MIT ชวนเราส่งเสียงไปยังสถานีอวกาศนานาชาติ เพื่อบอกว่าอวกาศเป็นของทุกคน

“เราอยากชวนคุณร่วมส่งข้อความกับเรา ถ้าคุณเชื่อว่าอวกาศควรเป็นพื้นที่สำหรับทุกคนเช่นกัน” นี่คือแนวคิดของภารกิจอวกาศที่ชื่อว่า HUMANS หรือย่อมาจาก Humanity United with MIT Art and Nanotechnology in Space โครงการที่อยากจะชวนคนธรรมดา อย่างเรา ๆ ส่ง “เสียงพูด” ในภาษาของตัวเอง สไตล์ของตัวเอง และบริบทของตัวเอง ของชาติต่าง ๆ กลุ่มคน แนวคิด ขึ้นไปโคจรรอบโลกบนสถานีอวกาศนานาชาติ ด้วยการใช้ Nanotechnology บันทึกลงในแผ่นเสียง

และแน่นอนว่า เนื่องจากโครงการนี้ต้องการที่จะสือว่า อวกาศเป็นของทุกคน พวกเขาจึงเชิญชวนให้เราเข้าไปร่วมอัดเสียงในภาษาของเรา ​(ภาษาไทย) หรือภาษาใด ๆ ก็ได้ที่เราพูด เช่น ภาษาท้องถิ่น

สามารถเข้าไปร่วมส่งเสียงได้ที่ https://humans.mit.edu (ภายในสิ้นเดือนมกราคม 2022)

Golden Record (1977)

The Golden Record เป็นแผ่นเสียงที่ทีมของ Carl Sagan นักวิทยาศาสตร์และนักสื่อสารวิทยาศาสตร์เลื่องชื่อได้ตัดสินใจทำขึ้นเพื่อส่งไปพร้อมกับยาน Voyager ในปี 1977 ที่จะเดินทางออกจากระบบสุริยะไปเรื่อย ๆ แผ่น Golden Record นี้ได้บันทึกเสียงต่าง ๆ ของโลก ธรรมชาติ และมนุษย์เอาไว้ ไม่ว่าจะเป็นเสียงทักทายจากหลากหลายภาษา เสียงดนตรีของชาติต่าง ๆ เสียงฝน ลม คลื่น เสียงของสัตว์ต่าง ๆ กระทั่งเสียงหัวเราะและเสียงการเต้นของหัวใจ

โดยการสร้าง Golden Record นี้มี Narrative เน้นไปที่การพยายามบันทึกเรื่องราวทั้งมวลของมนุษย์เอาไว้เป็นตัวแทนในการนำเสนอพวกเราหากสิ่งมีชีวิตจากต่างดาวค้นพบบันทึกนี้ขึ้นมา อย่างไรก็ตาม โครงการ Golden Record ในการสื่อสารกับเอเลี่ยน (ที่ดูโคตรกาว) นี้ กลับได้ย้อนกลับมาสร้างผลลัพธ์ในอีกแง่มุมหนึ่งหนึ่งให้มนุษย์โลกด้วยกันเอง ในการเป็นเหมือนเงาสะท้อนของสิ่งที่เราคิด สิ่งที่เราเชื่อ และสิ่งที่เราเป็น

อ่านเพิ่มเติม – “สวัสดีค่ะ สหายในธรณีโพ้น” เสียงคนไทยในยาน Voyager ที่เดินทางไปนอกระบบสุริยะ

HUMANS (2022)

ที่มา Humanity United with MIT Art and Nanotechnology in Space

ความเป็นเงาสะท้อนของ Golden Record นี้เองเป็นแรงบันดาลใจให้สองนักวิจัย MIT ได้แก่คุณ Maya Nahr จากเลบานอนและคุณ Lihui Lydia Zhang จากจีน นักวิจัยและนักศึกษาในระดับชั้นปริญญาตรี ที่กำลังศึกษาอยู่ที่ AeroAstro ของ MIT ได้สร้างโครงการ HUMANS — Humanity United with MIT Art and Nanotechnology in Space ขึ้นมา เพื่อส่งบันทึกเสียงเซ็ตใหม่ของเรารวมไปกับข้อความต่าง ๆ ขึ้นสู่อวกาศ (ในที่นี้คือสถานีอวกาศนานาชาติ) โดยเรื่องราวของเสียงชุดนี้จะไม่ได้เป็นสำหรับมนุษย์ต่างดาว แต่จะเป็นสำหรับตัวเรา (มนุษย์) เองโดยเฉพาะ

สถานีอวกาศนานาชาติ แห่งที่ก่อให้เงิดงานวิจัยที่เป็นประโยชน์แก่มวลมนุษยชาติมากมาย

เพราะเหตุนี้ โครงการ HUMANS จึงอยากเชิญชวนคนจากทั่วโลกที่สนใจ มาร่วมเขียนเล่าถึงความหมายของอวกาศต่อคุณและมนุษย์ชาติในมุมมองตัวเอง รวมถึงอัดเสียงเล่าเรื่องเดียวกันด้วยภาษาแม่ของตัวเอง ด้วยความเชื่อที่ว่าอวกาศควรเป็นสถานที่ที่เปิดกว้างในทุกคนสามารถเข้าถึงได้ง่ายกว่านี้ และมี representative จากทั่วโลก ซึ่งตัวทีมงานก็อยากให้โครงการนี้เป็นเหมือนสัญลักษณ์เล็ก ๆ ในการเดินทางไปสู่จุดมุ่งหมายนั้น

One.MIT” creates a monument — at the smallest scale | MIT News |  Massachusetts Institute of Technology
โครงการ One.mit – ที่มา MIT

ซึ่งทีมที่ปรึกษาที่ทำ HUMANS นี้ก็ไม่ใช่คนที่ไหนไกล แต่ก็เป็นชื่อที่เราได้ยินกันอยู่บ่อย ๆ ทั้ง Jeffrey Hoffman อดีตนักบินอวกาศ Professor ด้านวิศวกรรมที่ AeroAstro และผู้ทำ MOXIE ให้ Perseverance หรือ Aerial Ekblaw หนึ่งใน key สำคัญด้านการ Democratize Space ของวงการอวกาศ รวมไปถึงทีม Space Exploration Innitiative จาก MIT Media Lab ทีมงานจาก MIT Department of Materials Science and Engineering และ MIT.nano

อ่าน – Democratizing Access to Space อวกาศเป็นของราษฎรและมนุษยชาติ

ชุดเสียงและข้อความที่จะส่งขึ้นไปจะถูกแกะสลักขึ้นบนแผ่นดิสก์ขนาด 6 นิ้วด้วย Nanotechnology (ซึ่งทีมงานได้บอกไว้คล้ายคลึงกับโปรเจกต์ One.mit ที่แกะชื่อผู้คนจาก MIT ทุกคนทั้งแต่การก่อตั้งของสถาบันในปี 1861 จนถึงปีที่สร้างผลงานขึ้นมา 2020 เป็นโมเสกติดตั้งไว้ที่โดมใหญ่ของ MIT) ซึ่งจะเตรียมส่งขึ้นไปสู่ ISS พร้อมกับพาร์ทเนอร์ของโครงการต่อไป

โดยใครที่สนใจสามารถเข้าไปร่วม submit เสียงและข้อความของตัวเองได้แล้ววันนี้ที่ https://humans.mit.edu (ภายในสิ้นเดือนมกราคม 2022)

เรียบเรียงโดย ทีมงาน Spaceth.co

แมว วาราบิโมจิ ปิศาจสปาเกตตี้บินได้