รู้จักเทคโนโลยี Outlast ในชุดเครื่องนอน Lunio ที่มาจากเทคโนโลยีชุดอวกาศ ปรับอุณหภูมิให้คงที่ นอนสบายขึ้น

เมื่อพูดถึงเทคโนโลยีอวกาศแล้วใครที่ติดตามเราบ่อย ๆ ก็น่าจะทราบว่าทุกอย่างที่เราใช้กันไม่ว่าจะเป็นคอมพิวเตอร์ กล้องถ่ายรูป WiFi อะไรต่าง ๆ ล้วนมีที่มาที่ไปหรือเกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีอวกาศทั้งสิ้น แต่เมื่อพูดถึงที่นอนแล้วหลายคนอาจจะไม่รู้ว่าจริง ๆ แล้ว เทคโนโลยีอวกาศที่ช่วยปกป้องนักบินอวกาศจากอุณหภูมิที่แปรปรวนสุดขั้วในอวกาศก็สามารถทำให้การนอนหลับของเราในแต่ละคืนสบายมากขึ้นเช่นกัน วันนี้ทีมงาน Spaceth จะพามาดูชุดเครื่องนอนจากทางแบรนด์ Lunio ที่เขาเคลมว่า ใช้เทคโนโลยีซึ่งถูกเรียกว่าเป็น Certified Technology Products

ปกติแล้ว เวลาที่เรานอนหลายคนอาจจะเคยเจอกับปัญหาเวลาที่เรานอนอาจจะตื่นมาเหงื่อออกตอนกลางคืน หรือบางทีห่มผ้าแล้วรู้สึกว่าอุณหภูมิปกติ แต่พอนอน ๆ ไปกลับร้อนขึ้นมา ต้องลุกมาปรับแอร์หรือถีบผ้าห่ม ซึ่งจริง ๆ แล้วที่เป็นแบบนี้ก็เพราะว่า ผ้าห่มปกติที่เราใช้อาจจะทำหน้าที่ป้องกันไม่ให้ความร้อนจากตัวเราออกไป และอบให้ความร้อนอยู่กับตัวเรา ซึ่งพอนอนไปนาน ๆ ก็อาจไม่สบายตัวได้นั่นเอง

ผ้าห่มธรรมดาทั่วไปจะทำหน้าที่ป้องกันไม่ให้ความร้อนของเราถ่ายออกไปข้างนอก เหมือนกับการอบความร้อนไว้ในตัวเรา

ดังนั้น วิธีการแก้ปัญหาคือ ไม่ว่าจะหมอน หรือผ้าห่ม ควรปรับอุณหภูมิของตัวเรา และตัวมันเองให้คงที่ที่สุด การนอนของเราจึงจะเป็นไปอย่างเต็มประสิทธิภาพ ซึ่งเทคโนโลยีนี้เรียกว่า Adaptive Cooling หรือในชื่อว่า Outlst

รู้จักกับเทคโนโลยี Outlast ที่มาจากเทคโนโลยีอวกาศ

เทคโนโลยี Outlast ที่เราจะมาพูดถึงกันในวันนี้นั้น ต้องเล่าก่อนว่าเวลาที่นักบินอวกาศออกไปทำ EVA หรือทำ Space Walk ในอวกาศ อุปสรรคของอวกาศอย่างหนึ่งก็คืออุณหภูมิ จริงอยู่ที่ว่าในอวกาศไม่มีอากาศ แต่การแผ่รังสีความร้อนจากดวงอาทิตย์ ก็ทำให้อุณหภูมิในแต่ละจุดของผิวนอกของชุดนักบินอวกาศ ต่างกันสุดขั้ว ในด้านที่หันหน้าเข้าหาดวงอาทิตย์ และด้านที่หันออกจากดวงอาทิตย์ อุณหภูมิที่ต่างกันสุดขั้วนี้ อาจทำให้การออกไปนอกอวกาศเป็นอันตรายสำหรับนักบินอวกาศได้ แถมในการออกไปนอกยานหรือ EVA แต่ละครั้งอาจจะกินเวลานานถึง 6-8 ชั่วโมงเลยทีเดียว ถ้าต้องอยู่ในชุดที่อุณหภูมิเปลี่ยนไปเปลี่ยนมาแบบนี้แย่แน่ ๆ

ชุดนักบินอวกาศในขณะที่กำลังทำ EVA หรือการออกไปนอกยานที่ต้องเผชิญกับความต่างของอุณหภูมิแปรปรวนสูง

NASA จึงได้พยายามพัฒนาเทคโนโลยีต่าง ๆ ขึ้นมาเพื่อแก้ไขปัญหาตรงนี้ ไม่ว่าจะเป็นการพัฒนาวัสดุที่สามารถกระจายความร้อนได้อย่างทั่วถึง หรือแม้กระทั่งการพัฒนาชุดที่มีชั้นที่เป็นของเหลวและใช้วิธีการระบายความร้อนด้วยน้ำ แต่หนึ่งในเทคโนโลยีที่ได้มีการพัฒนาขึ้นมานั้นก็คือ Phase Change Material (PCMs)

หลักการของ Phase Change Material ก็คือการที่ตัววัสดุที่ชื่อว่า Thermoclue นั้นจะทำหน้าที่ดูดซับความร้อนส่วนเกินไว้ จากนั้นจะค่อย ๆ ถ่ายความร้อนกลับมาให้เรา ทำให้อุณหภูมิที่ได้เมื่อเวลาผ่านไปในระดับนึงแล้วจะยังคงที่อยู่ หรือถ้าเพิ่มขึ้นหรือลดลงก็จะเป็นไปอย่างช้า ๆ ค่อยเป็นค่อยไป ไม่เกิดการแปรปวนของอุณหภูมิกระทันหันซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้เราตื่นขึ้นมาเหงื่อออกนั่นเอง

ให้ลองนึกหลักการง่าย ๆ เหมือนกับน้ำ แนวคิดตามหลัก Thermodynamic เบื้องต้นแล้ว จริง ๆ ในโลกนี้หรือในจักรวาลนี้ไม่มีสิ่งที่เรียกว่าความเย็น มีแค่ความร้อน ร้อนมากหรือร้อนน้อยก็อีกเรื่อง เวลาที่เราเอาน้ำใส่แก้วไว้ ตัวน้ำก็จะมีอุณหภูมิ ณ อุณหภูมิหนึ่ง แต่เมื่อเรานำน้ำแข็งที่มีอุณหภูมิต่ำกว่าใส่ลงไป ก็จะทำให้น้ำอุณหภูมิลดลงได้ แต่ความร้อนที่เคยอยู่ในน้ำนั้น มันก็ไม่ได้หายไปไหน แต่ถูกน้ำแข็งดูดเข้าไปอยู่ในตัวมันเองนั่นเอง ก่อนที่น้ำแข็งจะค่อย ๆ ละลาย และคายความร้อนกลับไปสู่น้ำในแก้ว เมื่อเวลาผ่านไป อุณหภูมิของทั้งน้ำและน้ำแข็งก็จะอยู่กึ่งกลางเสมอกันเมื่อเทียบกับตอนแรกนั่นเอง

จริง ๆ แล้ว ถ้าพูดกันตรง ๆ หลักการพวกนี้ สามารถนำไปใช้ได้กับวัสดุหลากหลายรูปแบบ สสารหลากหลายตัว มีคุณสมบัตินี้อยู่แล้ว แต่การคัดเลือก และปรับปรุงวัสดุที่เราจะนำมาเป็น PCM ในเทคโนโลยี Outlast นี้นั้นได้มาจากการร่วมพัฒนาโดย NASA เพื่อจะเลือกวัสดุที่เป็น PCM ที่เหมาะสมที่สุดสำหรับการนำไปใช้ในอวกาศนั่นเอง

ทดลองนอนด้วยหมอน Cloud Pillow และผ้าห่มแบบ Adaptive Cooling ของ Lunio ที่ช่วยรักษาอุณหภูมิให้พอดี ไม่ร้อนหรือไม่เย็นจนเกินไป

ซึ่งเทคโนโลยีที่จะมาเป็น Outlast ในเครื่องนอนของเราในที่สุดก็ได้แก่ Microencapsulated Phase Change Material (mPCM) ที่ได้รับการพัฒนาและส่งต่อออกมาให้กับบริษัทเอกชน เพื่อนำมาใช้งานในการผลิตเป็นสินค้ารูปแบบต่าง ๆ รวมถึงชุดเครื่องนอน หมอน ผ้าห่ม ต่าง ๆ ที่ทาง Lunio ก็ได้นำเทคโนโลยี Outlast จาก บริษัท Outlast Technology มาใช้นั่นเอง

ชุดเครื่องนอนของ Lunio ที่มาพร้อมกับเทคโนโลยี Outlast

ชุดเครื่องนอนที่ทาง Lunio ได้นำเทคโนโลยี Outlast มาใช้นั้น ตอนนี้ มีถึง 4 ตัวด้วยกัน ได้แก่ผ้าห่ม (ซึ่งแน่ ๆ อยู่แล้วว่าเป็นการทำงานที่เกี่ยวกับความร้อนโดยตรง) แบบ Adaptive Cooling Duvet และหมอน ทั้ง 3 รุ่นที่ออกแบบมารองรับความชอบของคน 3 สไตล์ ที่วันนี้ทีมงาน Spaceth จะค่อย ๆ พามาชมทีละตัวกัน

Adaptive Cooling Duvet ผ้าห่มปรับอุณหภูมิ

สำหรับตัวผ้าห่ม Adaptive Cooling Duvet นั้น จะเป็นตัวผ้าห่มปรับอุณหภูมิ ที่ใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยี Outlast โดยตรง ซึ่งคุณสมบัติที่สำคัญนอกจากจะใช้ Outlast ในการ ปรับอุณหภูมิตามที่เล่าไปด้านบนแล้ว ตัวผ้าห่มเองยังมีคุณสมบัติการทอเส้นใยที่เรียบเสมอกัน คือเส้นใย Lumiere Fiber คุณสมบัติของเขาก็คือไม่มีสี ไม่มีกลิ่น ลดการสะสมของไรฝุ่น ไม่ทำให้เกิดโรคภูมิแพ้

สำหรับ Adaptive Cooling Duvet ตอนนี้จากราคาปกติ 3.5 ฟุต 3,990 บาท ลดเหลือ 2,890 บาท 5.6 ฟุต 5,590 ลดเหลือ 3,990 บาทเท่านั้น

หมอนทั้งสามรุ่น ได้แก่ Ergo-Support, Hybrid และ Cloud

นอกจากผ้าห่มแล้ว สินค้าที่นำเอาทั้งเทคโนโลยี Outlast และเส้นใย Lumiere Fiber มาใช้ก็ได้แก่หมอนทั้ง 3 แบบของทาง Lunio ที่มีรุ่นย่อยออกมาถึง 3 รุ่น เหมาะสำหรับความต้องการ 3 แบบ 3 สไตล์ ซึ่งได้แก่

  • Ergo-Support เป็นหมอนที่ออกแบบมาเพื่อรองรับคอ บ่า และไหล่ โดยตัวหมอนมีคุณสมบัติของ Memory Foam (ซึ่งก็เป็นเทคโนโลยีอวกาศเช่นกัน) ใช้การออกแบบลักษณะ Contour shaped ปรับปรุงการนอนให้ถูกต้องตามหลักสรีรศาสตร์ สามารถนอนได้ทุกท่า เหมาะสำหรับผู้ที่ปวดคอจากการนอน โดยหมอนรุ่น Ergo-Support นี้ มีราคาอยู่ที่ 2,790 บาท ตอนนี้ลดเหลือ 1,790 บาท
  • Hybrid สำหรับใครที่ยังคงต้องการคุณสมบัติการรองรับร่างกายในลักษณะของหลักสรีรศาสตร์แต่ก็ยังต้องการความสบายในการนอนกับหมอนนุ่ม ๆ สำหรับหมอนรุ่น Hybrid นี้ ทาง Lumio ได้นำข้อดีของทั้งคู่มารวมกัน ทำให้เกิดลักษณะเป็นหมอนแบบ Pillow in Pillow คือมีเหมือนกับหมอนสองใบอยู่ข้างในกัน โดยยังคงได้รับคุณสมบัติของทั้งคู่อยู่ หมอนแบบ Hybrid นี้จาก 2,790 บาท ตอนนี้ลดเหลือ 1,790 บาท
  • Cloud สำหรับหมอนแบบ Cloud เหมาะสำหรับใครที่ชอบนอนหมอนนุ่ม ๆ ยืนหยุ่น ระบายอากาศได้ดี ไม่สะสมไรฝุ่น จากราคาเดิม 1,990 บาทลดเหลือ 990 บาทเท่านั้น

ที่สำคัญต้องอย่าลืมว่าสินค้าทั้ง 4 ตัวนี้ ทุกตัว มีเทคโนโลยี Outlast ทั้งหมด ไม่ว่าจะชอบหมอนแบบไหน สไตล์แบบไหน ก็สามารถเข้าถึงเทคโนโลยีจากอวกาศได้ทุกรุ่น รวมถึงคุณสมบัติจาก Lumiere Fiber ซึ่งเป็นเส้นใยที่ไม่มีกลิ่น นุ่มสบาย คืนตัวได้ดีและระบายอากาศ ซึ่งก็เป็น Highlight ที่สำคัญของสินค้าจาก Lunio ทั้ง 4 ตัวนี้นั่นเอง

สรุป สินค้าจาก Lunio ทั้ง 4 ตัว ทำไมถึงน่าลงทุน และเกี่ยวข้องกับสุขภาพของเราในระยะยาว

สรุปแล้ว หลังจากที่เราได้พาไปดูชุดเครื่องนอนจาก Lunio ที่ใช้เทคโนโลยีอวกาศ ก็ทำให้เราสรุปได้ว่าจริง ๆ แล้วการนอนหลายคนอาจจะคิดว่าไม่ได้สำคัญ มีที่นอนก็นอน ๆ ไปให้หลับ แต่จริง ๆ แล้ว การนอนที่มีประสิทธิภาพนั้นเกิดจากปัจจัยที่เราหลาย ๆ คนอาจมองข้าม ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของอุณหภูมิ การจัดการกับความร้อน ลักษณะของเส้นใย ไปจนถึงรูปทรงของหมอนที่เราใช้ ซึ่งถ้าเราเลือกชุดเครื่องนอนที่เหมาะกับสไตล์การใช้ชีวิตของเรา ก็จะช่วยให้การพักผ่อนของเรามีประสิทธิภาพและสามารถทำให้เราตื่นขึ้นมาในเช้าแต่ละวันและทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพตามไปด้วย

ดังนั้นเทคโนโนโลยีที่เกี่ยวกับการนอนจึงเป็นหนึ่งในสิ่งที่น่าลงทุน เพื่อผลตอบแทนกับสุขภาพในระยะยาว แม้กระทั่งเทคโนโลยีจากอวกาศ ก็ยังถูกนำมาใช้เพื่อแก้ไขปัญหาการนอน ดังนั้นสิ่งเหล่านี้สำคัญเกินกว่าจะมองข้ามได้ และคุ้มกับการลงทุนแน่ ๆ

สำหรับรายละเอียดของสินค้าจาก Lunio สามารถดูได้จาก Lunio.co.th และ Facebook Lunio Life

เรียบเรียงโดย ทีมงาน Spaceth.co

สื่อออนไลน์ คอนเทนต์ด้านอวกาศ การสํารวจอวกาศ และการค้นพบใหม่ ๆ โดยเน้นสร้างสรรค์เนื้อหาที่อ่านง่าย เข้าใจง่าย และสนุกไปกับความรู้ที่ได้รับ