2020 SW ดาวเคราะห์น้อยขนาดเท่ารถเมล์โคจรเฉียดโลกที่ระยะ 22,000 กิโลเมตร

เมื่อวันที่ 24 กันยายน 2563 ดาวเคราะห์น้อย 2020 SW ที่จัดอยู่ในกลุ่มดาวเคราะห์น้อยใกล้โลก (near-Earth asteroid) ได้โคจรเฉียดผิวโลกไปที่ระยะทาง 22,000 กิโลเมตรและยังเฉียดวงโคจร Geostationary หรือวงโคจรคางฟ้าของโลกไปด้วยที่อยู่ที่ความสูง 36,000 กิโลเมตร โดยอ้างอิงจากความสว่างของ 2020 SW นักวิทยาศาสตร์คาดว่ามันมีขนาดเพียง 5 ถึง 10 เมตร เท่านั้น โดย 2020 SW ถูกตรวจพบในวันที่ 18 กันยายน 2563 โดย Catalina Sky Survey ซึ่งเป็นโครงการที่สันบสนุนโดย NASA โดยเป็นการตรวจพบเพียงแค่ 6 วันก่อนการเฉียดโลกเท่านั้น

ภาพจำลองดาวเคราะห์น้อยคล้าย 2020 SW – ที่มา NASA/JPL-Caltech

โดย CNEOS (Center for Near-Earth Object Studies) ของ JPL ได้คำนวณวงโคจรและวิถีของดาวเคราะห์น้อย 2020 SW ทันทีที่มันถูกตรวจพบเพื่อหาโอกาสที่มันจะพุ่งเข้าสู่ชั้นบรรยากาศของโลก โดยมันเข้าใกล้โลกมากที่สุดในวันที่ 24 กันยายน 2563 ทางตะวันออกเฉียงใต้ของมหาสมุทรแปซิฟิกและจะเข้าสู่วงโคจร Heliocentric รอบดวงอาทิตย์และไม่กลับมาโลกอีกจนกว่าจะถึงปี 2041

แอนิเมชั่นวงโคจรของ 2020 SW Fly-by เมื่อวันที่ 24 กันยายน 2563 จาก CNEOS – ที่มา NASA/JPL-Caltech

โดย CNEOS ระบุว่าที่ 2020 SW ถูกตรวจพบก็ตอนที่มันเข้าใกล้โลกแล้วเป็นเพราะว่ามันมีขนาดเล็กมากทำให้แสงที่มันสะท้อนจากดวงอาทิตย์มีน้อยและตรวจพบได้ยากกว่าวัตถุที่มีขนาดใหญ่กว่าเพราะวัตถุที่มีขนาดใหญ่กว่าจะสะท้อนแสงดวงอาทิตย์ได้มากกว่าและทำให้มันสามารถถูกตรวจผบได้ง่ายจากความสว่างปรากฏที่สูงขึ้นอย่างรวดเร็วผิดกับ 2020 SW ที่เล็กเกินไปที่จะมองเห็นได้ในระยะไกล ๆ

อย่างไรก็ตามคองเกรสมอบหมายให้ NASA สแกนวัตถุทองฟ้าใกล้โลก (NEO) ที่มีขนาดใหญ่กว่า 140 เมตรแล้วในปี 2005 และทาง CNEOS ระบุว่าความสามารถในการตรวจจับดาวเคราะห์น้อยใกล้โลกกำลังสูงขึ้นเรื่อย ๆ ทำให้เราสามารถเฝ้าระวังวัตถุความเสี่ยงสูงได้มีประสิทธิภาพมากขึ้น

เรียบเรียงโดย ทีมงาน SPACETH.CO

อ้างอิง

School Bus-Size Asteroid to Safely Zoom Past Earth

Chief Science | A 20-year-old biologist with a passion for space exploration, science communication, and interdisciplinarity. Dedicated to demystifying science for all - Since 2018.