NASA ได้ประกาศคัดเลือก 4 ภารกิจ Astrophysics ภายใต้โครงการชื่อว่า Pioneers ซึ่งเน้นการสำรวจทางวิทยาศาสตร์ด้านพัฒนาการของกาแล็กซี รังสีคอสมิค การชนกันของดาวนิวตรอน ดาวเคราะห์นอกระบบสุริยะ นิวตริโน และอื่น ๆ อีกมากมาย โดยทั้ง 4 โครงการนี้ถูกเลือกให้ศึกษาเพิ่มเติมเพื่อศึกษาความเป็นไปได้และความคุ้มค่าของภารกิจ ซึ่งเน้นการประหยัดหรือ Affordable แต่มาพร้อมกับ Value ทางด้านวิทยาศาสตร์ที่มากกว่า ซึ่งทั้ง 4 ภารกิจนี้จะเป็นอุปกรณ์ที่ไม่มียานหรือกล้องโทรทรรศน์อันไหนถูกออกแบบมาให้ทำ มันจึงเป็นอุปกรณ์ที่มีความโดดเด่นในตัวนั่นเอง
4 โครงการที่ NASA ประกาศผ่าน NASA Selects 4 Concepts for Small Missions to Study Universe’s Secrets คัดเลือกให้ทำ Concept Study มีดังนี้
Aspera SmallSat
Aspera เป็นโครงการ SmallSat ซึ่งจะใช้ในการสำรวจพัฒนาการของกาแล็กซีต่าง ๆ ด้วยการสังเกตการณ์ในช่วงคลื่นแสง Ultraviolet ซึ่งจะคอยเก็บข้อมูลแก๊สที่อยู่ระหว่างกาแล็กซีเรียกว่า Interstellar Medium ซึ่งเราไม่เคยทำเครื่องมือเฉพาะสำหรับการวัดอะไรต่าง ๆ ใน Interstellar Medium มาก่อน โดยมี Carlos Vargas, University of Arizona เป็น Principal Investigator
ซึ่ง Aspera จะช่วยในการตรวจสอบสมบัติทางกายภาพและทางสัณฐานรวมถึงสร้างแผนที่ของแก๊สระหว่างกาแล็กซีที่เรียกว่า Circumgalactic Medium (CGM) ซึ่งเป็นแก๊สร้อนที่ยืดขยายออกมาจากกาแล็กซีต่าง ๆ โดยมันจะช่วยให้เราสามารถคาดการณ์ได้ว่ากาแล็กซีเหล่านี้มีพัฒนาการมาอย่างไรนั่นเอง
Pandora SmallSat
Pandora SmallSat จะศึกษาและสังเกตการณ์ดาวฤกษ์กว่า 20 ดวงและดาวเคราะห์นอกระบบหรือ Exoplanet อีกกว่า 39 ดวงในช่วงคลื่นแสงที่มองเห็นได้และ Infrared เพื่อตรวจสอบว่าแสงที่มาจากดาวฤกษ์ส่งผลอย่างไรต่อการวัดค่าต่าง ๆ บน Exoplanet จากระยะไกลเพื่อช่วยพัฒนาวิธีการวัดค่าทางไกลที่แม่นยำขึ้น ทำให้การค้นหาดาวเคราะห์ที่อยู่อาศัยได้ง่ายขึ้นนั่นเอง โดยมี Elisa Quintana จาก NASA Goddard Space Flight Center เป็น Principal Investigator
StarBurst SmallSat
StarBurst SmallSat จะถูกใช้ในการตรวจจับรังสีแกมมาพลังงานสูงซึ่งส่วนใหญ่จะเกิดจากการผสมรวมตัวกันของดาวความหนาแน่นยิ่งยวดอย่างดาวนิวตรอนซึ่งจะทำให้เกิด Gravitational Waves ที่สามารถตรวจจับได้โดยกล้องโทรทรรศน์วิทยุภาคพื้นโลกอีกด้วย อย่างไรก็ตามมีการตรวจจับเพียงครั้งเดียวเท่านั้นที่สามารถตรวจจับ Gravitational Waves ได้พร้อมกับคลื่นรังสีแกมมา (อ่าน – LIGO VIRGO ประกาศตรวจจับดาวนิวตรอนชนกันได้ครั้งแรก ) ซึ่งกล้องโทรทรรศน์วิทยุภาคพื้นดินนั้นสามารถช่วยตรวจจับ Gravitational waves ได้แต่ก็ไม่เท่า StarBurst ที่ถูกประมาณไว้ว่าจะตรวจจับได้อย่างน้อย 10 ครั้งต่อปี และจะเป็นการตรวจจับ Gravitational waves พร้อม ๆ กับรังสีแกมมาในคราวเดียวกัน โดยโครงการนี้มี Danial Kocevski ประจำ NASA Marshall Space Flight Center เป็น Principal Investigator
Payload for Ultrahigh Energy Observations (PUEO) Balloon
Payload for Ultrahigh Energy Observations หรือ PUEO Balloon เป็นภารกิจบอลลูนที่จะปล่อยบริเวณแถบแอนตาร์กติกาเพื่อตรวจจับสัญญาณจำพวกนิวตริโนกำลังสูงมาก ๆ (Ultra-high energy neutrinos) ที่เหมือนเป็นสัญญาณจากเหตุการณ์ต่าง ๆ ของเอกภพในอดีตที่เดินทางมาถึงเรา เช่น การเกิดหลุมดำ การเกิดดาวนิวตรอน การชนกันของดาวนิวตรอน ที่ห่างออกไปกว่าพันล้านปีแสงได้ โดย PUEO จะเป็นหนึ่งในอุปกรณ์ที่ไวต่อนิวตริโนเท่าที่เราเคยสร้างมาเลย Principal Investigator ของ โครงการ PUEO Balloon คือ Abigail Vieregg, University of Chicago
แน่นอนว่าโครงการเหล่านี้อาจจะยังไม่มีข้อมูลมากมายเพราะพึ่งถูกคัดเลือกให้ทำ Concept Study เท่านั้น หลังจาก NASA ประกาศคัดเลือกโครงการที่จะถูกปล่อยมาแล้ว เราคงจะได้เห็นรายละเอียดยิบย่อยกว่านี้แน่นอน ซึ่งโครงการทั้งสีโครงการนี้จะต้องทำอย่างไรก็ได้ให้ใช้งบต่ำกว่า 20 ล้านเหรียญสหรัฐ ถือเป็นการทดลองการทำ Low-cost หรือ Affordable Space Mission ของ NASA นั่นเองที่เปิดให้มือใหม่ในวงการมีโอกาสได้ทดลองทำอุปกรณ์ส่งขึ้นสู่อวกาศได้ ทำให้เรามีคนในวงการนี้มากขึ้นและขยาย Community ได้ง่ายขึ้นนั่นเอง