ข้อมูลจากกล้อง Hubble พบว่าความเร็วลมบริเวณ The Great Red Spot ของดาวพฤหัสกำลังเพิ่มขึ้น

The Great Red Spot หรือที่รู้จักกันในชื่อจุดแดงบนดาวพฤหัสนั้นถือเป็นพายุลูกที่ใหญ่ที่สุดและยาวนานที่สุดลูกหนึ่งในระบบสุริยะเลยทีเดียว โดยอ้างอิงจากหลักฐานบันทึกการสำรวจเป็นลายลักษณ์อักษรตั้งแต่ช่วงปี 1665 ถึง 1713 ซึ่งหากหลักฐานดังกล่าวเป็นจริง หมายความว่าพายลูกนี้อยู่มาแล้วอย่างน้อยประมาณ 356 ปี

นักวิทยาศาสตร์คาดว่ามันน่าจะอยู่มานานกว่า 356 ปี แต่เนื่องจากไม่มีบันทึกการสำรวจที่นานและเก่าแก่กว่านั้นจึงยังไม่สามารถสรุปได้ว่า The Great Red Spot อยู่มานานแค่ไหน

ภาพของ The Great Red Spot จากยาน Voyager 1 ในปี 1979 – ที่มา NASA

ข้อมูลจาก Hubble ซึ่งศึกษาและติดตามพายุในจุด Great Red Spot พบว่าความเร็วลมของมันในวริเวณ “High-speed ring” ซึ่งเป็นพื้นที่ที่ปกติจะมีความเร็วสูงกว่าบริเวณอื่น ๆ นั้นเพิ่มขึ้นมากถึง 8% ระหว่างปี 2009 ถึงปี 2020 และกลับกัน ความเร็วลมในบริเวณ “Low-speed ring” ซึ่งเป็นพื้นที่ลักษณะวงแหวนข้างใน The Great Red Spot นั้นกลับมีความเร็วลมลดน้อยลง

พายุ The Great Red Spot นั้นหมุนทวนเข็มนาฬิกาด้วยตวามเร็วกว่า 600 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ซึ่งถือว่าเร็วมากขนาดที่แรงหมุนลมที่มันสร้างขึ้นหรือที่เรียกว่า Vortex มีขนาดใหญ่กว่าตัวพายุเองเสียอีก

การวิเคราะห์ความเร็วลมบริเวณ The Great Red Spot ของดาวพฤหัสจากภาพของกล้องโทรทรรศน์อวกาศ Hubble – NASA, ESA, Michael H. Wong (UC Berkeley)

Hubble วัดความเร็วลมที่เปลี่ยนแปลงไปใน The Great Red Spot ได้ที่ 2.5 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ต่อหนึ่งปีบนโลก ซึ่งถือว่าเป็นการเปลี่ยนแปลงที่เล็กน้อยมากและเราจะไม่สามารถรู้ได้เลยว่าความเร็วลมใน The Great Red Spot เปลี่ยนแปลงหากเราไม่มีข้อมูลจากกล้อง Hubble ที่เก็บมายาวนานกว่า 11 ปี

เนื่องจากเราไม่มีอุปกรณ์สำหรับทำการทดลองวิทยาศาสตร์ใด ๆ บนดาวพฤหัส เราจึงต้องพึ่งกล้องโทรทรรศน์อวกาศในการสำรวจดาวพฤหัสแทน Hubble เป็นหนึ่งในกล้องโทรทรรศน์อวกาศที่มีความแม่นยำมากที่สุดอันหนึ่ง สามารถแยกภาพพายุที่มีเส้นผ่านศูนย์กลางเพียง 160 กิโลเมตรได้

ภาพแสดง The Great Red Spot บนดาวพฤหัสกว้างกว่า 16,350 กิโลเมตร – ที่มา NASA

หลังจากการวิเคราห์ข็อมูลเพิ่มเติมด้วยการเอาข้อมูลการวัดความเร็วลมในพายุ The Great Red Spot ทั้งหมดซึ่งมีมากกว่า 100,000 ชิ้น มาประมวลผลเพื่อให้ได้ข้อมูลที่แม่นยาและต่อเนื่องมากขึ้นก็พบว่ากว่าหนึ่งทศวรรษที่ผ่านมานี้ความเร็มลมใน The Great Red Spot เพิ่มขึ้นจริง ๆ

อย่างไรก็ตาม นักวิทยาศาสตร์ยังไม่สามารถระบุได้ว่าการเพิ่มของความเร็วลมนี้หมายความว่าอย่างไร เนื่องจากหากเราต้องการที่จะรู้ว่าอะไรทำให้ความเร็วลมของมันเพิ่มมากขึ้น เราก็จะต้องเห็นฐานของพายุด้วย ซึ่งในกรณีนี้เรามีแต่กล้องที่สามารถมองได้แต่ข้างบน เราจึงไม่สามารถรู้ได้เลยว่ากำลังเกิดอะไรขึ้นข้างล่าง

ข้อมูลที่เรามีตอนนี้ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลการสำรวจที่พบว่า The Great Red Spot มีขนาดเล็กลง หรือ มีความเร็วลมมากขึ้นต่างก็จะช่วยให้เราสามารถไขปริศนาว่าพายุลูกนี้เกิดขึ้นมาได้อย่างไรนั่นเอง

เรียบเรียงโดย ทีมงาน SPACETH.CO

อ้างอิง

Hubble Shows Winds in Jupiter’s Great Red Spot Are Speeding Up

Chief Science | A 20-year-old biologist with a passion for space exploration, science communication, and interdisciplinarity. Dedicated to demystifying science for all - Since 2018.