พาเดินงาน GISTDA Innovation Day 2018 ชมเทคโนโลยีอวกาศภูมิสารสนเทศ

งาน GISTDA Innovation Day 2018 จัดขึ้นที่โรงแรม Centara Grand at Central ladprao งานจัดแค่วันที่ 31สิงหาคม เวลา 8.00-15.00น. โดยธีมหลักของงานคือการนำนวัตกรรมด้านอวกาศและภูมิสารสนเทศไปใช้ประโยชน์ทั้งในเชิงสังคมและเศรษฐกิจของประเทศ ลักษณะของงานนี้เป็นนิทรรศการ + เวทีเสวนา โดยเวทีในงานนี้มีทั้งหมด 3 เวที คือเวทีใหญ่, เวที Pixel  และเวที DGAB

เวที Pixel เป็นเวทีประกวดแนวคิดการใช้ประโยชน์และการประมวลผลข้อมูลภาพถ่ายจากดาวเทียมเช่น เทคนิคการใช้คลื่น infrared ในการสกัดข้อมูลพื้นที่สีเขียว ,ตึก,อาคาร และความหนาแน่นของเมือง

ประกวดแข่งขันแอพพลิเคชั่นระบ

เวที DGAB เป็นเวทีประกวดแข่งขันแอพพลิเคชั่นระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (GIS) เพื่อตอบสนองภาคธุรกิจ โดยเวทีนี้มีทีมแข่งทั้งหมด 5 ทีม ออกแบบแอพลิเคชั่นที่ต่างกัน

  • Agriselected – แอพวิเคราะห์และแสดงผล พืช พื้นที่ที่ควรปลูกของพืชแต่ละชนิดรวมถึงข้อมูลต้นทุนและสภาพอากาศด้วย
  • Drone Bon Din – แอพให้บริการโดรนพ่นยา,ใส่ปุ๋ยกับพืชเกษตร
  • Chilli Republic – ติดตามการเติบโตของพริก และคาดการณ์ผลผลิตที่พร้อมจัดส่ง
  • Light now – แอพส่งเสริมการใช้หลอดประหยัดไฟ LED รวมถึงการคำนวณต้นทุนว่า หากใช้หลอด LED จะมีต้นทุนและความคุ้มค่ามากเพียงใด เพื่อช่วยให้ผู้ใช้ตัดสินใจเปลี่ยนมาใช้หลอด LED
  • Noochuap – แอพที่เชื่อมโยงเรื่องราวสินค้าของชุมชนกับการท่องเที่ยว เพื่อส่งเสริมการขายสินค้าในชุมชนและการท่องเที่ยวไปพร้อมๆกัน

ในส่วนของนิทรรศการนั้นก็มีบูทต่าง ก็มีโครงการต่าง ๆ เข้ามาร่วมกิจกรรมนี้ด้วย เช่น Galaxi Lab เป็นนิทรรศการแสดงอุปกรณ์ต่างๆที่ใช้ใน Galaxi lab หรือห้องปฏิบัติการนวัตกรรมการบินและอวกาศ ซึ่งตั้งอยู่ที่สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ อุทยานรังสรรค์นวัตกรรมอวกาศ GISTDA จ.ชลบุรี โดยสิ่งที่นำมาโชว์ก็มี

  • Clinostat เครื่องจำลองสภาวะไร้แรงโน้มถ่วงเพื่อศึกษาอิทธิผลของสภาวะไร้แรงโน้มถ่วงต่อการเปลี่ยนแปลงของระบบชีวภาพที่ต้องใช้เวลามากในการตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลง
  • Microgravity Science glovebox อุปกรณ์สำหรับการทำการทดลองบนสถานีอวกาศ(ISS) สำหรับการทดลองที่ต้องการระบบปิด,ต้องควบคุมแก้ส,การทดลองที่มีการฟุ้งกระจาย
  • โต้ะที่สร้างจากวัสดุที่ใช้ทำตัวถังอากาศยาน
  • UAV พลังงานแสงอาทิตย์ ใช้สำหรับการสำรวจ สอดแนม
  • ชิ้นส่วนกระสวยอวกาศที่ตกในประเทศไทย
  • UAV ที่ทำจาก Carbon fiber Composite material

แอพพลิเคชั่นภูมิสารสนเทศ

รวมถึงแอพพลิเคชั่นต่างๆที่สร้างมาเพื่อเก็บข้อมูลและแก้ไขปัญหาทางภูมิศาสตร์สารสนเทศ

SOS application แอพส่งข้อมูลจากสถานีตรวจอากาศ ที่มีทั้งตรวจการแผ่รังสีดวงอาทิตย์,กล้องดิจิตอล,วัดทิศทาง,ความเร็วลม,ความชื้นสัมพัทธ์,วัดรังสี,อุณหภูมิ,น้ำฝน,สเปคตรัม,วัดความชื้นในดิน

GISAVIA เป็น AIP (Avtionable Intelligence Platform) ที่สร้างโดย SOAR(Strategic and operation aerospace research center) ระบบวิเคราะห์และบริหารจัดการการจราจรทางอากาศ เพื่อเพิ่มขีดความสามารถ,ความปลอดภัย,ประสิทธิภาพในการบริหารน่านฟ้า,การจราจรทางอากาศ ,จัดระเบียบการใช้ Runway เพื่อลดความวุ่นวายและการ delay ของ flights , สำรวจ terrain และอุปสรรคในการขึ้นลง

App จองรถเกี่ยว เป็นตัวกลางเชื่อมเกษตรกรกับผู้ประกอบการที่เป็นเจ้าของรถเกี่ยว เพื่อให้เกษตรกรจองรถเกี่ยวข้าวจากผู้ประกอบการได้ เพิ่มความสะดวกและลดปัญหาต่างๆที่เกิดจากการจองแบบดั้งเดิม

รวมทั้งยังมีเกม Space Adventure เกมท่องอวกาศเก็บคะแนน โดยใช้  motion sensor ตรวจจับการเคลื่อนไหว โดยผู้ที่ได้คะแนนสูงสุดของวันจะได้รับรางวัล

สำหรับ Main stage เป็นเวทีเสวนาและนำเสนอนวัตกรรมใหม่ๆเกี่ยวกับระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ รวมถึงกิจกรรมแจกรางวัลมูลค่าหลักหมื่นบาทให้กับผู้โชคดีที่ตอบคำถามถูกด้วย

Ricult startup บริษัทนี้ทำการสำรวจข้อมูล,ปัญหา จากเกษตรกร ในประเทศกำลังพัฒนา เช่นปากีสถานและไทย เพื่อนำมาสร้างแอพลิเคชั่นช่วยแก้ปัญหาเหล่านั้น  โดยปัญหาหลักของเกษตรกรคือ ขาดต้นทุนเงินกู้, อัตราผลผลิตต่ำ และไม่สามารถเข้าตลาดซื้อขายโดยตรง ต้องผ่านคนกลาง โดย Ricult โฟกัสไปที่อัตราผลผลิตต่ำ

Ricult เป็นแอพเชื่อมโยงข้อมูลการเติบโตและ rainfall เพื่อนำมาเป็นข้อมูลในการบอกเกษตรกรถึงการเตรียมพื้นที่ปลูก,วันที่ควรนำพืชลงเพื่อ Optimal Yield และบอกวันที่ควรจะเก็บเกี่ยว

Keynote จากบริษัทสตาร์ทอัพอวกาศระดับโลก

นอกจากนี้ยังมี Keynote จากบริษัท Planet แนวคิดของบริษัท Planet เริ่มมาจากการที่ทีมงานอยากส่งดาวเทียมเล็กๆ แต่จำนวนมาก เพื่อเพิ่มขอบเขตการเก็บข้อมูลโดยปัจจุบันบริษัท Planet มีดาวเทียมทั้งหมดมากกว่า 198 ตัวประกอบไปด้ว ดาวเทียม Dove มากกว่า 180 ตัว ดาวเทียม Rapid Eye 5 ตัว ดาวเทียม Skysat 13 ตัว และยังมีแพลนที่จะปล่อยอีกในปีนี้และปีหน้า 

โดยรวมแล้ว งานนี้เป็นงานที่ทำให้ได้แนวคิด,ความรู้เกี่ยวกับนวัตกรรมและเทคโนโลยีภูมิศาสตร์สารสนเทศมาเยอะมากๆ ใครที่สนใจหรือชอบด้านอวกาศ, ดาวเทียมและการ ถือว่าน่าสนใจมาก ๆ ในการอัพเดทเรื่องราววงการอวกาศและภูมิสารสนเทศ 

 

 

สื่อออนไลน์ คอนเทนต์ด้านอวกาศ การสํารวจอวกาศ และการค้นพบใหม่ ๆ โดยเน้นสร้างสรรค์เนื้อหาที่อ่านง่าย เข้าใจง่าย และสนุกไปกับความรู้ที่ได้รับ