารกิจของ BRUIE ก็คือทะเลน้ำแข็งบนดวงจันทร์ยูโรปานั่นเอง โดยจากคำพูดของ Andy Klesh วิศวกรจาก JPL กล่าวว่าเหตุที่ BRUIE ต้องไปสำรวจบริเวณที่เป็นทะเลน้ำแข็งนั้น เนื่องจากคิดว่าสิ่งมีชีวิต (ของดวงจันทร์ยูโรปา) น่าจะอาศัยอยู่ตรงบริเวณผิวน้ำแตะกับก้นของพื้นน้ำแข็ง

BRUIE ขณะทดสอบการเดินใต้น้ำ ในปี 2019 ที่มา – NASA/JPL

โดยนอกจากน้ำหนักที่เบาและล้อที่เกาะกับผิวน้ำแข็งได้ดีแล้ว BRUIE ยังสามารถประหยัดพลังงานได้นานกว่ามากเมื่อเทียบกับเรือดำน้ำ เนื่องจากมันสามารถเปิด – ปิด ได้ โดยเปิดแค่ในยามที่ต้องการวัดค่าต่าง ๆ เท่านั้น นั่นทำให้มันสามารถสำรวจสภาพแวดล้อมน้ำในทะเลใต้แผ่นน้ำแข็งได้นาน

ในปี 2015 BRUIE ได้ถูกนำไปทดสอบในอควาเรียมของ California Science Center ซึ่งถือเป็นการลงสนามเล็กเท่านั้น BRUIE ได้ถูกดัดแปลงมาเรื่อย ๆ จะเห็นว่าสองรูปข้างล่าง BRUIE มีลักษณะที่ต่างกัน จนในปี 2019 BRUIE ได้ถูกนำไปทดสอบการใช้งานเป็นครั้งแรก โดยได้รับการสนันสนุนจาก Australian Antarctic Program โดยครั้งนี้ BRUIE ได้ถูกนำไปยังทะเลสาบและชายทะเลใกล้กับ Casey station ทีมงานได้เจาะน้ำแข็งและปล่อยให้ BRUIE ทำหน้าที่ ซึ่งนอกจาก BRUIE จะทำงานได้อย่างดีแล้ว เรายังพบอีกว่า BRUIE เป็นมิตรกับเหล่าเพนกวินและแมวน้ำอีกด้วย

นักดำน้ำและ BRUIE ในอความเรียมของ California Science Center ในปีค.ศ. 2015 ที่มา – NASA/JPL

เมื่อกำหนดการปล่อยภารกิจ Mission to Europa ในปี 2025 มาถึง นักวิทยาศาสตร์จะตัดสินใจต่อว่ายานแบบ BRUIE จะน่าสนใจแค่ไหนสำหรับการนำไปสำรวจดวงจันทร์ของดาวพฤหัสอย่างยูโรปา หรือดวงจันทร์ของดาวเคราะห์ในระบบสุริยะที่มีทะเลอยู่

เรียบเรียงโดย ทีมงาน SPACETH.CO

อ้างอิง

Aquatic Rover Goes for a Drive Under the Ice

กิ๊ก นิศาชล - ลาออกจากโรงเรียนเพราะไม่ชอบระบบการศึกษา ชอบอวกาศ เพราะอวกาศแสดงความเป็นหนึ่งเดียวของทุกสิ่งและทุกศาสตร์ รักแมวเหมียว ร้องเมี๊ยวๆเดี๋ยวก็มา