16 มิถุนายน 1963 นักบินอวรกาศหญิงวาเวนตินา เทเรสโคฟวา เป็นหญิงคนแรกที่ได้โคจรรอบโลก ตามาด้วย Sally Ride นักบินอวกาศหญิงอเมริกันคนแรกที่เดินทางขึ้นไปกับกระสวยอวกาศในปี 1983 (14 ปีหลัง Apollo 11 และ 20 ปีหลังเทเรสโคฟวา) หลังจากนั้นสเวทลานา สาวิทสกายา ก็กลายเป็นผู้หญิงคนแรกที่ได้ออกไปนอกยานด้วยการทำ Spacewalk ในปี 1984 ตามมาด้วย ความสำเร็จขั้นต่อคือการที่นักบินอวกาศหญิงออกไป Spacewalk ด้วยกันสองคนครั้งแรกในวันที่ 18 ตุลาคม 2019 … เอ๊ะ ได้เหรอ
ก่อนอื่นต้องบอกก่อนว่าการที่ผู้หญิงถูกส่งไปเป็นอันดับสองเสมอเป็นเพราะว่า ณ ตอนนั้นสังคมสร้างช่องว่างระหว่างเพศร่างกายชายและหญิงให้ต่างกันสูง ถูกต้อง แน่นอน แต่อีกหนึ่งปัจจัยที่กลายเป็นผสมควบคู่กันไปอย่างแยกไม่ออกก็คือข้อจำกัดทางด้านร่างกาย และเมื่อเราพูดถึงหัวข้อแนว ๆ นี้ เราไม่ได้จะบอกว่าผู้หญิงอ่อนแอกว่าผู้ชาย แต่เราจะพูดถึงความจริงในทางสรีรศาสตร์ว่าร่างกายผู้ชายกับผู้หญิงมันแตกต่างกันจริง ๆ รวมถึงผู้หญิงมีประจำเดือน (และผลกระทบต่าง ๆ ที่ตามมา), ขนาดร่างกายที่เล็กกว่า, ความสามารถด้านกล้ามเนื้อในทางสถิติ และอีกหลาย ๆ ความแตกต่างที่นำไปสู่ความจริงที่ว่า การส่งผู้หญิงขึ้นไปอวกาศท้าทายกว่าการส่งผู้ชาย (และการส่งผู้ชายก็ไม่ได้ง่ายอยู่ดี) ดังนั้น เราลองแยกประเด็นออกเป็น 2 ปัจจัยได้แก่ ปัจจัยทางสังคม (รวมถึงเศรษศาสตร์) และ ปัจจัยทางชีววิทยา
แต่ถามว่านั่นก็ไม่ใช่ข้อห้ามที่ห้ามไม่ให้ผู้หญิงขึ้นสู่อวกาศ สุดท้ายผ้าอนามัยก็กลายเป็นหนึ่งไอเทมสำคัญบนสถานีอวกาศนานาชาติ การที่เราเห็นนักบินอวกาศผู้หญิงอยู่บน ISS ก็ไม่ใช่เรื่องแปลกอะไรอีกแล้ว การทำสิ่งที่ “ง่ายกว่า” ก่อนก็ดูจะสมเหตุสมผลโดยเฉพาะในเชิงการบริหารจัดการงบประมาณ, การขนส่ง ทั้งหลายด้วย
ร่างกายของมนุษย์ถูกพัฒนาขึ้นมาตามกระบวนการทางวิวัฒนาการ โดยความหลากหลายทางชีววิทยานี้ทำให้เราสามารถสืบเผ่าพันธุ์และพัฒนาต่อไปในรุ่นที่ดีขึ้น (Natural Selection) แต่อย่าลืมว่ามนุษย์นั้นเป็นสิ่งมีชีวิตที่ท้าทายศักยภาพด้านร่างกายมาตลอด ถ้าจากส่วนตัวผู้เขียนมองอย่างน้อยก็คือมากกว่าสัตว์ประเภทอื่น ๆ อาจจะด้วยปัจจัยด้านสังคมประกอบเข้าด้วย เอเลียด คิปโชเกก็เพิ่งจะทำลายสถิติการวิ่งมาราธอนต่ำกว่าสองชั่วโมงไป ดังนั้นถ้ามนุษย์จะต้องเผชิญกับขีดจำกัดด้านร่างกายในการทำอะไร ก็อย่าได้ไปน้อยเนื้อต่ำใจว่าทำไมคิปโชเกทำได้แต่เราทำไม่ได้ แต่ควรจะยินดีกับเพื่อนมนุษย์ที่ได้บันทึกการทำลายข้อจำกัดนี้เพื่อท้าทายให้คนอื่นทำอีก
ธรรมชาติไม่ได้ใจร้ายให้ผู้หญิงไปอวกาศได้ยากขึ้นหรอก เพียงแต่มันไม่เคยอยู่ในตัวแปรของการเลือกสรรโดยธรรมชาติต่างหาก ธรรมชาติไม่ได้คิดว่าการมีประจำเดือนในอวกาศมันเลอะเทอะเพราะธรรมชาติไม่ได้ออกแบบมาให้ขึ้นไปอวกาศ! การทำสิ่งที่ท้าทายขีดจำกัดของธรรมชาตินั้นจึงต้องค่อยเป็นค่อยไป และค่อย ๆ ช่วยกันผลักดัน
ประเด็นเรื่อง Spacewalk หญิงล้วนครั้งแรก ที่เป็นประเด็นดราม่ามาก่อนหน้านี้
ก่อนหน้านี้มีประเด็นว่า NASA ยกเลิกการทำ Spacewalk โดยนักบินอวกาศหญิงล้วนในเดือนมีนาคม ซึ่งเราก็เอามาเล่าในบทความ ทำไมการยกเลิก EVA โดยนักบินอวกาศหญิงล้วน ไม่ควรเป็นประเด็นดราม่า ให้อธิบายคร่าว ๆ ก็คือตอนนั้นคุณ Anne McClain เธอใส่ชุด EVA ที่ต้องใส่ออกไปนอกยานแล้วหลวมทำให้ปฏิบัติงานได้ไม่สะดวกนั่นเอง ซึ่งก็ได้สร้างกระแสด้านลบบน Social Media ว่า แล้วทำไมไม่มีชุดไซส์ผู้หญิง ซึ่งเหตุผลก็คือชุด EVA นั้นถูกพัฒนาขึ้นมาโดยอ้างอิงทางสถิติ และบริหารจัดการภายใต้ NASA ISS Payload Operation Center ที่ต้องคำนึงถึง Cost ในการส่งขึ้นไป ทำให้ ISS ไม่สามารถมีชุดทุกไซส์สำหรับทุกคนได้ เรื่องนี้จึงไม่ควรเป็นดราม่าเลย
18 ตุลาคม 2019 ได้ Spacewalk หญิงทีมแรก
18 ตุลาคม 2019 ซึ่งก็ปกติที่นักบินอวกาศจะมีการออกไปนอกยานเพื่อทำการซ่อมแซมระบบต่าง ๆ ของสถานีอวกาศนานาชาติ ตารางวันนี้ Christina Koch และ Jessica Meir สองนักบินอวกาศหญิงก็ได้ถูกลงตารางให้ไป Spacewalk เพื่อเปลี่ยนแบตเตอร์รี่ BCDU นอกตัวสถานี
ปกติแล้ว NASA จะออกมาให้ข้อมูลกับภารกิจการ Spacewalk แต่ละครั้งโดยละเอียดอยู่แล้ว แต่ในครั้งนี้เราคาดว่าเนื่องจากมีประเด็นเรื่อง Female เข้ามา ทำให้ได้รับความสนใจเป็นพิเศษ (แต่เดี๋ยวจะบอกว่าทำไมเราให้ความสำคัญผิดประเด็น)
ประธานาธิบดี Donald Trump ก็ได้ให้ความเห็นว่า Koch และ Meir นั้นเป็น “brave, brilliant women.” (ซึ่งจริง) และบอกว่านี่คือ “the first time for a woman outside of the space station,” (ซึ่งไม่จริง) และ Meir ก็ได้แก้ตรงนี้ แล้วก็บอกว่า “We don’t want to take too much credit” ตรง ๆ “This is really just us doing our jobs,” คือบอกว่าไม่ได้มีอะไรพิเศษ เราแค่ออกไปทำงาน
ถ้าเราเป็นคนที่ชื่นชมกับภารกิจครั่งนี้เราควรจะดีใจอย่างสมเหตุสมผลก็ได้แก่
- ดีใจที่ NASA สามารถบริหารจัดการชุดนักบินอวกาศได้หลากหลายสำรับภารกิจมากขึ้น (และอย่าลืมว่านี่อาจจะเป็นเรื่องบังเอิญ)
- ดีใจที่ Christina Koch และ Jessica Meir เธอทั้งคู่ปฏิบัติภารกิจอย่างสำเร็จลุล่วงและปลอดภัย ไม่มีอันตราย
The New York Times ได้เขียนถึงภารกิจในครั้งนี้ โดยได้หยิบประเด็นสำคัญนึงขึ้นมาพูดถึงด้วยก็คือ NASA เองได้ระบุไว้ในเว็บไซต์ว่า ไม่ได้วางแผนให้มีการทำ Spacewalk โดยหญิงล้วน สิ่งที่เกิดขึ้นมาจากการเพิ่มจำนวนขึ้นของนักบินอวกาศหญิงเอง (The all-woman spacewalk wasn’t something we purposefully planned, though. It was bound to happen eventually because of the increasing number of female astronauts.)
เรายังมีอีกหลายข้อจำกัดที่ต้องก้าวข้าม ดังนั้นการรู้ว่า Spacewalk ครั้งนี้ไม่ได้มีอะไร โดยเฉพาะปัจจัยด้านร่างกายให้ก้าวข้ามก็ทำให้เราเข้าใจธรรมชาติที่มันเป็นจริง ๆ
แม้การ Spacewalk โดย Koch และ Meir จะพิสูจน์ว่าการปฏิบัติภารกิจหญิงเดี่ยวในอวกาศนั้นเป็นไปได้ แต่มันก็ถูกพิสูจน์มาในหลายกรณี หลายครั้ง หลายรูปแบบแล้ว อ้างอิงจากข้อมูลของ NASA Press Relase ในทางสถิติ การ Spacewalk ครั้งนี้เป็นการทำ Spacewalk ครั้งที่ 43 ที่มีผู้หญิงในทีม และ Meir เองเธอก็เป็นหญิงคนที่ 15 ในโลกที่ได้ออกไป Spacewalk การ Spacewalk ครั้งนี้ จึงไม่ได้มีนัยอะไรในแง่ของการปลดล็อกข้อจำกัดด้านการสำรวจอวกาศของผู้หญิง หรือเป็น Historical Record มากกว่าเป็น Archivment Record ที่บอกว่าเป็นความสำเร็จ
เพราะถ้าเราจะบอกว่ามันคือความสำเร็จในการผลักดันความเท่าเทียมทางเพศ ก็ต้องตอบให้ได้ว่าอะไรสำเร็จ ? อย่างไร ?
เราไม่ปฏิเสธว่าคำว่า “การ Spacewalk โดยหญิงเดี่ยวครั้งแรก” เป็นคำที่ฟังดูดีและอาจจะกระตุ้นความเท่าเทียมทางเพศ แต่สำหรับเราแล้ว การยอมรับความเท่าเทียมทางเพศคือการยอมรับในความหลากหลายและมองมันเป็นเรื่องปกติ สำหรับกรณีนี้เป็นเพียงแค่ Diversity ในทางสถิติอย่างเดียวเท่านั้น
เพราะสุดท้าย ถ้าเรายังต้องมาแบ่งว่าภารกิจไหนเพศชายหรือหญิงก็แปลว่าเรายังต้องแบ่งเพศกันอยู่ดี เราไม่ไม่ได้ไม่เห็นด้วยกับการเฉลิมฉลองต่อการ Spacewalk โดยนักบินอวกาศหญิงทีมแรกถ้าใครจะเห็นว่ามัน Inspring แต่การเฉลิมฉลองด้วยเหตุผลที่ดี และตรงกับประเด็นที่เราอยากเฉลิมฉลองก็น่าจะเสริมกระบวนการคิดอย่างเป็นเหตุเป็นผลของเรามากขึ้น
เรียบเรียงโดย ทีมงาน Spaceth.co