เมื่อพระทำโครงการอวกาศ Gounji โครงการส่งพระพุทธรูปไปอวกาศ และขาย NFT

ศาสตร์ของการดูดาวและเฝ้ามองวัตถุบนท้องฟ้านั้นเก่าแก่ว่าศาสนาเสียอีก ไม่น่าแปลกที่เราจะพบมันในทุกวัฒธรรมทั่วโลก การมาพบกันระหว่างศานากับอวกาศจึงพบเห็นได้ทั่วไป ตั้งแต่ดวงดาวที่ปรากฎบนตราประจำศาสนา หรือมีความเกี่ยวข้องกับพิธีกรรม เช่น Star of Bethlehem ในวันประสูติของพระเยซู แม้กระทั่งในพุทธศาสนา ก็ยังมีการพูดถึงจักรวาลวิทยาในความเชื่อของศาสนาพุทธ เช่นกัน แต่เมื่อบริบททางวิทยาศาสตร์เข้ามา ผู้คนเริ่มคิดอย่างเป็นหลักการตรรกะมากขึ้น ความเชื่อทางศาสนาเริ่มถูกแทนที่ด้วยแนวคิดยุคใหม่ แต่ก็ยังน่าตื่นเต้น ที่บางศานาและลัทธิ สามารถปรับตัวเข้ากับบริบทที่เปลี่ยนไปของอวกาศได้

เรากำลังพูดถึงพระกลุ่มหนึ่งแห่งสำนักวัด ไดโกจิ วัดเก่าแก่ที่ก่อตั้งมาตั้งแต่ปีคริตศักราช 1115 ในญี่ปุ่น ที่ทำโครงการสำรวจอวกาศที่ชื่อว่าโกอุนจิ เป็นโครงการสร้างดาวเทียม CubeSat ขนาด 6U ที่มี Payload สำคัญเป็นพระพุทธรูปและภาพเขียนมันดาลา โดยร่วมมือกับบริษัทอวกาศ Terra Space ซึ่งมีสาขาอยู่ที่เกียวโตด้วย โดยตั้งงบตั้งแต่การสร้าง พัฒนา จนถึงการปล่อยไว้อยู่ที่ประมาณ 60 ล้านบาท

ภาพจำลองของดาวเทียมที่มีพระประธานอยู่ด้านใน ที่มา – Terra Space

โดยแนวคิดเบื้องหลังของโครงการดังกล่าวก็เกิดจากการที่ทางวัดไดโกจิ เห็นปัญหาว่าไม่ใช่ทุกคนที่จะมีโอกาสได้ไหว้พระได้ทุกที่ สมมติเวลาเกิดภัยพิบัติหรืออยู่ในพื้นที่ห่างไกลแล้วอยากขอพรก็ไม่รู้จะทำยังไง ก็เลยคิดโครงการว่าเราก็เอาพระพุทธรูปไปไว้บน Low Earth Orbit เอาซะเลย ทีนี้อยู่ที่ไหนบนโลกก็สามารถมองขึ้นไปบนท้องฟ้าและขอพรได้ โดยดูผ่านแอพว่าตอนนี้พระพุทธองค์ทรงโคจรอยู่ที่มุมเงยที่เท่าไหร่ (สรุปก็คือเป็น Starlink สำหรับวงการศาสนานั่นเอง – ฮา)

ในบทความที่ทางวัดได้ ให้สัมภาษณ์กับ Japan Times นั้นได้ระบุเอาไว้ว่า ทางวัดมีแผนที่จะทำโครงการอวกาศเพิ่มเติม รวมถึงหารายได้จากการขายสินค้าอย่างการขายเครื่องรางต่าง ๆ เพื่อนำรายได้มาทำนุบำรุงวัดเก่าแก่นับพันปีแห่งนี้ด้วย

และถ้าแค่นี้ยังล้ำไม่พอ ทางวัดยังมีโปรแกรมรับขอพร และส่งคำอธิธานผ่านการเก็บแบบ NFT (เชี้ยไรเนี่ย) เพื่อให้คำอธิฐานนั้นไม่ได้แค่ขอลอย ๆ แต่เป็นการขอพรแบบ Decentralize ด้วยเทคโนโลยี Blockchain ด้วย คือคำอธิฐานของเราจะถูกบันทึกไว้ในทุกคำอธิฐานของคนอื่น

ทุกวันนี้เราสามารถสร้างดาวเทียมขนาดเล็กขึ้นได้เองโดยใช้งบไม่มากนัก ผ่านการ Democratize การเข้าถึงอวกาศ ทำให้เด็ก ๆ มัธยมก็สามารถส่งดาวเทียมขึ้นไปโคจรรอบโลกได้ ในตัวอย่างของไทยก็เช่น การสร้างดาวเทียม BCC-Sat 1 ของโรงเรียนกรุงเทพคริสเตียน หรือ โครงการ MESSE ของ Spaceth ที่ส่งเพลงความฝันกับจักรวาลขึ้นสู่อวกาศผ่านการบรรจุลงใน DNA ซึ่งก็นับว่าเป็นจุดตัดระหว่างศิลปะ อวกาศ และดนตรี แต่สำหรับการส่งดาวเทียมของวัดไดโกจินั้น นับว่าเป็นการผนวกรวมครั้งใหม่ โดยนำเอาความเชื่อ ศาสนา ศิลปะ อวกาศ และเทคโนโลยี Blockchain มาใช้ ทำให้ศาสนามีที่ยืนร่วมกับบริบทโลกปัจจุบัน

ยังไม่มีกำหนดว่าทางวัดมีแผนจะส่งดาวเทียมดังกล่าวเมื่อไหร่ แต่ก็นับว่าเป็นหนึ่งในโครงการอวกาศที่น่าติดตามมากที่สุดโครงการนึง โดยสามารถติดตามโครงการได้ผ่านทาง Official Website

ทั้งนี้ พุทธศาสนานิกายมหายานนั้น ไม่ได้มีความเคร่งเท่ากับนิกายเถรวาทในประเทศไทย เพราะว่าโครงสร้างศาสนาในประเทศไทยนั้นมีความถูกติดกับรัฐเป็นหลัก (ชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์) ทำให้การ Decentralize ศาสนาในประเทศไทยนั้นแทบจะเป็นไปไม่ได้ (แนะนำให้ดูภาพยนตร์สารคดีเรื่อง เอหิปัสิสโก) เราจึงจะเจอพระมหายานทำอะไรที่เราไม่คุ้นกัน เช่น พระขับรถ พระมีเมีย พระเป็นดีเจ แต่ทั้งนี้เราก็ต้องย้อนกลับมาถามว่าแล้วศาสนาคืออะไร หน้าที่คืออะไร ขอบเขตของคำว่าศาสนาคืออะไร (จะบอกว่ามีศาสดา มีศาสนถาน มีพิธีกรรม ก็ไม่ถูกเพราะตำราเรียนของเราก็เพิ่งเขียนขึ้นมา)

อ่าน – Democratizing Access to Space อวกาศเป็นของราษฎรและมนุษยชาติ

สรุปก็คือ หลังจากนี้ เราจะเห็นโครงการข้ามศาสตร์มากขึ้น ซึ่งวัดโกอุนจิ วัดแรกในอวกาศแห่งนี้ ก็น่าจะแสดงให้เห็นถึงความเป็นไปได้ ความคิดสร้างสรรค์ และการนำศาสนาเข้ามาผูกโยงกับบริบทของโลกที่เปลี่ยนไปทุกวัน พร้อมกับเทคโนโลยีใหม่ ๆ อย่าง Space Exploration, Blockchain และอื่น ๆ ที่จะเกิดขึ้น แถมยังเป็นการตอกย้ำว่าศาสตร์ต่าง ๆ ไม่จำเป็นต้องถูกติดกับอำนาจโดยรัฐเพียงอย่างเดียว แต่ทุกคนควรมีเสรีภาพในการนิยาม สร้างสรรค์ศาสตร์ต่าง ๆ ตามแบบของตัวเอง

เรียบเรียงโดย ทีมงาน Spaceth.co

Technologist, Journalist, Designer, Developer - 21, I believe in anti-disciplinary. Proud to a small footprint in the universe. For Carl Sagan.