วันที่ 3 ธันวาคม 2020 NASA ได้เผยภาพถ่ายจากกล้อง Hubble ในปี 2016 ของเนบิวลารหัส Hen 3-1357 ซึ่งมีขื่อเรียกว่า Stingray Nebula หรือเนบิวลาปลากระเบน เป็น Deep Space Object บริเวณ Southern Ara Constellation นักดาราศาสตร์พบว่าเนบิวลาในรูปที่ถ่ายได้เมื่อปี 2016 นั้นจางลงอย่างเห็นได้ชัดเมื่อเทียบกับรูปถ่ายเก่าที่ถ่ายในปี 1996
ภาพนี่เป็นภาพจากกล้อง Hubble ของเนบิวลาปลากระเบนซึ่งถ่ายด้วย Wide Field and Planetary Camera 2 เมื่อปี 1996 ตรงกลางของเนบิวลาเป็นดาวฤกษ์ที่กำลังหมดอายุขัยและจะตายลงในอีกไม่ช้า รอบ ๆ เป็นกลุ่มแก๊สที่เรียกว่า Planetary Nebula ประกอบไปด้วย ไนโตรเจน ซึ่งมีสีแดง ออกซิเจน ซึ่งมีสีเขียว และไฮโดรเจน ซึ่งมีสีฟ้า
แต่เมื่อนำภาพนี้ไปเทียบกับภาพที่ถ่ายได้ในปี 2016 นั้น ความแตกต่างราวฟ้ากับเหวก็เกิดขึ้น
ภาพนี้เป็นภาพของเนบิวลาปลากระเบนซึ่งถ่ายโดยกล้อง Hubble เมื่อปี 2016 ด้วยอุปกรณ์ Wide Field and Planetary Camera 3 ซึ่งเมื่อนำไปเทียบกับภาพเมื่อปี 1996 จะเห็นได้ว่าความสว่าง สี ขนาด และรูปร่างของกลุ่มแก๊สเนบิวลาเปลี่ยนไปอย่างชัดเจน โดนนักดาราศาสตร์พบว่า ค่าการแผ่ออกซิเจน (สีเขียวในเนบิวลา) เทียบกับปี 1996 นั้นบดไปถึง 1000 แฟกเตอร์ โดยปกติแล้วตามธรรมชาติของเนบิวลาซึ่งเกิดจากมหานวดาราหรือซูเปอร์โนวา เนบิวลาที่เกิดขึ้นจะต้องค่อย ๆ ขยายตัวใหญ่ขึ้นและเข้มขึ้นเรื่อย ๆ จากนั้นก็ค่อย ๆ จางลงแต่จะไม่เล็กลงและไม่เปลี่ยนรูปร่าง
การสำรวจด้วยกล้องโทรทรรศน์ภาคพื้นบนโลกทราบข้อมูลนานแล้วว่า Hen 3-1357 นั้นมีความสว่างลดลงแต่ไม่สามารถยืนยันได้ว่าเป็นที่ตัวเนบิวบาเองจริง ๆ หรือไม่จนกระทั่งข้อมูลถูกยืนยันโดยภาพจากกล้องกำลังสูงอย่าง Hubble
นักวิจัยและนักดาราศาสตร์พุ่งเป้าไปที่ SAO 244567 ซึ่งเป็นดาวฤกษ์ที่ตั้งอยู่กึ่งกลางของเนบิวลาปลากระเบน พวกเขาสงสัยว่า SAO 244567 อาจจะมีปฏิกิริยา Thermonuclear อ่อนลงทำให้อุณหภูมิพื้นผิวลดลงตามด้วยการแผ่รังสี Ionizing ที่น้อยลงเป็นเหตุให้ความสว่างลดลง
จากงานวิจัยโดย University of Potsdam, Germany ร่วมกับทีมวิจัยนานาชาติ พบว่าระหว่างปี 1971 ถึง 2002 ข้อมูลจาก Hubble ระบุว่าอุณหภูมิพื้นผิวของ SAO 244567 พุ่งจาก 22,200 องศาเซลเซียส ไปจนถึง 60,000 องศาเซลเซียส ซึ่งการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิอย่างรวดเร็วดังกล่าวอาตเกิดจาก Helium Shell Fusion หรือการจุดนิวเคลียร์ฟิวชั่นที่เปลือกฮีเลียมซึ่งมีความเข้มข้นสูงมาก ทำให้เกิดการขยายตัวของดาวฤกษ์อย่างรวดเร็ว รวมถึงอุณหภูมิพื้นผิวที่สูงขึ้นอย่างรวดเร็ว ส่งผลให้เกิดการแผ่รังสีมากขึ้นทำให้ตัวดาวฤกษ์และ Planetary Nebula สว่างขึ้น เมื่อเชื้อเพลิงฮีเลียมที่เปลือกดาวฤกษ์หมดลง ปฏิกิริยานิวเคฟิวชั่นก็จะหยุดลง เมื่ออุณหภูมิยังไม่พอที่จะจุดนิวเคลียร์ฟิวชั่นขั้นต่อไป ดาวก็จะค่อย ๆ ยุบตัวลงด้วยน้ำหนักตัวมันเองเนื่องจากไม่มีแรง Thermonuclear มาดันไว้นั่นเอง อุณหภูมิพื้นผิวก็จะลดลง และนี่ก็คือสิ่งที่กำลังเกิดขึ้นกับ SAO 244567 ตอนนี้นั่นเอง
นั่นหมายความว่าความจริงแล้ว เนบิวลาปลากระเบนไม่ได้กำลังจางลง มันแค่กำลังกลับไปที่สถานะเดิมของมันก่อน Helium Shell Burning หมายความว่าเราได้เห็นจังหวะเหมาะที่ดาวฤกษ์เกิด Helium Shell Burning ซึ่งปกติแล้วใช้เวลานานมากถึงระดับที่หนึ่งชั่วขีวิตก็อาจไม่ได้เห็น
เรียบเรียงโดย ทีมงาน SPACETH.CO
อ้างอิง