สรุปเราควรใช้แผนที่โลกแบบไหนดีสุด

โลกกลม กระดาษแบน เรารู้กันมาเสมอว่าโลกกลมและทวีปต่าง ๆ ก็ถูกวางอยู่บนโลกที่เป็นทรงกลมรวมถึงตัวเราก็อยู่บนโลก ดังนั้นรูปทรงและขนาดของทวีปจึงอยู่บนทรงกลมที่อยู่ในลักษณะของปริภูมิยูคลิต (เอาเป็นว่าตอนนี้เราทราบว่ามันไม่ตามปริภูมิยูคลิตแล้ว แต่ก็ละไว้ในฐานที่เข้าใจ) แต่ว่าสิ่งที่เรามีเพื่อในการจดบันทึกนั้นคือกระดาษ

ปัญหาจึงเกิดเมื่อตัวของเรานั้นมีขนาดเล็กมาก ๆ ทำให้ภาพและความสามารถในการวัดนั้นเป็นสองมิติและแบนราบ แต่โลกของเรารวมถึงทุกสิ่งทุกอย่างอยู่บนพื้นผิวของโลกที่กลม ตามหลักของแคลคูลัส (คือเราตัวเล็กมากจนเห็นโลกที่โค้งจนกลายเป็นพื้นเรียบ) ดังนั้นการพยายามเอาข้อมูลจากการวัดมาให้อยู่ในกระดาษจึงเป็นเรื่องที่ยากมาก ๆ ตั้งแต่อดีต (ปัจจุบันยังเถียงกันอยู่เลย)

มนุษย์นั้นพยายามหาวิธีทำให้พื้นที่ต่าง ๆ ของโลกถูกยัดลงไปในกระดาษอย่างครบสมบูรณ์และสามารถใช้งานได้ดี ซึ่งทำให้เกิดแผนที่โลกในรูปแบบต่าง ๆ อย่างมากมายมหาศาล แต่วิธีหนึ่งที่ดูเหมือนจะนิยมมากที่สุดนั้นคือ วิธีแบบ Mercator 

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ mercator map

ผลการค้นหารูปภาà¸à¸ªà¸³à¸«à¸£à¸±à¸š world map

แผนที่โลกแบบ Ortelius oval

แต่เคยสังเกตหรือไม่ ว่าภาพของกรีนแลนด์นั้นมีขนาดใหญ่เทียบเท่าขนาดของทวีปแอฟริกาทั้งทวีปเลย แต่ทั้งที่เมื่อเราเรียนในวิชาภูมิศาสตร์กรีนแลนด์นั้นมีขนาดเล็กกว่าทวีปแอฟริกาอย่างไม่น่าเชื่อ (กรีนแลนด์แม่งเล็กอยู่แล้ว)

หรืออย่างรูปล่างกรีนแลนด์ก็ยังใหญ่อยู่ดี คือใหญ่กว่าอินเดียด้วยซ้ำ แล้วทำไมถึงเป็นแบบนั้นละ

แผนที่โลกแบบ Mercator ผิดตรงไหน

แผนที่โลกแบบ Mercator นั้นที่นิยมมากที่สุด มันถูกใช้เป็นสื่อการเรียนการสอนในสหรัฐอเมริกาและใน Google Maps (ในอดีต ตอนนี้ใช้ลูกโลกแทนแล้วเพราะคนโวยวายเยอะ) เกิดจาก Gerardus Mercator ที่คิดวิธีในการสร้างแผนที่โลกจากลูกโลก เพราะเขาทราบว่าลูกโลกนั้นพกพาไม่สะดวกอย่างยิ่ง เขาจึงใช้วิธีคือนำกระดาษมาม้วนรอบลูกโลกแล้ววาดรูปเหล่านี้ลงบนกระดาษที่ถูกม้วนรอบลูกโลก วิธีนี้เราจะได้รูปทรง รูปร่าง และ ทรวดทรงของทวีปต่าง ๆ อย่างถูกต้อง

Cylindrical Projection basics2.svg

เมื่อเราใช้แผนที่โลกในการนำทาง ปัญหาจะเกิดคือ โลกเราไม่ได้แบนราบเหมือนกับกระดาษ เมื่อเราวัดระยะทางและเส้นทางบนแผนที่โลกและอาศัยเข็มทิศและดาวในการระบุตำแหน่งเพียงอย่างเดียว ผลลัพท์ที่ได้คือเราไม่สามารถไปถึงเป้าหมายได้ถูกต้องนัก เป็นเพราะเรือที่เราใช้ในการเคลื่อนที่นั้นเคลื่อนที่ไปบนโลกที่กลม เราจึงเคลื่อนที่ไปบนส่วนของความโค้งบนพื้นผิวโลกมิใช่เสมือนการลากเส้นเป็นเส้นตรงบนแผ่นแผนที่ 2 มิติ

และปัญหาที่ใหญ่ที่สุดตั้งแต่กล่าวมาข้างต้นนั้นคือ ขนาดของทวีปต่าง ๆ มันผิดไปจากความเป็นจริงไปอย่างมากกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกก ( ก.ไก่ล้านตัว )

เมื่อเราพยายามเอาลูกโลกทรงกลมมาวาดใส่ลงบนกระดาษที่ราบเรียบ ด้วยวิธีนี้มันจะทำให้เมื่อละติจูดตามแนวแกน x นั้นเพิ่มหรือลดลงจากเส้นศูนย์สูตรมันจะมีขนาดที่ใหญ่ขึ้นเพราะว่าระยะทางระหว่างพื้นผิวของลูกโลกถึงกระดาษนั้นมากกว่าเส้นศูนย์สูตร ทำให้เมื่อเราเอามาวาดลงบนกระดาษ พื้นที่บริเวณเหนือ/ต่ำกว่าเส้นศูนย์สูตรจึงมีขนาดที่ใหญ่เกินกว่าความเป็นจริงเสมอ ถึงแม้ว่าทรวดทรงและรูปร่างจะถูกต้องก็ตาม

แล้วผิดขนาดไหนละ งั้นเรามาลองเทียบขนาดของเกาะกรีนแลนด์กับทวีปแอฟริกา เมื่อเราวัดขนาดของเกาะกรีนแลนด์ตามหน่วยเซนติเมตรบนแผนที่แล้ววัดเทียบกับขนาดของทวีปแอฟริกาเราจะได้ว่า กรีนแลนด์มีขนาดที่เรียกได้ว่าใหญ่กว่าแอฟริกาอย่างเห็นได้ชัดเลย แต่ทั้งที่ความเป็นจริงแล้ว กรีนแลนด์นั้นมีขนาดเล็กกว่าประเทศคองโกเสียอีกตามภาพด้านล่าง

แล้วถามว่ามันเป็นแบบนี้กับทุกประเทศเลยหรือไม่ คำตอบคือ ใช่ เพียงแต่ว่ามากหรือน้อยเท่านั้น หากประเทศที่อยู่ใกล้เส้นศูนย์สูตรความแตกต่างของขนาดบนแผนที่ชนิดนี้กับความเป็นจริงอาจจะเล็กน้อย และคลาดเคลื่อนไปบ้าง แต่หากเป็นพื้นที่ห่างจากเส้นศูนย์สูตรมาก ๆ อย่างกรีนแลนด์หรือแอนตาร์กติกา ขนาดของมันบนแผนที่กับเมื่อเทียบกับความเป็นจริงนั้นแตกต่างอย่างฟ้ากับเหวเลยทีเดียว

สรุปแผนที่แบบ Mercator นั้นทรวดทรง ( Sharp ) ถูกต้องแต่ ขนาด (Size) นั้นจะเพิ่มขึ้นตามละติจูดที่เพิ่มขึ้นจากเส้นศูนย์สูตรทำให้ขนาดของทวีปและประเทศผิดเพี้ยนไปอย่างร้ายแรง

Gall–Peters ก็มีปัญหา

Gall-Peters เป้นแผนที่โลกอีกแผ่นหนึ่งที่ออกมาเพื่อแก้ปัญหาที่ว่า แผนที่โลก Mercator มีปัญหาเรื่อง Size ของแผ่นดิน แผ่นทวีปบริเวณเส้นศูนย์สูตรผิดเพี้ยนไปจากความเป็นจริง ดังนั้นแผนที่โลกแบบ Gall-Peters จึงออกแบบมาเพื่อแก้ปัญหาในส่วนนี้เพื่อให้ขนาดของทุกพื้นที่บนโลกนั้นเท่ากันทั้งหมด แต่ความเสมอภาคของแผนที่นี้ดูเหมือนจะไม่เสมอภาคและสมมาตรเหมือนที่ออกมาเพื่อแก้ปัญหาอย่างที่ว่ากัน

แผนที่โลกแบบ Gall-Peters

แผนที่โลกแบบ Gall-Peters นั้นเมื่อดูจากรูปแล้วมันแก้ปัญหาที่ว่า กรีนแลนด์นั้นมีขนาดที่ใหญ่กว่าแอฟริกาเป็นอย่างมาก แต่มันทำให้เกิดปัญหาใหม่ที่เกิดขึ้นมาคือเรื่องของทรวดทรงที่ผิดเพี้ยนไปจากแต่เดิม เพราะเมื่อต้องการให้สัดส่วนของพื้นที่ต่าง ๆ บนโลกใบนี้เท่ากัน แสดงว่าต้องมีขนาดและทรวดทรงที่เพี้ยนไปอย่างเป็นเรื่องที่หลีกเลียงไม่ได้

ภาพแผนที่แบบ Gall-Peters นั้นมีสัดส่วนของแต่ละจุดมีขนาดที่ใกล้เคียงกัน เพียงแต่ว่าเมื่อเป็นเช่นนั้นแล้ว ทรวดทรงของรูปร่างแผนที่บนแผ่นแผนที่นั้นก็ย่อมผิดเพี้ยนไปจากความเป็นจริงด้วย

ดังนั้นมันก็ย่อมเป็นแผนที่ที่ผิดเพี้ยนไปจากความเป็นจริงเช่นเดียวกันกับแผนที่แบบ Mercator เช่นเดิมนั้นแล

แผนที่กับกลุ่มโลกแบน

แผนที่โลกแบบ Azimuthal equidistant เป็นแผนที่โลกอีกรูปแบบหนึ่งที่สมมุติจุดอาซีมุทไว้ที่ตำแหน่งใดตำแหน่งหนึ่งบนลูกโลกแล้วให้สายตาของเราตั้งฉากกับจุดอาซีมุทนั้นแล้ววาดภาพรูปพื้นผิวของลูกกโลกที่เราเห็นแบบ 4 มิติโดยอ้างอิงตำแหน่งจุดกึ่งกลางด้วยจุดอาซิมุท

แผนที่โลกแบบ Azimuthal equidistant

คืออธิบายคือเสมือนเรามองเห็นภาพของพื้นผิวโลกทั้งโลกโดยมองจากจุดอาซิมุท แล้วสมมุติว่าสามารถมองเห็นทะลุโลกลงไปได้โดยจุดที่มองยังคงเป็นจุดอาซีมุทแล้วค่อย ๆ วาดแผนที่ตั้งแต่โดยรอบอาซีมุทออกไปเรื่อย ๆ ในลักษณะเป็นรูปวงกลม

วิธีในการวาดภาพแผนที่โลกแบบ Azimuthal equidistant

ซึ่งมันก็จะแผนที่โลกแบบแปลก ๆ ที่ไม่มีอะไรหรอกถ้ากลุ่มคนที่เชื่อในโลกแบนไม่เอามาใช้ในการสนับสนุนทฤษฎีโลกแบนของตนเอง

โดยแผนที่นี้ชาวโลกแบนยึดถืออย่างหนักหนาเพราะว่าด้วยประการแรก มันสามารถอธิบายได้ว่าทำไมน้ำในมหาสมุทรถึงไม่ไหลออกจากโลกถ้าหากโลกแบนจริง ที่น้ำไม่ไหลตกออกจากโลกจนหมดเป็นเพราะว่าน้ำในมหาสมุทรนั้นถูกห้อมล้อมด้วยน้ำแข็งของแอนตาร์กติกาขนาดใหญ่ถึง 150 ฟุตที่ขอบของโลก ทำให้ไม่มีใครสามารถสำรวจหรือปีนเพื่อสำรวจแอนตาร์กติกาได้มาก่อน

ประการที่สองคือแผนที่นี้สามารถอธิบายว่าเที่ยวบินจากนิวยอร์กไปยังลอนดอนถึงเป้นเส้นตรงผ่านขั้วโลกเหนือ เป็นเพราะว่าโลกนั้นกลมเลยต้องบินขึ้นมาทางขั้วโลกเหนือ ทั้งที่จริง ๆ แล้วมันเป็นเรื่องของพื้นที่ผิวของโลก หากบินตรงข้ามแอตแลนติกจะมีระยะทางมากกว่าการบินอ้อมขั้วโลกเหนือเป็นอย่างมากส่งผลต่ออัตราการใช้เชื้อเพลิงและเวลาที่เพิ่มมากขึ้นอีกด้วย

และประการสุดท้ายคือแถว่าโลกแบนในลักษณะนี้สามารถอธิบายว่าโลกนั้นเกิดกลางวันกลางคืนได้อย่างไร โดยพวกเขาได้บอกว่าแท้จริงแล้วดวงอาทิตย์นั้นโคจรรอบโลกในรูปแบบเคลื่อนเป็นวงกลมรอบแผนโลก รวมถึงดวงจันทร์อีกด้วย ซึ่งแบบนี้พอที่จะสามารถอธิบายว่าจันทรุปราคาและสุริยุปราคาเกิดขึ้นได้อย่างไร แต่ถึงกระนั้นเราก็ทราบกันดีว่า โลกจริง ๆ นั้นกลม

สัญลักษณ์ขององค์การสหประชาชาติ ใช้ azimuthal equidistant เป็นหนึ่งในส่วนประกอบของสัญลักษณ์

แต่ว่าแบบไหนมันก็มีปัญหาทั้งนั้นแหละ! ในปี 1998 National Geographic Society ได้นำเสนอแผนที่โลกแบบ Winkel tripel โดยนำเสนอว่าเป็นแผนที่โลกที่ถูกต้อง สามารถระบุตำแหน่งของแผ่นดินและเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันได้ดีที่สุดแผนที่โลกแบบหนึ่ง ซึ่งมันก็ไม่ถูกต้องตามทรวดทรงและขนาดที่เป็นจริงอยู่ดี

แผนที่โลกแบบ Winkel tripel

สัดส่วนของพื้นที่ต่าง ๆ ในแผนที่โลกแบบ Winkel tripel

ซึ่งถามว่าปัญหาเกี่ยวกับรูปแบบของแผนที่โลกเป็นปัญหาใหญ่หรือไม่ แน่นอนแหละมันเป็นปัญหาใหญ่จริง ๆ ไม่ว่าจะเป็นตั้งแต่ความเข้าใจผิด ๆ ของกลุ่มคนโลกแบนจวบจนปัญหาเกี่ยวกับข้อพิพากษ์เรื่องเกี่ยวกับเขตแดนประเทศเนื่องด้วยการใช้แผนที่ที่ไม่เหมือนกัน แม้กระทั้งถูกใช้เพื่อสนับสนุนทฤษฎีเบร้อ ๆ อย่างโลกแบน

ซึ่งแผนที่โลกที่เสนอไปก็พยายามที่จะออกแบบเพื่อแก้ไขปัญหาของงแผนที่โลกต่าง ๆ ในอดีตที่ถูกสร้างมา แต่ไม่ว่าอย่างไร รูปแบบของโลกที่เป็น 3 มิติให้ถูกตบจนแบนเหลือเพียง 2 มิตินั้นย่อมไม่สามารถอธิบายเรื่องราวของโลก 3 มิติที่เป็นทรงกลมได้อย่างถูกต้องแม่นยำและเข้าใจได้อยู่แล้ว ดังนั้นหากจะว่าไปแผนที่โลกในลักษณะที่เป็นแผ่นหนึ่งเดียวนั้นยากที่จะสามารถอธิบายและมีรูปร่าง รูปทรงและขนาดได้ถูกต้องสมตามมาตราส่วนในโลกความเป็นจริง

สรุปแล้วแผนที่โลกแบบใดดีที่สุด

ไม่มีวันมีแผนที่โลกที่อยู่บนกระดาษ 2 มิตินั้นจะดีเทียบเท่าลูกโลก 3 มิติได้อย่างแน่นอน เนื่องด้วยในเมื่อโลกของเรานั้นเป็นทรงแบบ 3 มิติและกระดาษยังคงเป็น 2 มิติอยู่ ทางแก้ปัญหาที่ดีที่สุดคือวิธีการเดียวกับ Google Maps คือเลิกใช้แผนที่โลกแบบ 2 มิติแล้วหันมาใช้ลูกโลกในการอธิบาย แสดง หรือเปรียบเทียบแทน เพื่อความคลาดเคลื่อนที่น้อยที่สุด

แต่หากต้องการความถูกต้องแม่นยำในด้านภูมิศาสตร์โดยไม่ได้คำนึงถึงความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของโลกก็แนะนำให้เป็นแผ่นที่โลกแบบประกอบ อย่างเช่น Dymaxion ก็เป็นแผนที่โลกที่สมมุติให้โลกนั้นเป็นรูปทรงเหลี่ยมอย่างหกเหลี่ยมที่ประกอบเข้าด้วยกัน เมื่อคลี่ทรงนั้นออกมาแล้วจะได้หน้าตาของทวีปที่ออกมาแล้วสมส่วนและค่อนข้างที่จะถูกต้องตามหลักความเป็จริงเสียทีเดียวแต่อาจจะมองยากไปหน่อยเพราะรูปร่างหน้าตาของมันช่างแปลกตา

แผนที่โลกแบบ Dymaxion

ซึ่งแผนที่โลกแบบ Dymaxion นั้นก็ถูกนำมาใช้ในการอธิบายการเดินทางและขยายตัวของเหล่า Homo Sapiens จากแอฟริกาไปยังทวีปต่าง ๆ จนครบทั่วทุกมุมโลก ได้อย่างเข้าใจง่ายและมีความต่อเนื่องของเรื่องราวทำให้ง่ายต่อความเข้าใจ

แผนที่โลกแบบ Dymaxion ถูกใช้ในการอธิบายเรื่องราวในการเดินทางของมนุษยชาติจากดินแดนแอฟริกาจนครอบคลุมทั่วทั้งโลกใบนี้

หากใครอยากลองเทียบ ลองวัดและหรือสำรวจรูปทรงที่ของประเทศหรือทวีปในแผนที่โลกเทียบกับสเกลจริง ๆ แนะนำให้ลอง thetruesize.com เพื่อลองเทียบดูว่าทวีปแต่ละทวีปนั้นใหญ่แค่ไหน ทำให้เราพบว่าเราถูกแผนที่หลอกมาตลอดเลยจริง ๆ หรือนี่

 

อ้างอิง

แบบไหนก็มีปัญหาทั้งหมดนั้นแหละ

Why all world amp are wrong – Vox

thetruesize.com

List of map projections – Wikipedia

Jirasin Aswakool | บรรณาธิการและบรรณาธิการ Podcast อวกาศข้างบ้าน | จบชั้นมัธยมศึกษาจากโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย นนทบุรี | กำลังศึกษาชั้นปีที่ 1 อยู่ที่ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล |