พาชม SOLAR LAND ล่า ท้า แสง นิทรรศการล่าสุดที่ TCDC เมื่อแสงอาทิตย์คือพลังงานแห่งอนาคต

น่าจะเป็นที่ทราบดีกันอยู่แล้วว่าอนาคตของพลังงานของเราน่าจะไปในทางพลังงานแสงอาทิตย์ ซึ่งเป็นแหล่งพลังงานที่มีอย่างไม่จำกัด และยั่งยืนมาก ช่วงหลัง ๆ เราจะเห็นว่าแนวโน้มการออกแบบ รวมถึงการสรรหาพลังงานจะไปในทางพลังงานแสงอาทิตย์ หรือ Solar Energy กันไปหมด ใครที่ตามอ่านพวกเราอยู่บ่อย ๆ ก็จะทราบดีว่า ในวงการวิทยาศาสตร์ รวมถึงในอวกาศ พลังงานแสงอาทิตย์เป็นแหล่งพลังงานที่สำคัญมาก สำหรับการใช้ชีวิตในอวกาศ บนสถานีอวกาศ หรือแม้กระทั่งบนดวงจันทร์และดาวอังคารในอนาคต

แต่ก่อนที่เราจะไปดวงจันทร์หรือดาวอังคาร โลกของเรา ด้วยการเปลี่ยนแปลงทางภูมิอากาศ และโอกาสในการหมดไปของเชื้อเพลิงถ่านหิน รวมถึงผลผลิตที่ได้จากการเผาเพื่อสร้างพลังงาน ล้วนสร้างความไม่ยั่งยืนให้กับโลก ดังนั้น การโฟกัสไปที่พลังงานสะอาดอย่าง Solar Energy จึงมีความสำคัญ

ล่าสุด ทาง TCDC ก็ได้ร่วมมือกับ คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน จัด Exhibition ที่มี Story เป็น Solar Energy หรือพลังงานแสงอาทิตย์ ที่จะนำเอาความคิดสร้างสรรค์ และการประยุกต์ใช้ Solar Energy ใน Application ต่าง ๆ มาเล่าเป็นเรื่องราว พร้อมกับบรรยากาศเท่ ๆ ให้เราได้ไปศึกษา และค้นหาแรงบันดาลใจกัน

นอกจากสาระความรู้แล้ว ตัวงานยังไม่ลืมที่จะเพิ่มความสนุกสนานผ่านกิจกรรมรูปแบบ Interactive และเกมต่าง ๆ ให้ผู้เข้าร่วมไม่รู้สึกว่ามีแต่สาระอย่างเดียว ซึ่งในแต่ละมุมก็จะสามารถถ่ายรูปเท่ ๆ ได้อีกด้วย

พาชมนิทรรศการ Solar Land ล่าท้าแสง

วันนี้ทีมงานพาทุกคนมาที่ศูนย์ความรู้ด้านการออกแบบ และความคิดสร้างสรรค์ หรือ TCDC ที่อาคารไปรษณีย์กลางบางรัก เพื่อมาเยี่ยมชม “Solar Land” ล่า ท้า แสง สู้อนาคต ซึ่งนิทรรศการจะจัดกันยาว ๆ ตั้งแต่วันที่ 8 ตุลาคม จนถึง 27 ธันวาคม 63 เลยทีเดียว

โดยเนื้อหาหลักของ Exhibition อย่างที่บอกว่าเป็นการให้ความรู้เกี่ยวกับ โอกาสในอนาคตของพลังงานสะอาด โดยที่เราจะเป็น “ผู้ล่าแสง” ทั้งในมุมของเศรษฐกิจ การลงทุน และนวัตกรรม หรือสิ่งประดิษฐ์ต่าง ๆ ที่ใช้แสงอาทิตย์มาช่วยทำงาน กระตุ้นความคิดสร้างสรรค์ ซึ่งเนื้อหาในงานจะแบ่งหลัก ๆ เป็น 4 ส่วนได้แก่

  • Sun & Solar จะสรุปว่า เราเป็นผู้ล่าแสงประเภทประเภทไหน ตั้งแต่ เรา (ล่าแสงเพื่อใช้งานในชีวิต) รอด (ล่าแสงเพื่อโอกาสของคนในพื้นที่ห่างไกล) โลก (ล่าเพื่อโลกและสิ่งแวดล้อม) และกำไร (สร้างโอกาสทางธุรกิจ)
  • Solar Monopoly ตัวนี้จะคล้าย ๆ กับเกมเศรษฐี เป็นนิทรรศการแบบ Interactive เราสามารถเล่นได้ เอามือไปแตะจอ เพื่อเลือกว่า เราจะเป็นผู้ล่าแสงประเภทไหน จากนั้นเราจะได้ดูสิ่งประดิษฐ์ต่าง ๆ ที่ใช้พลังงานแสงอาทิตย์
  • Solartopia เล่าเรื่องเมืองที่ใช้ประโยชน์จากพลังงานแสงอาทิตย์
  • Solar Rooftop เป็นการเปลี่ยนบริเวณชั้นดาดฟ้าของอาคารไปรษณีย์กลางบางรักให้เป็น สวนที่เต็มไปด้วยการใช้พลังงานจากแสงอาทิตย์มากมาย

โดยในแต่ละโซนก็จะมีการนำเอาชิ้นงานต่าง ๆ มาเล่าเรื่องราว ซึ่งทีมงานจะหยิบยกเอาตัวชิ้นงานที่น่าสนใจมาเล่าให้ฟัง โดยเริ่มจากโซน Solar Monopoly ซึ่งจะเป็นการแสดงชิ้นงานต่าง ๆ ที่ใช้พลังงานแสงอาทิตย์

สิ่งประดิษฐ์จากพลังงานแสงอาทิตย์ ตั้งแต่เครื่องกรองน้ำ ไปจนถึงยานอวกาศ

Solvatten เครื่องกรองน้ำพลังงานแสงอาทิตย์ เอาเครื่องไปตากแดด ก็ได้น้ำสะอาด เป็นโจทย์ที่ได้มาจากการขาดแลนน้ำในบริเวณต่าง ๆ ของโลก ไอเดียของการใช้พลังงานแสงอาทิตย์ในการกรองน้ำจึงเข้ามา สำหรับ Solvatten ก็จะใช้วิธีการนำน้ำปริมาณ 11 ลิตร นำไปใส่เครื่องและตั้งไว้กลางแดดประมาณ 2-6 ชั่วโมงก็จะได้น้ำเปล่าสะอาด

Sonnenglas หรือดวงอาทิตย์เป็นโหลแก้ว เป็นไอเดียของโคมไฟแบบเท่ ๆ ซึ่งภายในโหลแก้ว จะมีสวนขนาดเล็กซึ่งเป็นพืชต่าง ๆ และด้านบนจะเป็นหลอด LED ที่มีการเก็บพลังงานจากแสงอาทิตย์ในเวลากลางวัน และส่องสว่างสร้างบรรยากาศในตอนกลางคืน ได้ยาวนานถึง 12 ชั่วโมง เหมาะสำหรับการสร้างบรรยากาศในสวน หรือในบริเวณสถานที่พักผ่อน

Little sun เป็นโคมไฟขนาดเล็ก ซึ่งอันนี้จะมีติดอยู่ทั่วงานใช้พลังงานจากแสงอาทิตย์ เป็นรูปดอกทานตะวัน ออกแบบโดยศิลปินระดับโลก Olafur Eliasson ซึ่งอุปกรณ์ตัวนี้จะถูกนำไปติดตั้งยังพื้นที่ห่างไกล โดยในนิทรรศการบอกว่า โคมไฟตัวนี้ตั้งไว้กลางแดดแค่ 5 ชม ก็จะสามารถให้แสงสว่างได้ยาวนานถึง 4-50 ชม.

นอกจากนี้แล้ว ยังมีการยกตัวอย่างการใช้ประโยชน์จากพลังงานแสงอาทิตย์ในเสกลที่ใหญ่ขึ้น เช่น Heliogen ที่ใช้เทคนิคในการสะท้อนแสงอาทิตย์ผ่านกระจก Array จำนวนเยอะ ๆ ไปยังจุดรวมแสง แล้วแสงก็จะสะท้อนลงมายังบริเวณที่นำความร้อนมากำเนิดกระแสไฟฟ้า ซึ่งเทคนิคนี้ เป็นเทคนิคที่ใช้อย่างแพร่หลายในโรงไฟฟ้าพลังแสงอาทิตย์ยุคใหม่ ๆ หรือกรณีของ Reichstag in Berlin เป็นรูปแบบสถาปัตยกรรมที่ อาคารรัฐสภาของเยอรมัน มันเป็นรูปโดมแก้วที่รับแสงธรรมชาติเข้าอาคาร แล้วสะท้อนแสงสว่างจากแกนกลาง ละก็ติด solar cell บนหลังคาทำให้ควบคุมอากาศร้อนเย็นได้ หมุนเวียนพลังงานมาใช้ได้

และสิ่งที่ผู่อ่านสเปซทีเอช น่าจะชอบก็คือเรื่องราวของ Perovskite Solar Cell เวลาคนออกไปอวกาศ แล้วต้องพกแผง Solar Array อันใหญ่ ๆ ไปด้วย มันลำบาก ปัจจุบันนักวิทยาศาสตร์มีการพัฒนาเซลล์แสงอาทิตย์ชนิด “เพอร์รอฟสไกต์” แร่ที่เอาไปเคลือบ และผลิตเป็นแผง Solar Array โดยใช้เทคนิค 3D ออกมาได้ สรุปก็คือ ถ้ามีเทคโนโลยีนี้ พวกนักบินอวกาศก็ไปสร้าง Solar Array ด้วยเทคนิค 3D Printing นอกโลกได้โดยไม่ต้องขนไปจากโลก รวมถึงเทคโนโลยีอย่าง Lightsail ที่หลาย ๆ คนน่าจะรู้จักกันว่าเป็นการใช้โมเมนตัมของแสงในการขับเคลื่อนยานอวกาศโดยไม่ต้องใช้พลังงานอื่น ๆ ซึ่งจะมีประโยชน์มากในการสำรวจอวกาศในอนาคต

หรือในบริบทไทย ๆ อย่าง SOLARPOH ที่ท่าเรือสี่พระยา มีการติดแผงรับพลังงานแสงอาทิตย์ไว้ที่โป๊ะ แล้วก็มีเซนเซอร์ ตรวจนับคนป้องกันน้ำหนักเกิน มีระบบป้องกันความปลอดภัย พวกเซ็นเซอร์กันน้ำซึมแบบเดียวกับเรือเดินมหาสมุทร 

สวนพลังงานแสงอาทิตย์ Solar Rooftop 

นอกจากเนื้อหาในส่วน Indoor แล้ว ใน Exhbition ยังรวมไปถึงส่วนจัดแสดง Outdoor บนชั้นดาดฟ้า ซึ่งก็จะมีการแสดงผลงานต่าง ๆ เช่น จุดชาร์ตแบตพลังงานแสงอาทิตย์, เครื่องกรองน้ำพลังงานแสงอาทิตย์, ระบบจัดการขยะและถังขยะพลังงานแสงอาทิตย์ และโคมไฟ Little Sun ที่อยู่บริเวณต่าง ๆ (ถ้ามาตอนกลางคืนก็จะได้บรรยากาศอีกแบบนึง)

สรุปเนื้อหาใน Solar Land ล่า ท้า แสง เรารอดโลกกำไร

ปฏิเสธไม่ได้ว่าในอนาคต พลังงานแสงอาทิตย์จะยิ่งเข้ามามีบทบาทในชีวิตของเรามากขึ้น อย่างที่นิทรรศการนี้พยายามจะบอกเราในคอนเซป เรา รอด โลก กำไร ว่าพลังงานแสงอาทิตย์ไม่ใช่แค่เรื่องของสิ่งแวดล้อม ไม่ใช่แค่เรื่องพลังงานสะอาด แต่มีมิติในด้านต่าง ๆ ตั้งแต่การพัฒนาคุณภาพชีวิต การสร้างพลังงานที่ยั่งยืน ไปจนถึงโอกาสทางธุรกิจมากมาย ดังนั้นการมาเยี่ยมชมนิทรรศการนี้ก็น่าจะช่วยให้เราได้ไอเดียและเข้าใจการเข้ามาของพลังงานแสงอาทิตย์ในบริบทปัจจุบันมากขึ้น

งานจัดวันที่ 8 ตุลาคม – 27 ธันวาคม 63 เวลา 10.30 – 19.00 (ปิดวันจันทร์) ณ ห้องแกลอรี่ชั้น 1 อาคารส่วนหลัง และ Rooftop ไปรษณีย์กลางบางรัก ที่ตั้งของ ศูนย์ความรู้ด้านการออกแบบ และความคิดสร้างสรรค์ หรือ TCDC สามารถลงทะเบียนเข้าชมไม่เสียค่าใช้จ่ายได้ที่ SOLAR LAND ล่า ท้า แสง สู้อนาคต

เรียบเรียงโดย ทีมงาน Spaceth.co

แมว วาราบิโมจิ ปิศาจสปาเกตตี้บินได้