ได้มีการค้นพบดาวฤกษ์ที่กำลังสั่นด้านใดด้านหนึ่งของมันในกาแล็กซีทางช้างเผือก ห่างจากเราไปประมาณ 1500 ปีแสง นี้เป็นครั้งแรกที่นักวิทยาศาสตร์ตั้งความคาดหวังไว้ว่าจะสามารถค้นพบดาวในระบบที่น่าอัศจรรย์ใจมากยิ่งขึ้น ด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัย จับตาและรับฟังพวกมันอย่างใกล้ชิด เพื่อที่จะเข้าใจมันได้มากยิ่งขึ้น
คุณ Dr. Simon Murphy จาก Sydney Institute for Astronomy ที่ University of Sydney ได้กล่าวว่า สิ่งที่ดึงดูดความสนใจแรกของเขาในการสำรวจครั้งนี้คือในความจริงแล้วองค์ประกอบทางเคมีของดาวฤกษ์ดวงนี้มันไม่ค่อยมีธาตุโลหะเป็นองค์ประกอบ ในขณะที่ดาวฤกษ์ส่วนใหญ่จะมีโลหะเป็นองค์ประกอบแทบทั้งหมด มันจึงหายากมากและถูกนับว่าเป็นของแรร์ด้วยซ้ำ
เขาได้เข้าร่วมทำงานกับหน่วยงานต่าง ๆ เพื่อที่จะทำการศึกษาและยืนยันการมีอยู่ของดาวฤกษ์ดวงนี้ และในตอนนี้เอง เขาได้เผยแพร่การค้นพบครั้งนี้ลงใน Nature Astronomy ดาวฤกษ์ดวงนั้นได้ชื่อว่า HD74423 ที่มีมวลเป็น 1.7 เท่าของดวงอาทิตย์ แถมยังเด้งไปอีกด้านแบบยุบหนอพองหนออีกด้วย
ดาวที่มีการเด้ง การยุบ การสั่น เป็นที่รู้จักกันมาเป็นเวลานานมาก ดวงอาทิตย์ในระบบสุริยะของเราก็มีการสั่นอย่างเป็นจังหวะตามจังหวะของตัวมันเองเช่นกัน จังหวะการเต้นของผิวดาวฤกษ์เหล่านี้เกิดขึ้นในดาวฤกษ์อายุน้อยและในดวงดาวที่เก่าแก่ ที่อาจมีช่วงเวลาสั้นหรือยาว หรือสาเหตุต่าง ๆ มากมาย
อะไรที่ทำให้มันยุบหนอพองหนอ
จากงานวิจัยที่ได้เผยแพร่ออกมาได้ระบุว่า HD74423 ดวงนี้อาศัยอยู่กับดาวแคระแดงอีกดวง เป็นระบบ Binary System มันทั้งสองโคจรรอบ ๆ ตัวกันเป็นเวลาสั้น ๆ เพียงแค่ 2 วัน และจากกฎของเคปเลอร์ที่ได้บอกเราว่าค่าของคาบยกกำลังสองแปรผันตามกำลังสามของระยะห่างระหว่างตัวมันเองกับดาวแคระแดง ทำให้นักดาราศาสตร์ได้รู้ว่าพวกันทั้งสองมีระยะห่างระหว่างกันน้อยมาก ๆ นั่นเอง
และการที่ดาวแคระแดงมาอยู่ใกล้กับดาวฤกษ์ในระยะที่ใกล้กันมาก ๆ ทำให้ความโน้มถ่วงของดาวแคระแดงไปส่งผลให้ความโน้มถ่วงของดาวฤกษ์ด้านที่มันอยู่ด้วยกันเกิดการยุบตัวและพองตัวออกแบบ Oscillations กันได้ ซึ่งการยุบตัวและพองตัวออกของดาวฤกษ์ดวงนี้จะแตกต่างกันออกไป ขึ้นอยู่กับมุมมองของผู้สังเกตและการโคจรเคลื่อนที่รอบ ๆ กันของระบบดาวคู่ ระยะทางของมันกับคู่ก็เป็นอีกปัจจับหนึ่งเช่นกัน
การศึกษาและการวิจัยในครั้งนี้ทางทีมวิจัยจึงตัดสินใจใช้ข้อมูลจากดาวเทียมสำรวจดาวเคราะห์นอกระบบ TESS ซึ่งสามารถตรวจสอบการเคลื่อนไหว การปล่อยแสง การยุบตัวและพองตัวออกของดาวฤกษ์ในครั้งนี้ได้
นอกจากทีมวิจัยได้ให้ความเชื่อมั่นว่าจะสามารถค้นพบและยืนยันดาวฤกษ์ดวงใหม่ที่ประพฤติตัวคล้ายกันกับดาวฤกษ์ดวงนี้เป็นอีกครั้งอย่างแน่นอน มันคงไม่มีดาวฤกษ์ดวงไหนบนเอกภพที่มีลักษณะแบบนี้เพียงดวงเดียวแน่ ๆ และด้วยเทคโนโลยีใหม่ที่มีความน่าเชื่อถือ แม่นยำ และละเอียดมากกว่าเดิมทำให้พวกเขาตั้งตารอวันที่จะได้พบดาวฤกษ์อีกดวงอย่างมีความหวัง
เพื่อความแม่นยำและได้ข้อมูลที่เกี่ยวกับดาวฤกษ์ประเภทนี้มากขึ้นทำให้พวกเขาต้องตั้งใจค้นคว้าเพิ่มอีกอย่างมาก แต่อย่างน้อยในตอนนี้พวกเขาก็ได้ค้นพบดาวฤกษ์ที่พวกเขาตั้งตารอคอย และเฝ้าฝันมาหลายปีแล้ว…
อ้างอิง
New type of pulsating star discovered – Phys.org
New type of pulsating star discovered – The University of Sydney