ภายในตอนที่ 7 นี้เราจะมาเล่าข่าวอวกาศให้ฟังกันถึง 4 ข่าวด้วยกัน ตั้งแต่ ข่าวสำคัญประจำปี 2019 เมื่อโครงการ Event Horizon Telescope ได้เผยแพร่ภาพถ่ายหลุมดำภาพแรกของโลกออกมาให้ชาวโลกได้รับชมกัน
ต่อด้วยการศึกษาองค์ประกอบของตะกอนไนเตรดและไนไตร์ดบนพื้นผิวของดาวอังคารที่มีอายุ 3,100 ล้านปี ซึ่งสามารถทำให้สืบได้ถึงเหตุการณ์การพุ่งชนของดาวเคราะห์นำไปสู่กระบวนการสร้างสารอินทรีย์บนพื้นผิวและอาจะเป็นไปได้ว่าดาวอังคารในอดีตอาจเคยมีสิ่งมีชีวิตอาศัยอยู่บนดาวก็เป็นไปได้
ต่อด้วยยาน Curiosity ถ่ายภาพสุริยคราสบนดาวอังคารได้ซึ่งเกิดจากการพาดผ่านของดวงจันทร์โฟบอสและดีมอสซึ่งเป็นดวงจันทร์บริวารของดาวอังคาร สุดท้ายด้วยเรื่องราวของยาน OSIRIS-Rex ที่เดินทางไปยังดาวเคราะห์น้อยเบนนู เพื่อทำการเกิดตัวอย่างและเดินทางกลับมายังโลก ซึ่งเมื่อยานได้เข้าสู่วโคจรของดาวเคราะห์น้อย ยานได้พบว่าภายในวงโคจรนั้นเต็มไปด้วยหินที่ลอยโคจรล้อมรอบดาว ซึ่งอาจเป็นอันตรายต่อตัวยานได้
รับฟังได้ผ่าน
ผู้ดำเนินรายการ
จิรสิน อัศวกุล (อิ้งค์) และ นาวิน งามภูพันธุ์ (นิว)
เนื้อหา
EP07.1
- เบรคที่ 1 พูดคุยกันถึงเรื่องของหลุมดำก่อนการเปิดตัวภาพถ่ายหลุมดำครั้งแรกของโลก
- เบรคที่ 2 โทรศัพท์พูดคุยกับนาวินเพื่อเพิ่มเติม / แก้ไขเนื้อหาของหลุมดำหลังจากทาง EHT ได้เปิดเผยภาพถ่ายหลุมดำเรียบร้อยแล้ว
- เบรคที่ 3 เล่าเรื่องการค้นพบสารประกอบไนเตรดและไนไตร์ดบนพื้นผิวขอดาวอังคารนำไปสู่การเข้าใจชั้นบรรยากาศของดาวอังคารเมื่อ 3,100 ล้านปีก่อนของดาวอังคารซึ่งอาจจะเหมาะสมกับการกำเนิดของสิ่งมีชีวิตและอาจเกิดชีวิตบนดาวอังคารก็เป็นไปได้
EP07.2
- เบรคที่ 1 เล่าข่าวเรื่องยาน Curiosity ถ่ายภาพสุริยคราวบนดาวอังคารที่เกิดจากการพาดผ่านดวงอาทิตย์ของดวงจันทร์บริวารของดาวอังคาร
- เบรคที่ 2 เล่าข่าวยาน OSIRIS-Rex ค้นพบหินจากดาวเคราะห์น้อยเบนนูลอยล้อมรอบดาวซึ่งเสี่ยงต่อการทำการวิจัยและเก็บตัวอย่างของหินบนดาวเคราะห์น้อยเบนนูเพื่อส่งกลับยังโลก
รูปภาพประกอบเนื้อหา
ลิงค์ประกอบภายในตอน