NASA เตรียมหาบริษัทผลิตรถ Lunar Terrain Vehicle สำหรับโครงการ Artemis

หลังจากที่มีรายละเอียดออกมาว่าโครงการ Artemis ระยะยาวนั้นจะมียานพาหนะให้นักบินอวกาศไว้ใช้สำหรับการเดินทางในบริเวณ Artemis Base Camp ที่ขั้วใต้ของดวงจันทร์นั้น ล่าสุด NASA ก็ได้เริ่มประกาศแนวทางสรรหาบริษัทผู้ผลิตที่สนใจจะช่วยโครงการ Artemis พัฒนาและผลิตยานพาหนะที่เรียกว่า “Lunar Terrain Vehicle (LTV)” แล้ว

อ่านบทความ – โครงการ Artemis มนุษย์กลับสู่ดวงจันทร์ เจาะลึก สรุปทุกข้อมูล

โดย NASA ได้ประกาศหาบริษัทผู้ผลิตผ่านการ “Request for Information” ชื่อว่า Lunar Terrain Vehicle (LTV) Special Notice Update #1 หรือง่าย ๆ ก็คือการขอข้อมูลของแต่ละบริษัทที่สนใจโครงการโดยให้แต่ละบริษัทส่งข้อมูลเข้ามา จากนั้น NASA จึงจะเลือกประเมินข้อมูลของแต่ละบริษัท ไม่ว่าจะเป็นอายุการใช้งาน ความสามารถในการใช้งาน ความคงทน และอื่น ๆ โดยจะเปิด RFI ถึง 1 ตุลาคม 2021

โครงการนี้จึงเป็นโครงการ Commercial Lunar Service อย่างหนึ่ง โดยบริษัทเอกชนเป็นผู้ผลิต ส่วน NASA จะเป็นผู้ซื้อมาใช้ในโครงการ Artemis ซึ่งข้อกำหนดอย่างแรก ๆ ที่ NASA กำหนดไว้คือ LTV จะต้องใช้งานได้อย่างน้อย 10 ปี เพื่อรองรับโครงการ Artemis ที่เป็นโครงการระยะยาวหลายสิบปี และอาจมีการขยายฐาน Artemis Base Camp เพิ่ม จึงต้องมียานพาหนะไว้ใช้สำหรับการขนย้าย Payload ระหว่างภารกิจตลอด

นอกจากนี้ NASA ยังเปิดให้แต่ละบริษัทสามารถเข้ามาคุยกับตัวแทนของ NASA ได้แบบตัวต่อตัวเพื่อ Discuss ความต้องการของตัวโครงการและ Proposal ของแต่ละบริษัท โดยข้างล่างนี้คือส่วนหนึ่งของความต้องการของ NASA

  • LTV ในตอนนี้ที่ NASA ต้องการเป็น Unpressurized LTV ที่นักบินอวกาศในชุด EVA นั่งได้สองคน และรับน้ำหนักได้ประมาณ 550 กิโลกรัม
  • น้ำหนักของ LTV จะต้องสามารถปล่อยไปพร้อมกับยาน Lander ในโครงการ CLPS (Commercial Lunar Payload Services) ได้ หมายความว่ายิ่งเบายิ่งดี
  • LTV จะต้องสามารถขนน้ำหนักมวล 800 กิโลกรัมและเดินทางได้อย่างน้อย 20 กิโลกรัมด้วยการชาร์จเต็มเพียงหนึ่งครั้ง นอกจากนี้ LTV จะต้องสามารถทำงานได้ติดต่อกันอย่างน้อย 8 ชั่วโมง (ยกเว้นตอนกลางคืน)
  • LTV จะต้องไม่ติดหล่มแบบรถ Moon Buggy ของโครงการ Apollo หมายความว่ามันจะต้องปีนป่ายสภาพภูมิประเทศได้กีกว่าเดิม โดยจะต้องเดินทางขึ้นเนินหรือลงเนินที่มีความชั้นอย่างน้อย 20 องศาได้โดยไม่คว่ำ
  • LTV จะต้องชาร์จตัวมันเองได้ หมายความว่ามันจะต้องมีแผงโซลาร์เซลล์นั่นเองและจะต้องมีแบตเตอรี่เป็นของตัวเองโดยไม่ต้องพึ่งไฟฟ้าจากแหล่งอื่นในเวลากลางคืน
  • LTV จะต้องทนต่ออุณหภูมิที่สูงหรือต่ำแบบสุดขีดทั้งในช่วงเวลาตอนกลางวันและตอนกลางคืนบนดวงจันทร์
  • LTV จะต้องทำงานได้อย่างน้อย 10 ปี (รับประกัน 10 ปี)
  • LTV จะต้องทำงานได้ทั้งแบบที่มีคนควบคุมบนรถและแบบรีโมท
  • LTV จะต้องถูกออกแบบมาให้มี Failure Tolerance สูงมาก โดยต้องไม่ตายห่าตอนอยู่กลางดวงจันทร์แล้วนักบินอวกาศต้องเดินกลับฐานเอง (ซึ่งเป็นข้อที่สำคัญมาก)

อ่าน ๆ มาแบบนี้ก็ดูเหมือน NASA จะเรื่องมาก แต่หากพูดในทาง Engineering แล้วมันก็เป็นสิ่งสำคัญในการลดโอกาสที่จะเกิดความผิดพลาดหน้างานให้ได้มากที่สุด เพราะการจะส่งอะไรก็ตามไปดวงจันทร์เพิ่มเติมอย่างน้อยอาจใช้เวลาเป็นสัปดาห์นั่นเอง (ซึ่งสัปดาห์นึง ส่งของจากโลกไปดวงจันทร์ได้นี่ถือว่าเป็นสุดยอดแห่งการส่ง Emergency Resupply)

นี่ไม่ใช่ครั้งแรกที่นักบินอวกาศบนดวงจันทร์จะมีรถไว้ใช้ เพราะในโครงการ Apollo อย่าง Apollo 15 ก็มีรถ Lunar Roving Vehicle (LRV) หรือที่รู้จักกันในชื่อ Moon Buggy เช่นกัน ซึ่งถูกใช้อย่างน้อย 3 ภารกิจจนถึงภารกิจ Apollo 17 ก่อนที่จะสิ้นสุดโครงการ

ภาพของนักบินอวกาศ John Young, ลด Lunar Roving Vehicle (LRV) และยาน LM Orion ในโครงการ Apollo 16 – ที่มา NASA

แต่เนื่องจาก Artemis เป็นโครงการที่ใหญ่กว่านั้นมาก เร็ว ๆ นี้เราอาจจะได้เห็น Rover คล้าย ๆ Moon Buggy กลับมายังดวงจันทร์อีกครั้ง หรือแม้แต่ Pressurized Rover แบบใน The Martian ก็เป็นไปได้เช่นกัน

เรียบเรียงโดย ทีมงาน SPACETH.CO

อ้างอิง

NASA Prompts Companies for Artemis Lunar Terrain Vehicle Solutions

Lunar Terrain Vehicle (LTV) Special Notice Update #1

Chief Science | A 20-year-old biologist with a passion for space exploration, science communication, and interdisciplinarity. Dedicated to demystifying science for all - Since 2018.