ในระหว่างที่เรากำลังติดแหง็กอยู่บ้านเพราะ COVID-19 กำลังระบาด NASA ก็ได้เปิด STEM @ Home ให้เราได้เข้าไปทำการทดลองสร้างสิ่งประดิษฐ์เจ๋ง ๆ หรือแม้แต่ทำ Workshop ง่าย ๆ โดยไม่ต้องออกจากบ้าน เว็บไซต์ NASA ได้เปิดให้เด็กและผู้ใหญ่ได้ทำ Workshop ที่สามารถทำเองได้อยู่บ้านเพื่อเรียนรู้เกี่ยวกับดาราศาสตร์ โดยสามารถเข้าไปดูในเว็บของ NASA เองได้เลยที่นี้ NASA STEM @ Home
ในเว็บ STEM @ Home ของ NASA มี Workshop ให้ทำหลายอย่างชนิดที่เรียกได้ว่าหายเบื่อเลยระหว่างอยู่บ้าน เช่น การสร้างสิ่งประดิษธ์อย่าง Make an Ocean Ecosystem Dessert ที่เป็นขนมที่ทำให้เสมือนมหาสมุทรแล้วกินได้ วัตถุดิบก็ง่าย ๆ เช่น เจลาติน น้ำเย็น น้ำร้อน เยลลี่ ซึ่งในเว็บไซต์จะมีวิธีการทำแบบละเอียดที่ทุกคนสามารถเข้าไปลองทำดูได้
หรือใครที่ขี้เกียจมานั่งประดิษฐ์อะไรแบบนี้ NASA ก็มี Puzzle ง่าย ๆ ให้เราได้ลองเล่นอย่างเช่น Solve Spacey Puzzles ที่มี Puzzle มากกว่า 30 หน้าให้เราได้ลองทำเล่นดู และในระหว่าง Puzzle NASA ก็ได้ยัดข้อมูลแบบ Get to know ของดาวเทียมต่าง ๆ ไว้อีกด้วย เช่น LCRD (Laser Communications Relay Demonstration) ทำให้เราได้ความรู้ระหว่างเล่นไปด้วย (ผู้เขียนก็พึ่งรู้จัก LCRD ก็เพราะอันนี้แหละ ฮ่า)
ใน Puzzle เอกก็มีหลากหลายรูปแบบให้เราทำ เช่น จับผิด ระบายสี วาดรูป จับคู่ เขียนชื่ออุปกรณ์ ต่อลายเส้น หาชื่อยานอวกาศ Crossword เกี่ยวกับดาราศาสตร์ เดาชื่อยานอวกาศ และอื่น ๆ อีกมากมาย สำหรับลิ้งก์ดาวน์โหลด Space Puzzle สามารถดาวน์โหลดได้ในเว็บ NASA STEM @ Home หรือลิงก์ตรงที่นี่ Solve Spacey Puzzles
หรือใครอยากลองสร้างจรวด SLS NASA ก็มีวิธีแผลง ๆ ให้ลองเอาลูกโป่งมาติดกันแล้วสร้างเป็นจรวดได้เช่นกันด้วยอุปกรณ์ง่าย ๆ ที่สามารถหาได้จากบ้าน ซึ่งระหว่างวิธีการทำ NASA ก็ได้ยัดความรู้เล็ก ๆ น้อย ๆ ของโครงการ SLS ของ NASA ไปด้วย ถือว่าได้ความรู้ไปในตัว สามารถเข้าไปตามลิ้งก์นี้ได้เลย SLS from Balloon
หรือใครอยากทำจรวดแบบง่าย ๆ ขึ้นหน่อยหรือเพราะว่าที่บ้านดันไม่มีลูกโป่งก็สามารถทำจรวดที่สามารถปล่อยได้จริงจาก Foam ได้ง่าย ๆ เช่นกัน NASA ยังได้อธิบายกฎนิวตันข้อที่สามระหว่างขั้นตอนการประดิษฐ์อีกด้วย หากใครอยากลองดูวิธีทำก็สามารถเข้าไปในลิ้งก์นี้ได้เลย Build and Launch a Foam Rocket หรือใครขึ้เกียจอ่านก็สามารถทำตามคลิปวีดีโอนี้ได้เช่นกัน
หรือใครไม่มีอุปกรณ์ในการทำ Workshop เลย NASA ก็ได้ทำเกมไว้ให้เล่นง่าย ๆ ด้วยเช่นกัน ซึ่งก็ตามเคย NASA ก็ยัดความรู้วิทยาศาสตร์เล็ก ๆ น้อย ๆ ลงไปด้วย สามารถเข้าไปลองเล่นได้ในเว็บของ NASA STEM @ Home เลย
หรือแม้แต่หากอยากลองเห็นยานอวกาศของ NASA แบบเสมือนจริงใน AR (Augmented Reality) NASA ก็มีแอพของ JPL ให้ได้ลองไปดาวน์โหลดมาลองเล่นดูได้จาก Google Play Store ตามลิ้งก์นี้เลย Spacecraft AR
ส่วนครูหรือบุคคลากรทางการศึกษาผู้ใดที่อยากนำ STEM Activities ของ NASA ไปใช้ในการเรียนการสอน NASA ก็มีหลักสูตรหรือ Workshop สำหรับ Educator ให้เช่นกัน สามารถลองเข้าไปดูได้ที่ STEM Resources for Educators
ทั้งหมดนี้ทาง Spaceth.co ยังไม่ได้คลอบคลุม Workshop ทั้งหมด ยังมี Workshop อีกมากมายทั้งสำหรับเด็กและผู้ใหญ่ให้เราได้ลองเล่นกันสนุก ๆ ที่บ้านระหว่างที่กำลังเฝ้าระวัง COVID-19 ระบาด หากใครสนใจลองเข้าไปดูเนื้อหาของ STEM Activities ของ NASA ก็สามารถตามเข้าไปดูได้ที NASA STEM ซึ่งมีรายละเอียดมากมายเกี่ยวกับการเรียนการสอนแบบ STEM และการเป็น Intern ของ NASA ให้กับนักเรียนอีกด้วย
เรียบเรียงโดย ทีมงาน Spaceth.co