สรุป Payload ที่อยู่ในเที่ยวบิน NS-13 ที่มีของคนไทยถึง 5 การทดลอง และการทดสอบที่สำคัญของ NASA

ทุกวันนี้การเดินทางสู่อวกาศนั้นเรียกได้ว่าง่ายขึ้นกว่าเมื่อก่อนมาก จากการนำจรวดกลับมาใช้ใหม่ ซึ่งจรวด New Shepard ของ Blue Origin ก็เป็นหนึ่งในจรวดที่เข้ามาทำสิ่งที่เรียกว่า Space Democratization หรือการทำให้อวกาศเข้าถึงได้สำหรับทุกคน โดยในภารกิจเที่ยวบิน ์NS-13 ของ Blue Origin นี้ ก็นับเป็นเที่ยวบินที่ 4 ที่ทาง mu Space บริษัทอวกาศสัญชาติไทยได้พาเอาชุดการทดลองของคนไทยขึ้นสู่อวกาศ หนึ่งในนั้นก็คือการส่งชุดการทดลอง DNA Storage ที่บรรจุเพลงความฝันกับจักรวาลขึ้นสู่อวกาศอีกด้วย

ซึ่งเที่ยวบินนี้นอกจากชุดการทดลองของคนไทย ก็จะมีการทดลองที่สำคัญ ๆ ของลูกค้ารายอื่น ๆ ร่วมถึง NASA เองว่าภารกิจ นี้จะเป็นการทดสอบก้าวแรกของการไปสำรวจดวงจันทร์ในโครงการ Artemis

ในเที่ยวบิน NS-13 บนยาน New Shepard ของ Blue Origin นอกจากจะมีภารกิจ Molecular Encoded Storage for Space Exploration หรือ MESSE ที่เป็นความร่วมมือระหว่าง Spaceth.co, Freak Lab, mu Space, และ MIT Media Lab แล้ว (สามารถอ่านรายละเอียดเกี่ยวกับภารกิจ MESSE ได้ที่นี่) ยังมีอุปกรณ์ทางวิทยาศาสตร์อื่น ๆ อีกมากมายที่น่าสนใจและเป็นประโยชน์ต่อการสำรวจอวกาศในอนาคตเช่นกัน ซึ่งแต่ละอุปกรณ์ล้วนแล้วแต่เป็นอุปกรณ์ใหม่ ๆ มีอะไรบ้างสามารถติดตามได้ในบทความนี้

MESSE

Molecular Encoded Storage for Space Exploration

เป็นโครงการสำรวจอวกาศที่อยู่บนจุดตัดระหว่างวิทยาศาสตร์ กับศิลปะ โดยการสร้าง DNA Storage จากโน๊ตดนตรีของเพลง “ความฝันกับจักรวาล” เป็นเพลงไทยเพลงแรกที่ถูกนำมาแปลงเป็น DNA และถูกส่งขึ้นสู่อวกาศ พัฒนาโดยเยาชนไทย

อ่านเพิ่มเติม >

mu Space Payload

mu Space Corp ร่วมกับ Blue Origin จะทำการส่งชุดการทดลองทั้งหมด 5 โมดูลขึ้นไปในอวกาศกับจรวด New Shepard เที่ยวบิน NS-13 ซึ่งจะเดินทางขึ้นสู่อวกาศในวงโคจรแบบ Sub-orbital (ไปแล้วกลับ) โดย mu Space Corp จะส่งอุปกรณ์ทดลองวิทยาศาสตร์ไปพร้อมกับยาน New Shepard เที่ยวบิน NS-13 ใน Single Payload Locker และ Mini Payload Locker ทั้งหมด 5 โมดูล โดยหนึ่งในนั้นเป็น Payload MESSE ส่วนอีก 4 โมดูลนั้นคือ

mu Space Tech Experiment Payload

  • ชุดศึกษาการวัดปริมาตรของเหลวในสภาวะไร้แรงโน้มถ่วงด้วยคลื่นเหนือเสียง (Ultrasonic fluid level measurement experiment: UFLMX) ซึ่งมีจุดประสงค์เพื่อวัดปริมตารของของเหลวในอวกาศซึ่งเป็นสภาวะไร้น้ำหนัก หมายความว่าของเหลวในอวกาศที่เราจะวัดนั้นเอาไปชั่งตราชั่งน้ำหนักธรรมดาไม่ได้ (เพราะมันไม่มีน้ำหนัก) แต่แน่นอนว่ามันมีมวลและปริมาตร UFLMX เปรียบเสมือนเซนเซอร์สำหรับการวัดค่าน้ำหนักของของเหลวโดยไม่ได้ใช้การชั่งน้ำหนักแต่ใช้คลื่นเหนือเสียง (Ultrasonic แทน)
  • ชุดการศึกษาการเคลื่อนที่ของของไหลในสภาวพแรงโน้มถ่วง (Fluid in microfluidic device experiment: FMX1) มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาวัสดุที่จะนำไปใช้ในการสร้างแผงโซล่าเซลล์บนดวงจันทร์ โดย Microfluidic device คือ อุปกรณ์ที่มีไว้เพื่อทดลองคุณสมบัติทางกายภาพและทางเคมีของสารเคมีในระดับที่เล็กมาก ๆ ซึ่งเล็กในที่นี้คือปริมาตรของสารที่อาจอยู่ระหว่าง microliters (10-6) ถึง picoliters (10-12) เลยทีเดียว
  • ชุดการวัดปริมาตรการแผ่รังสีนอกชั้นบรรยากาศโลก (Geiger-Muller counter experiment: GMCX) มีจุดประสงค์เพื่อการทดสอบวัสดุที่จะนำมาทำถุงมือของนักบินอวกาศเพื่อทดสอบว่าวัสดุดังกล่าวสามารถดูดซับรังสีนอกชั้นบรรยากาศของโลกได้มากแค่ไหน
ชุดการทดลองของคนไทยที่บรรจุภายใน Single Payload Locker ของ Blue Origin ที่มา – mu Space

TOT Data Center Payload

บริษัท ทีโอที จำกัด (TOT) ได้ลงนามบันทึกความร่วมมือ (MOU) กับ บริษัท มิว สเปซ แอนแอดวานซ์ เทคโนโลยี จำกัด (mu Space Corp) เพื่อทดลองส่งอุปกรณ์ขึ้นสู่วงโคจรระดับ Sub-orbital ด้วยจรวด New Shepard ของ Blue Origin ในเที่ยวบิน NS-13 โดยอุปกรณ์ทดลองดังกล่าวเป็น Server Payload ที่ประกอบไปด้วย Web Server, IoT (Internet of Things) Platform, Big data device ต่าง ๆ เพื่อการวิจัยสำหรับการพัฒนาดาวเทียมสื่อสาร Low-Earth orbit (LEO) ในอนาคต เพื่อทดแทนระบบอินเทอร์เน็ตไร้สายแบบ Broadband ในปัจจุบัน

นับเป็นก้าวแรกของประเทศไทยในการเดินหน้าเข้าสู่ Space Digital Platform ซึ่งมีเป้าหมายที่จะสร้าง Data Center ในอวกาศทดแทน Data Center ภาคพื้นดินซึ่งจะช่วยลดค่าการบำรุงรักษาได้อย่างมากโดยเฉพาะเรื่องของอุณหภูมิของ Data Center ที่เป็นอุปสรรคหลักของ Data Center บนภาคพื้นดิน การเอา Data Center ไปไว้ในอวกาศซึ่งมีอุณหภูมิต่ำมากและจะช่วยลดปัญหาด้านอุณหภูมิของ Data Center ไปอย่างสิ้นเชิง นอกจากนี้การนำ Data Center ไปไว้ในอวกาศหมายความว่าเราสามารถใช้พลังงานแสงอาทิตย์จากดวงอาทิตย์มาเป็นพลังงานให้กับ Data Center ได้อีกด้วยนั่นเอง

MESSE – Molecular Storage for Space Exploration

ทีมวิจัยของ Spaceth และ Freak Lab ได้ร่วมกันพัฒนาอัลกอริทึมที่แปลงโน้ตดนตรีมาเป็นคู่เบสบน DNA และประสบความสำเร็จในการเก็บเพลง “ความฝันกับจักรวาล” ทั้งเพลงด้วยการใช้คู่เบสแค่ 640 bp เท่านั้น DNA ชุดนี้จะถูกนำไปวิจัยสิ่งที่เรียกว่าการทำ Gibson Assembly ซึ่งเป็นการประกอบตัวเองของ DNA ในสภาวะก่อนและหลังการถูกส่งขึ้นสู่อวกาศ เพื่อศึกษาโอกาสในการใช้ DNA Storage เป็นตัวเก็บความรู้ของมนุษยชาติ ในยามที่อารยธรรมล่มสลายหรือในระหว่างการเดินทางท่องอวกาศนับพันปี DNA นั้นยังเปรียบเสมือนผู้สร้าง ผู้ที่กำหนดให้ชีวิตของเราเป็นชีวิต แต่วันหนึ่ง มนุษย์ได้ปลดล็อกความลับของธรรมชาติที่เรียกว่า Biotechnology ทำให้เราสามารถสร้างและนิยามชีวิตในแบบที่เราต้องการได้ การทดลองนี้หวังจะสร้าง Impact หลายประการตั้งแต่ การแสดงถึงจุดตัดระหว่างศิลปะ เทคโนโลยี วิทยาศาสตร์ และปรัชญา การแสดงศักยภาพของเยาชนไทย และนักวิจัยไทย กับงานระดับสากล การเป็นความหวังของประเทศ และมนุษยชาติ ผ่านความหวัง ความฝัน และความเชื่อ

Microgravity LilyPond

Microgravity LilyPond เป็นอุปกรณ์ทางวิทยาศาสตรฺของ Space Lab Technologies ซึ่งเป็นโครงการของ Space Technology Mission Directorate ของ NASA โดย Microgravity LilyPond เป็นการทดลองห้องเพาะปลูกพืชน้ำแบบ Hydroponic ในอวกาศซึ่งไร้น้ำหนักทำให้เราเอาการปลูกพืชแบบ Hydroponic ที่เราทำทั่ว ๆ ไปบนโลกไปใช้ในอวกาศไม่ได้เพราะว่าน้ำที่ใช้ในการปลูกจะลอยกระจัดกระจายไปหมด จึงทำให้ต้องมีอุปกรณ์พิเศษที่ทำให้เราสามารถปลูกพื้ชแบบ Hydroponic บนสภาวะไร้น้ำหนักได้

Microgravity LilyPond ใช้ Capillary Action ซึ่งอาศัยแรงยึดเหนี่ยงระหว่างโมเลกุล (Intermolecular Force) ของน้ำ และแรงเชื่อมแน่น (Cohesive Force) เพื่อส่งน้ำให้กับพืชที่อยู่ในห้องเพาะเลี้ยงและใช้ LED เป็นแหล่งของแสงไฟ รวมถึงมีอุปกรณ์ที่ใช้ในการปั่นเหวี่ยงตัว Chamber เพื่อแยกน้ำออกจากพื้ชเมื่อจะเก็บเกี่ยว

ชุด Microgravity LilyPond ขนาดเล็ก – ที่มา Space Lab Technologies

โดยพืชที่จะปลูกใน Microgravity LilyPond คือ “แหน” (Duckweed/Water lentils) ซึ่งเป็นพื้ชลอยน้ำขนาดเล็กและสามารถเติบโตได้ดีไหนพื้นที่ที่มีน้ำนิ่งรวมทั้งสามารถอาศัยอยู่ในน้ำที่มีความเป็นกลางของค่า pH ได้ดี และเหตุผลที่ทีมวิจัยของ Space Lab Technologies เลือกแหนเป็นเพราะว่าแหนมีส่วนประกอบเป็นโปรตีนสูงสุดถึง 45% และยังมีสารอาหารจำพวกกรดอะมิโนเป็นจำนวนมากรวมถึงสารต่อต้านอนุมูลอิสระซึ่งจำเป็นอย่างมากในอวกาศอีกด้วย นอกจากนี้มันยังปลูกง่ายและโตเร็วด้วยเพราะว่าไม่ต้องใช้ดินหรือปุ๋ยทำให้การเพาะปลูกมีต้นทุนลดลงในขณะที่ได้ผลผลิตมากขึ้น เพราะว่าถึงแม้มันจะใช้น้ำในการเพาะปลูกซึ่งหากน้ำไปใช้ใน ISS ก็คงจะไม่ดีทเท่าไหร่เพราะบน ISS น้ำมีจำกัด แต่ทีมพัฒนาออกแบบให้ LilyPond สามารถเก็บน้ำอันเก่าไว้ใช้ใหม่ได้ในการเพาะปลูกครั้งต่อไปทำให้ไม่จำเป็นต้องเปลี่ยนน้ำตลอด

ในเที่ยวบิน NS-13 Microgravity LilyPond จะถูกทดสอบในสภาวะไร้น้ำหนักเพื่อวัดประสิทธิภาพของอุปกรณ์และพัฒนาให้ดีขึ้นก่อนที่จะนำไปใช้จริงในสถานีอวกาศนานาชาตินั่นเอง

แหน (Duckweed/Water lentils) – ที่มา Space Lab Technologies

Environment monitoring suite on suborbital Reusable Launch Vehicle (sRLV)

Environment monitoring suite on suborbital Reusable Launch Vehicle (sRLV) เป็นชุดการตรวจสอบ (Monitor) สภาพแวดล้อมบนจรวด Sub-orbital ที่สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้พัฒนะโดย Johns Hopkins University (JHU) และ Applied Physics Lab โดยมันประกอบไป้วยระบบ Global Positioning System (GPS) สองคลื่นความถี่หมายความว่ามันสามารถจับสัญญาณ GPS จากสองเครือข่าย GNSS มาเปรียบเทียบกันได้ (สามารถอ่านบทความเกี่ยวกับ GNSS ได้ที่นี่ เจาะลึกระบบดาวเทียมนำทางที่ไม่ได้มีแค่ GPS มันทำงานอย่างไร สรุปทุกข้อมูล) พร้อมกับระบบคำนวณทิศทางในตัว (Inertial Measurement Unit: IMU) ซึ่งจะช่วยในการสร้างแผนที่ ไอน้ำและไอโอเนสเฟียร์เพื่อติดตามการเปลี่ยนแปลงของกระแสไฟฟ้าในชั้นไอโอโนสเฟียร์ของโลก

Environment monitoring suite on suborbital Reusable Launch Vehicle (sRLV) – ที่มา NASA

Microgap-cooling Technology

Microgap-cooling Technology เป็นระบบระบายความร้อนของอุปกรณ์ไฟฟ้าบนยานแบบใหม่คิดค้นโดย Franklin Robinson วิศวอุณหพลศาสตร์ ประจำ NASA’s Goddard Space Flight Center โดย Microgap-cooling Technology อาศัยหลักการคล้ายการระบายความร้อนในคอมพิวเตอร์ด้วยของเหล็ว (Coolant) โดยความร้อนจะถูกถ่ายผ่านท่อเล็ก ๆ ซึ่งเป็นท่อของสารหล่อเย็นซึ่งจะวิ่งผ่านอุปกรณ์ไฟฟ้าต่าง ๆ เพื่อทำ Heat Transfer และลดอุณหภูมิของอุปกรณ์ต่าง ๆ จากนั้นสารหล่อเย็นจะถูกนำไปผ่าน Radiator เพื่อแผ่ความร้อนออกจากสารหล่อเย็นจากนั้นจึงวนเข้าระบบใหม่อีกครั้ง

โดยระบบแบบนี้เหมาะกับการใช้งานกับวงจรแบบ 3 มิติ (3D Stacked Integrated Circuit) ซึ่งเป็นการเอา IC ต่าง ๆ มาทับกันเป็น Stack บน Circuit Board แทนที่จะกระจายแต่ละ IC บน Circuit Board ซึ่งการทำวงจรแบบ 3 มิติ ทำให้การเชื่อมต่อแต่ละ IC เข้าด้วยการง่ายขึ้นและไม่ต้องเดินทางข้ามบอร์ดไปมาทำให้ประหยัดพื้นที่มากขึ้นและมีประสิทธิภาพสูงขึ้น แต่แผงวงจรแบบ 3 มิติ ไม่สามารถใช้การระบายความร้อนแบบทั่ว ๆ ไปที่เคยใช้กันได้ เพราะว่าชิปมันไม่ได้อยู่บนบอร์ดแต่ไปอยู่บนชิปอีกที ทำให้ชิปที่อยู่ข้างบนมีความเสี่ยงที่จะ Overheat ระบบ Microgap-cooling Technology จะช่วยระบายความร้อน IC ทั้งหมดด้วยการเอาสารหล่อเย็นไปวิ่งผ่านเพื่อถ่ายเทความร้อน

ระบบ Microgap-cooling technology และ Frank Robinson – ที่มา NASA’s Goddard Space Flight Center/Bill Hrybyk

เที่ยวบินที่ NS-13 บนยาน New Shepard ของ Blue Origin กำลังจะเป็นการทดสอบจริงครั้งแรกของระบบนี้โดย Robinson กล่าวว่าเขาได้ลองทดลองระบบนี้ในแล็บแล้วและคาดว่าอยู่ในอวกาศมันก็น่าจะยังคงประสิทธิภาพเหมือนตอนทดสอบอยู่ในห้องแล็บเขายังกล่าวอีกว่าเราไม่สามารถรู้ได้ว่าต้องใช้ท่อที่เล็กขนาดไหนจึงจะลีกเลี่ยงผลกระทบจากสภาวะไร้แรงโน้มถ่วงที่อาจทำให้การไหลของสารหล่อเย็นติดขัดได้

IRIS – an Integrated Remote Imaging System

Integrated Remote Imaging System (IRIS) เป็นระบบ External Environment Remote Sensing ที่จะใช้ในการวัดค่าแสงภายนอกจรวดต่าง ๆ ด้วยอุปกรณ์ Visisble-Shortwave Infrared Spectrometer พร้อมกับระบบ Stabilization 2 แกนพัฒนะโดย Johns Hopkins University (JHU) และ Applied Physics Lab (APL) ซึ่งจะถูกส่งไปพร้อมกับเที่ยวบิน NS-13 ของ Blue Origin เพื่อทดสอบ Pre-flight, In-flight และ Post-flight ของอุปกรณ์

โมเดลของ Integrated Remote Imaging System (IRIS) – ที่มา NASA

Automated Radiation Measurements for Aerospace Safety Suborbital (ARMAS-S)

Automated Radiation Measurements for Aerospace Safety Suborbital หรือ ARMAS-S เป็นเทคโนโลยี COTS ที่ใช้สำหรับการวัดค่ารังสีไอออไนซ์ (Ionizing Radiation) และ Total Ionizing Dose (TID) ในวงโคจร Low Earth Orbit (LEO) มีจุดประสงค์เพื่อการวิจัยด้านความปลอดภัยของการส่งมนุษย์ขึ้นไปยังวงโคจร LEO พัฒนะโดย Space Environment Technologies (SPACEWX) ซึ่งเที่ยวบิน NS-13 ของ Blue Origin จะเป็นเที่ยวทดสอบของอุปกรณ์นี้

Automated Radiation Measurements for Aerospace Safety Suborbital (ARMAS-S) – ที่มา NASA

Box-of-Rocks Experiment II

Box-of-Rocks Experiment II: Morphology and Sampling of Asteroid Regolith Simulants in Microgravity เป็นการทดลองสร้างอุปกรณ์เก็บตัวอย่างดินบนพื้นผิวของดาวอย่างเช่นดาวเคราะห์น้อย โดยอาศัยการย่อนตัวเองลงไปที่พื้นผิวเหมือนโยนสมอเพื่อลงไปเก็บตัวอย่างจากนั้นจึงจุดจรวดดันตัวเองกลับขึ้นมาบนยานแม่ มีจุดประสงค์เพื่อลดึวามเสี่ยงของยานแม่ในการเก็บตัวอย่างโดยไม่ต้องใช้ยานแม่ในการเก็บตัวอย่างแต่ใช้อุปกรณ์เก็บตัวอย่างแทน พัฒนะโดย Southwest Research Institute (SwRI) และอยู่ในระหว่างการพัฒนะ Prototype

คอนเซปของ Box-of-Rocks Experiment II – ที่มา NASA/SwRI

Large-Scale Liquid Acquisition Device for Cryogenic Fluid Management

Large-Scale Liquid Acquisition Device for Cryogenic Fluid Management พัฒนาโดย Southwest Research Institute (SwRI) เป็นระบบการจัดการของเหลว Cryogenic ด้วยอุปกรณ์ Liquid Acquisition Device (LAD) ซึ่งใช้ท่อขนาดเรียวเพื่อดึงฟองอากาศที่อยู่ในระบบออก แทนที่ระบบเดิมซึ่งใช้ Capillary action โดยฟองอากาศในระบบ Cryogenic Fluid อาจทำให้การไหลติดขัดได้และการจะเอาฟองอากาศที่ว่าออกด้วยระบบเดิมนั้นยากมากเพราะต้องใช้ระบบ Active separation systems ในการดึงฟองอากาศออกซึ่งใช้พลังงานในขณะที่ระบบ LAD ใช้แรงตึงผิวในการดึงฟองอากาศออกเป็นระบบแบบ Passive ซึ่งหากสำเร็จ มันจะทำให้ระบบ Cryogenic Fluid มีประสิทธิภาพและเสถียรขึ้นกว่าเดิมเป็นอย่างมาก

การดึงฟองอากาศออกด้วย LAD ซึ่งใช้ระบบ Passive – ที่มา NASA/SwRI

Biological Imaging in Support of Suborbital Science

Biological Imaging in Support of Suborbital Science พัฒนาโดย University of Florida เป็นการทดลองถ่ายรูปความะเอียดสูงด้านชีววิทยาระหว่างที่เกิด Gravity Shift ในระยะ ๆ ต่างระหว่างการบินตั้งแต่การปล่อยจนถึงสภาวะไร้น้ำหนักและกลับมามีน้ำหนักอีกครั้งเมื่อ Re-entry ซึ่งจะช่วยให้นักวิจัยและนักวิทยาศาสตร์สามารถตรวจสอบได้ว่าเกิดอะไรขึ้นกับสิ่งมีชีวิตขนาดเล็กขณะที่เกิดการเปลี่ยนแปลงของน้ำหนักและแรง G อย่างกระทันหัน

Biological Imaging in Support of Suborbital Science – ที่มา NASA

Deorbit, Descent and Landing Sensor Demonstration

ในปี 2024 การเดินทางกลับสู่ดวงจันทร์โดยมนุษย์จะเกิดขึ้นอีกครั้ง ในภารกิจ Artemis ในภารกิจ NS-13 นี้ นับจากการหยุดพักในช่วง COVID อย่างยาวนาน ทำให้นักวิทยาศาสตร์เริ่มกลับมาทำงานและทดสอบความสามารถของระบบ Software และ Hardware ที่ในอีกไม่ถึงห้าปีข้างหน้าจะนำพามนุษย์กลับสู่ดวงจันทร์ในรอบเกือบ 50 ปี ในครั้งนี้ การทดสอบจะเป็นการทดสอบระบบ Sensor สำหรับ Deorbit, Descent and Landing Sensor Demonstration หรือการลดความเร็วโคจร ลดความสูง และลงจอดบนดวงจันทร์ ที่เมื่อในสมัย Apollo นักบินอวกาศจำเป็นต้องช่วยยานบังคับการลงจอด แต่ในรอบ Artemis นี้ทุกอย่างจะเป็นระบบอัตโนมัติ ดังนั้นจรวดที่ขึ้นและลงจอดในแนวดิ่งอย่าง New Shepard ก็จะช่วยให้ NASA ทดสอบ Sensor เหล่านี้ได้เพื่อความแม่นยำในอนาคต และระบบนี้จะถูกนำไปติดตั้งกับยานที่จะใช้ในการลงจอดดวงจันทร์ ซึ่ง Blue Origin ก็เป็นหนึ่งในผู้ร่วมพัฒนาด้วย

อ่าน – NASA ประกาศ 3 บริษัทที่จะนำมนุษย์ ลงจอดบนดวงจันทร์ในรอบครึ่งศตวรรษ Blue Origin, Dynetics, SpaceX

จะเห็นว่าทุการทดลองของเป็นการทดลองที่มีความสำคัญต่อวงการวิทยาศาสตร์ แม้ว่าตัวจรวดจะเป็นจรวดแบบ Suborbital คือบินขึ้นไปเป็นวงโคจรแบบพาราโบลาและตกกลับลงมายังโลก ผ่านเส้นแบ่งเขตโลกและอวกาศที่ความสูงร้องกิโลเมตร แต่อย่างไรก็ตาม ทุกภารกิจก็จะได้ทำหน้าที่ของมันอย่างเต็มที่ และปูทางสู่การสำรวจอวกาศในแบบที่ทุกคนสามารถเอื้อมถึงได้

ดังนั้นนอกจากภารกิจ MESSE ของเราที่จะเป็นตัวแทนความฝันของเยาชนไทยในการไปสู่อวกาศแล้ว ในระดับโลก Blue Origin New Shepard ก็ยังเป็นจรวดที่จะพาให้การเดินทางสู่ดวงดาวของมนุษย์เป็นไปได้จริงในเวลาอันรวดเร็วขึ้น เรียกได้ว่าการขึ้นสู่อวกาศจะง่ายเหมือนกับสั่ง Grab หรือ Kerry และเป็นเรื่องไม่ยากที่ทุกคนจะมีโครงการอวกาศของตัวเอง

อ่านคอนเทนต์ชุด MESSE
– 1U ตัวเลขมหัศจรรย์ จุดเริ่มต้นในการทำงานอวกาศ บนพื้นที่ 10x10x10 เซนติเมตร
– DNA Storage อนาคตของการเก็บข้อมูล เยอะกว่าล้านเท่าตัว ซับซ้อนด้วยกลไกของชีวิต
 เขียนโปรแกรมให้ชีวิตด้วย Synthetic Biology รู้จัก Gibson Assembly ในภารกิจ MESSE
– ปรัชญา อวกาศ เรเนซองส์ ความฝันกับจักรวาล และความเป็นมนุษย์ที่อยู่ในภารกิจ MESSE
Blue Origin NS-13 ภารกิจนำ ความฝันกับจักรวาล สู่อวกาศ และการทดสอบที่สำคัญของคนไทย และ NASA

เรียบเรียงโดย ทีมงาน SPACETH.CO

Chief Science | A 20-year-old biologist with a passion for space exploration, science communication, and interdisciplinarity. Dedicated to demystifying science for all - Since 2018.