หลังจากที่ KMUTT ร่วมกับ Freak Lab และทีม จัดการเรียนการสอน Astrobiotechnology ให้กับ นักศึกษาทั้งในระดับปริญญา ตรี โท และเอก ในมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้า ธนบุรี รวมไปถึงการปล่อย Class Material ทั้งหมดให้เป็น Open Source สามารถเข้ามาศึกษาได้ฟรี ๆ ก็มาถึงงาน Symposium ที่รวมบรวมเอาไอเดีย และสิ่งที่ได้จากการเรียนการสอน มารวมกันให้เป็นงานแห่งอนาคต ที่หยิบเอาประเด็นด้าน Bio-Design และ Space Exploration มาเพื่อตั้งคำถามถึงชีวิตในอนาคต ในยุคที่เราจะไม่ได้แค่มีชีวิตอยู่บนโลก
งานนี้จัดขึ้นที่ Future Tales Lab ซึ่งเป็น Lab วิจัยแห่งอนาคตของทาง MQDC ซึ่งต้องการหาองค์ความรู้ของการใช้ชีวิตในอนาคต ใน Extreme Scenario ซึ่ง “อวกาศ” และ “ดาวดวงอื่น” ก็เป็นหนึ่งใน Scenario ที่เรามองข้ามไม่ได้และมาแน่ ๆ ในอนาคต
ในงานนี้มีทั้งการนำเสนอผลงานของนักศึกษา ซึ่งเป็นการเสนอไอเดีย และ Prototype ของการทำศาสตร์ด้าน Biotech มารวมกับความรู้ด้าน Space Exploration ไม่ว่าจะเป็น การทำชุดนักบินอวกาศที่ไม่ใช่แค่สวมใส่แต่เชื่อมโยงกับชีวิตของเรา การนำผลผลิตจากพืชมาเป็นหนึ่งใน Material ที่ใช้สร้าง Habitat บนดาวอังคาร หรือการใช้กลไกทางชีววิทยาในการปรับสภาพของมนุษย์ให้เข้ากับสภาพแวดล้อมในอวกาศ
ยังมี Keynote พิเศษจากผู้มีประสบการณ์ในการผลักดันพัฒนาการด้านอวกาศในไทย ตั้งแต่ Freak Lab ซึ่งเป็น Lab วิจัยแห่งอนาคต ทีมผู้ร่วมสร้าง Space Exploration Tools ซึ่งเป็นเครื่องมือในการเรียนการสอนด้านอวกาศในรูปแบบของ STEM ที่ถูกนำมาปรับใช้ในการเรียนของค่าย JSTP – Junior Science Talented Project อย่างเป็นรูปธรรม ด้วยความร่วมมือจากทั้ง NARIT – สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, มหาวิทยาลัยมหิดล, มหาวิทยาลัย เทคโนโลยีพระจอมเกล้า ธนบุรี บริษัท Space Zab กลุ่มวิจัยอนาคต Freak Lab และสื่อออนไลน์ Spaceth.co
วัตถุประสงค์ของการจัดงานครั้งนี้ก็เพื่อกระตุ้นให้ทั้งทางภาครัฐ ภาคเอกชน สถาบันการศึกษา ในไทยทั้งหมด ได้เข้ามาเห็นว่าการพัฒนาด้านอวกาศ และ Deep Science เป็นสิ่งที่สำคัญและทำกันในระดับ Global Scale การจะดันขีดความสามารถของ บริษัทเทคโนโลยีในไทย สถาบันการศึกษา และมุมมองของประชาชนต่อ Deep Science เป็นสิ่งที่สำคัญ ไม่ใช่แค่ซื้อเทคโนโลยีจากต่างประเทศเข้ามาอย่างเดียว แต่เราต้องดันให้คนไทยเองมีความรู้ จากการได้ลองทำ ไม่ใช่แค่ไปศึกษา ไปจบนอกมา หรือไปทำวิจัยร่วมกับต่างประเทศในแบบที่เราไม่ได้เป็นเจ้าของความรู้หรือลงมือทำ
ในตอนสุดท้ายของ Symposium ได้มีการปิดท้ายถึงการอัพเดทความเป็นไปในด้านเทคโนโลยีอวกาศในอนาคต เราจะได้เห็น Trend ของบริษัทด้านที่เป็น Non-Space เข้ามาเป็นผู้เล่นในวงการอวกาศมากขึ้น เช่นการที่ Toyota ร่วมกับทาง JAXA ทำรถยนต์สำหรับการสำรวจดวงจันทร์ในโครงการ Artermis ของ NASA รวมถึงมุมมองของธุรกิจไทย จากฝั่งของ MQDC หรือ Magnolia Quality Development Corporation ซึ่งเป็น Leading Brand ด้านอสังหาฯ ในไทย ว่ามองความสำคัญของเทคโนโลยีฝั่ง Space ไว้ว่ามีความสำคัญ
สรุปก็คือในงานนี้เป็นการรวมตัวกันจากทั้งทาง สถาบันการศึกษา มากกว่า 3 มหาวิทยาลัยของไทย Flagship ด้านการเรียนเทคโนโลยีอวกาศ ทั้ง บางมด, เชียงใหม่ และมหิดล แบรนด์ใหญ่แห่งธุรกิจไทย MQDC บริษัทด้าน Deep Space Technology ที่มีผลงานระดับโลก อย่าง Space Zab และกลุ่ม Lab วิจัยแห่งอนาคต Freak Lab และสื่อออนไลน์ด้านอวกาศอันดับหนึ่งของไทย Spaceth.co มากระตุ้นให้ทุกฝ่าย เห็นความสำคัญ และเตือนถึงการมีอยู่ซึ่งกันและกันที่จะช่วยให้ การพัฒนาด้านอวกาศของไทยกลายเป็นสิ่งสำคัญ ซึ่งมันจะช่วยทำลายขีดจำกัดของงานวิจัยไทย และการใช้เทคโนโลยีจากต่างประเทศ
การสำรวจหาโลกใบใหม่และการใช้ชีวิตในอวกาศเป็นทางเลือกสำหรับทุกชีวิต เพราะสภาพแวดล้อมของโลกกำลังเข้าสู่จุดที่ไม่อาจย้อนกลับและเสื่อมโทรมจนไม่สามารถอยู่อาศัยได้อีกต่อไป ศูนย์วิจัยอนาคตศึกษา FutureTales Lab ภายใต้ MQDC เดินหน้าหาพันธมิตรที่เข้าใจและศึกษาเก็บข้อมูลเกี่ยวกับการเดินทางและการดำรงชีวิตบนอวกาศทั้งไทยและต่างประเทศ