สุริยุปราคา 26 ธันวาคม 2019

#หนึ่งวันมีหนึ่งเดือน #สุริยุปราคา #EclipseTH

ปรากฏการณ์สุริยุปราคา 26 ธันวาคม 2019 เวลาประมาณ 12:00

วันพฤหัสบดีที่ 26 ธันวาคม 2019 ประเทศไทยจะได้เห็นปรากฎการณ์สุริยุปราคาบางส่วน ซึ่งเกิดจากสุริยุปราคาแบบวงแหวนที่เห็นได้จากประเทศเพื่อนบ้างของเราคือประเทศสิงคโปร์ รวมถึงประเทศตะวันออกกลางและอินเดีย


ปรากฏการณ์สุริยุปราคาคืออะไร

สุริยุปราคาคือปรากฏการณ์ที่ดวงอาทิตย์และดวงจันทร์ และโลก โคจรมาอยู่ในแนวเดียวกัน ซึ่งเกิดขึ้นทุกเดือน เพียงแต่ว่าโอกาสที่ทั้งสามจะมาอยู่ในระนาบเดียวกันนั้นเกิดไม่บ่อยนัก แต่เมื่อเกิดแล้วจะเกิดเงาของดวงจันทร์ปรากฏบนโลก หรือถ้ามองจากโลก เราจะเห็นดวงจันทร์ไปบังดวงอาทิตย์


เต็มดวง วงแหวน และบางส่วน

ในการเกิดปรากฏการณ์สุริยุปราคา ระยะห่างระหว่างดวงจันทร์กับโลก และการอยู่คนละที่กันบนโลกก็ทำให้เห็นปรากฏการณ์ได้แตกต่างกัน

สุริยุปราคาเต็มดวง เกิดขึ้นเมื่อดวงจันทร์ไปบังดวงอาทิตย์จนสนิทจนทุกอย่างมืดเหมือนกับเวลากลางคืน คือบังมิด 100%

สุริยุปราคาวงแหวน การเกิดจะคล้ายกับแบบเต็มดวง เพียงแต่ว่าดวงจันทร์อยู่ห่างจากโลกกว่าการเกิดสุริยุปราคาเต็มดวง ทำให้แทนที่จะบังจนหมดจะกลับเห็นขอบนอกของดวงอาทิตย์ปรากฏอยู่ ซึ่งการเกิดในครั้งนี้จะมีการบังอยู่ที่ 95%

สุริยุปราคาบางส่วน เป็นปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นเมื่อมีสุริยุปราคาเต็มดวงหรือวงแหวน แต่จะมองเห็นได้จากประเทศที่อยู่ขอบนอกของเงา จะเห็นดวงจันทร์ไปบังดวงอาทิตย์ แต่จะไม่อยู่กึ่งกลางเหมือนแบบวงแหวน สำหรับกรุงเทพมหานครในรอบนี้จะเห็นการบังอยู่ที่ประมาณ 40-50%

การชมปรากฎการณ์ในประเทศไทย

ภาพตัวอย่างการมองเห็นปรากฏการณ์ในช่วงการบังเยอะที่สุดในแต่ละจังหวัด

สำหรับปรากฏการณ์สุริยุปราคาวันที่ 26 ธันวาคมนี้ จะสังเกตได้ชัดเจนขึ้นในฝั่งภาคใต้ของประเทศไทย โดยสามารถเริ่มสังเกตการเคลื่อนที่เข้าได้ตั้งแต่เวลา 10:00 และมีช่วงบังเยอะสุดอยู่ที่ประมาณ 12:00 และสิ้นสุดปรากฏการณ์ประมาณ 14:00 โดยอ้างอิงจากการสังเกตการณ์ที่กรุงเทพมหานคร

  • ที่จังหวัดยะลา เห็นการบดบังอยู่ที่ประมาณ 75%
  • กรุงเทพมหานคร เห็นการบดบังอยู่ที่ประมาณ 56%
  • จังหวัดเชียงราย เห็นการบดบังอยู่ที่ประมาณ​ 40%

บรรยากาศการถ่ายสุริยุปราคาที่ Mariana Bay

สำหรับใครที่ต้องการชมปรากฏการณ์สุริยุปราคาวงแหวนอย่างเต็มรูปแบบ ให้ดูจากแผนที่ซึ่งบริเวณเงาสีขาวปรากฏพาดผ่านก็จะยิ่งอยู่ใกล้ศูนย์กลางการเกิดมากขึ้น โดยเมืองสำคัญที่ผ่านได้แก่

อุปกรณ์ถ่ายภาพที่เรานำไป ได้แก่ กล้อง Mirrorless จาก Fujifilm ได้แก่ X-T3 และ X-H1 ใช้เลนส์ Fujinon 100-400 mm f/4.5-5.6 R LM OIS WR ซึ่งเป็นเลนส์ที่ระยะเทียบเท่าบนฟูลเฟรม 150 – 600mm รวมถึงมีกันสั่นภายในตัวเลนส์และคุณสมบัติกันละอองน้ำละอองฝุ่นติดตั้ง Solar Filter


หัวใจหลักของการถ่ายภาพปรากฏการณ์สุริยุปราคา ให้เห็นการบดบังของดวงอาทิตย์อย่างชัดเจน นั้นก็คือ เลนส์ที่มีทางยาวโฟกัสที่ยาว (Telephoto) หรือ มากกว่า 200mm รวมไปถึงหากต้องการถ่ายให้เห็นทิวทัศน์ของสถานที่ ก็จำเป็นต้องใช้ เลนส์ที่มีทางยาวโฟกัสที่สั้น (Wide) หรือ น้อยกว่า 35mm

และที่สำคัญ การถ่ายภาพปรากฏการณ์สุริยุปราคา เป็นการรวมแสงเข้าตัวเซ็นเซอร์โดยตรงนอกจาก จะทำให้เซ็นเซอร์ของกล้องถ่ายภาพเสียหายแล้ว สเปคของกล้องถ่ายภาพทั่วไป ไม่สามารถลดแสง ของดวงอาทิตย์ให้พอดีได้ จึงจำเป็นต้องใช้ Filter สำหรับติดหน้าเลนส์หรือหน้าเซ็นเซอร์เพื่อลดแสง หรือชนิดที่ออกแบบมาโดยตรงเรียกว่า Solar Filter

โดยในครั้งนี้ทีมงาน Spaceth.co ได้รับการสนับสนุนอุปกรณ์จาก Fujifilm Thailand ด้วยกล้อง Fujifilm X-T3 ซึ่งเป็นหนึ่งในกล้องระดับเรือธงของค่ายฟูจิฟิล์ม

  • Fujifilm X-T3 – APS-C Sensor Size ความละเอียด 26.1 ล้านพิกเซล และหน่วยประมวลผลแบบ X-Processor 4
  • เลนส์ Fujinon 100-400 mm f/4.5-5.6 R LM OIS WR ซึ่งเป็นเลนส์ที่ระยะเทียบเท่าบนฟูลเฟรม 150 – 600mm รวมถึงมีกันสั่นภายในตัวเลนส์และคุณสมบัติกันละอองน้ำละอองฝุ่น

สำหรับการถ่ายภาพนั้นเรียกได้ว่าลุ้นระทึก เพราะแม้ว่าวันนี้จะไม่มีฝนตกตามที่เรากลัวไว้ แต่การเคลื่อนที่ของเมฆที่รวดเร็วมาก ๆ ทำให้เรายังคงต้องพึ่งพาทีมงานในการตะโกนบอกทุกคนว่าอีกกี่วินาทีเมฆถึงจะเคลื่อนเข้ามาบังเพื่อให้เราสามารถถ่ายภาพออกมาได้อย่างสวยงาม

สำหรับการถ่ายภาพนั้นเรียกได้ว่าลุ้นระทึก เพราะแม้ว่าวันนี้จะไม่มีฝนตกตามที่เรากลัวไว้ แต่การเคลื่อนที่ของเมฆที่รวดเร็วมาก ๆ ทำให้เรายังคงต้องพึ่งพาทีมงานในการตะโกนบอกทุกคนว่าอีกกี่วินาทีเมฆถึงจะเคลื่อนเข้ามาบังเพื่อให้เราสามารถถ่ายภาพออกมาได้อย่างสวยงาม

โชคดีก็คือเวลาที่มีเมฆเข้ามาบัง เราสามารถถอด Filter ออกเพื่อให้เห็นสีที่เป็นธรรมชาติขึ้นและสามารถเก็บรายละเอียดอื่น ๆ เช่นนกบินกลับรังได้ด้วย เป็นอีกความโชคดีที่ถ้าเกิดสุริยุปราคาในวันที่ฟ้าโปร่งจะไม่สามารถถ่ายได้

ในแง่ของการมีส่วนร่วมกับประชาชนในบริเวณนั้นก็เป็นสิ่งที่สนุกมาก เนื่องจากเราได้นำกล้องโทรทรรศน์ไปทำให้ทุกคนสามารถเข้ามาร่วมชมกันได้ แม่ค้าบริเวณนั้นที่ขายของอยู่ยังถึงกับต้องปิดร้านเพื่อมาร่วมชม ซึ่งเราก็ได้พูดคุยกับทั้งคนสิงคโปร์ ชาวต่างชาติ รวมถึงคนไทยด้วยกันเองที่เดินทางมาชม

สรุปความรู้สึกที่เกิดจากการชมในครั้่งนี้ ซึ่งก็นับว่าเป็นการตามล่าวงแหวนครั้งแรกของทีมงาน ซึ่งเป็นโปรเจคร่วมกับทางเว็บ ThePeakFoto และ Fujifilm Thailand อาจจะมีหลายอย่างที่ไม่เป็นไปตามแผน เช่น เมฆบังบ้าง หรือการเลือกมุมถ่ายที่ทำให้ไม่สามารถเห็นดวงอาทิตย์ร่วมกับฉากหลัง (เนื่องจากเกิดในช่วงกลางวัน พระอาทิตย์ตรงหัวพอดี)

*คำนวณและอ้างอิงข้อมูลจาก timeanddate.com