IRSO ยืนยันแล้วว่า พวกเขาสูญเสียการติดต่อกับดาวเทียม GSAT-6A ดาวเทียมสื่อสารขนาดใหญ่ของประเทศอินเดียเอง ที่เพิ่งส่งไปเมื่อวันที่ 29 มีนาคมที่ผ่านมา โดยจรวด GSLV รหัส -F08 จาก Satish Dhawan Space Centre ใน Sriharikota ใกล้ๆกับอ่าวเบงกอล
ดาวเทียม GSAT -6A เป็นดาวเทียมสื่อสารขนาดใหญ่ ขนาด 1.53 x 1.65 x 2.4 ม. ของ IRSO มีน้ำหนักถึง 2140 กิโลกรัม ถูกส่งขึ้นไปเมื่อวันที่ 29 มีนาคม 2018 เวลา 16.56 น. (IST) ซึ่งช้ากว่าไทย 1.30 ชม. เป็นดาวเทียมสื่อสารประสิทธิภาพสูง ในย่านความถี่ S BAND (ช่วงความถี่คลื่นไมโครเวฟ) และ C BAND (ช่วงความถี่คลื่นวิทยุ) ดาวเทียมนี้จะช่วยปรับปรุงการสื่อสารผ่านดาวเทียมให้ดียิ่งขึ้น โดยเฉพาะการสื่อสารในพื้นที่ห่างไกลความเจริญ ซึ่งเป็นประโยชน์อย่างมากกับกองกำลังทหาร ที่ทำงานในพื้นที่ห่างไกล และมีสัญญาณโทรศัพท์น้อย จะได้สะดวกในการติดต่อสื่อสารมากขึ้น และยังมีเทคนิคการจัดการเครือข่าย ที่จะเป็นประโยชน์กับแอปพลิเคชันที่ใช้การสื่อสารผ่านดาวเทียม จุด perigee ของดาวเทียม (จุดที่ใกล้ที่สุดกับโลก) อยู่ที่ 169.4 กม. apogee point to Earth (จุดที่ไกลโลกที่สุด) ที่ 36,692.5 กม. ตัวดาวเทียมถูกวางแผนไว้ว่า จะมีอายุการใช้งานนานถึง 10 ปี
ในช่วงแรกดาวเทียมทำงานได้เป็นปกติดี ตอนเช้าของวันที่ 31 มีนาคม การจุดเชื้อเพลิงของดาวเทียมเพื่อเร่งความเร็ว ซึ่งจะเพิ่มระดับความสูงของวงโคจร ทั้งสองครั้ง ก็ผ่านไปได้ด้วยดี โดยเครื่องยนต์ LAM (liquid apogee motor) ใช้เวลาไปประมาณ 53 นาที ขณะที่กำลังเตรียมการจุดเชื้อเพลิงอีกครั้ง เพื่อที่จะโคจรรอบที่สาม ในวันที่ 1 เมษายน ซึ่งเป็นรอบสุดท้ายที่โคจรเพื่อเพิ่มความสูง จนถึงระดับวงโคจร Geosynchronous orbit (GSO) ซึ่งเป็นวงโคจรที่มีคาบการหมุนรอบตัวเองเท่ากับการหมุนของโลก ดาวเทียมก็ได้ขาดการติดต่อทันที หลังจากขาดการติดต่อกับดาวเทียม ทาง IRSO ได้แถลงการณ์ว่า
หลังจากการจุดเชื้อเพลิงทั้งสองครั้งสำเร็จ ขณะที่ดาวเทียมกำลังดำเนินการตามปกติ เพื่อที่จะจุดเชื้อเพลงครั้งที่ 3 ซึ่งเป็นครั้งสุดท้าย ในวันที่ 1 เมษายน 2018 นั้น ดาวเทียมก็ได้สูญเสียการติดต่อ ขณะนี้ทางเรากำลังพยายามติดต่อกับดาวเทียมอยู่
The Times of India รายงานว่า การสื่อสารหยุดลงภายในไม่กี่นาทีหลังจากยานได้จุดเชื้อเพลิงครั้งที่ 2 สำเร็จ ทางหน่วยงานได้รับข้อมูลจากดาวเทียมประมาณ 4 นาที ก่อนที่จะหายไป ขณะนี้ IRSO กำลังพยายามที่จะติดต่อดาวเทียมอยู่ ภารกิจกำลังถูกควบคุม และจับตา อย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้ ข้อมูลที่ได้รับจากทาง IRSO ยังมีความเป็นไปได้ที่การติดต่อกับดาวเทียมจะสำเร็จ แต่ถึงอย่างนั้น เขาไม่ได้บอกรายละเอียดที่เจาะจงแต่อย่างใด
การพยายามติดต่อกับดาวเทียม และกู้คืนข้อมูลอีกครั้ง จะสำเร็จหรือไม่ คงต้องติดตามกันต่อไป สำหรับตัวผู้เขียนเองคิดว่า โอกาสที่จะสำเร็จค่อนข้างน้อย เนื่องจากการพยายามติดต่อกับดาวเทียมที่สูญเสียการติดต่อไปแล้ว เป็นเรื่องยาก อาจต้องใช้ระยะเวลาที่ค่อนข้างยาวนาน กว่าที่สัญญาณแรกของดาวเทียมจะกลับมาอีกครั้ง ไม่แน่ว่าขณะที่ดาวเทียมสูญเสียการติดต่อ มันกำลังค่อยๆโหม่งลงบนชั้นบรรยากาศโลก จนหายไปแล้วก็ได้ เพราะว่าดาวเทียมยังไปไม่ถึงวงโคจร GSO วงโคจรเป้าหมายเลย ด้วยระดับความสูงที่ต่ำกว่า บวกกับการที่ต้องล่องลอยเคว้งคว้าง อย่างโดดเดี่ยว โดยไร้การควบคุมเช่นนี้
อ้างอิง