Space Economy Lifting Off 2021: เข้าใจใหม่ ธุรกิจอวกาศไม่ได้มีแค่ดาวเทียม

หากจะมอง Space Activity ในปัจจุบันแบบง่าย ๆ เราอาจเห็นรูปแบบใหญ่ ๆ อย่างหนึ่ง ของการสร้างยานอวกาศอย่างจรวดหรือ Shuttle เป็นตัวกลางเพื่อขนส่งอะไรบางอย่างขึ้นไปยังอวกาศหรือไปดาวดวงอื่น ถ้าการขนส่งที่ว่าไม่ใช่นักบินอวกาศแล้ว สิ่งหนึ่งที่หลายคนน่าจะนึกถึงมากที่สุดก็คงเป็นดาวเทียมประเภทต่าง ๆ

นั่นก็คงเป็นเพราะในช่วงหลายปีที่ผ่านมา เรามักจะได้เห็นการเคลื่อนไหวของกิจกรรมอวกาศในแง่มุมของการส่งดาวเทียมขึ้นชั้นวงโคจร ทั้งในฝั่งของภาครัฐอย่างการส่ง THEOS หรือ THAICHOTE ของ Gistda, Sentinal Fleet ของ ESA และของฝั่งธุรกิจอย่าง Starlink ของ SpaceX หรือ THAICOM ด้วยยานอวกาศรูปแบบต่าง ๆ (ที่ก็จะเป็นเหมือนต้นทางของการอุตสาหกรรมอย่างที่ได้กล่าวมา) และก็ดูจะเป็นธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับอวกาศที่ดูเป็นรูปธรรมและเข้าใจง่ายที่สุดอย่างหนึ่งในปัจจุบัน

ภารกิจ L20 ของ SpaceX ที่ทำการปล่อย Starlink ขึ้นสู่อวกาศเพิ่มอีก 60 ดวง – ที่มา SpaceX

แต่อย่างไรก็ตาม ถ้าเราถอยกลับมาสักก้าวเพื่อมองภาพที่ใหญ่ขึ้นแล้วพิจารณาไปที่ภาพที่ใหญ่ขึ้น เราจะได้เห็นบทบาทของ ธุรกิจประเภทอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับอวกาศที่ได้เริ่มก้าวเข้ามามีบทบาทหรือเติบโตขึ้นในเวทีแห่งนี้เมื่อเทียบกับในอดีตที่ผ่านมา

กรณีศึกษาจาก ISS National Laboratory

ISS National Laboratory คือหน่วยงานของสหรัฐอเมริกาที่ถูกก่อตั้งขึ้นจาก NASA Authorization Act ในปี 2005 บน US Segment ของสถานีอวกาศนานาชาติ โดยมีจุดประสงค์เพื่อ “พัฒนาคุณภาพชีวิตบนโลก สนับสนุนหน่วยงานที่สัมพันธ์กับ NASA และหน่วยงานอื่น ๆ ทั้งของภาครัฐและเอกชน และพัฒนาการศึกษ​า STEM ผ่านการใช้ประโยชน์คุณสมบัติที่เฉพาะตัวของสถานีอวกาศนานาชาติในสภาวะแรงโน้มถ่วงต่ำ”

ในปี 2010 NASA ได้เลือกหน่วยงานไม่แสวงกำไรชื่อ Center for the Advancement of Science in Space (CASIS) ให้เข้ามาทำหน้าที่เป็นคนควบคุมการดำเนินงานของ ISS National Laboratory ซึ่งทางหน่วยงานก็ได้ขยายภาคความร่วมมือกับภาคเอกชนให้มากยิ่งขึ้นกว่าเดิม ซึ่งถ้าลองพิจารณาถึงโปรเจกต์ที่เกิดขึ้นภายใต้หรือได้รับการสนับสนุนโดย ISS National Laboratory ก็จะเห็นการเข้ามามีส่วนร่วมของภาคเอกชนที่สูงขึ้นเรื่อย ๆ ที่ก็น่าจะเป็นที่คุ้นหูอยู่หลายเจ้าอย่าง Adidas, Hewlett Packard (HPE) หรือ P&G (บริษัทยาชื่อดังบริษัทหนึ่ง)

Tim Kopra นักบินอวกาศจาก NASA ทำการเซทอัพเครื่อง BASS-M เพื่อใช้ในการทดลองคุณสมบัติของเสื้อผ้าผสมสารป้องกันการลามของไฟในสภาวะไร้แรงโน้มถ่วง – ที่มา NASA

Five Ways ISS National Lab Enables Commercial Research

กรณีของ Adidas

Payload ชิ้นหนึ่งที่ได้ถูกส่งไปกับยาน SpaceX Falcon 9 ในภารกิจ CRS-20 คือชุดการทดลองชื่อ Boost in Space ของ Adidas โดยเจ้าชุดการทดลองตัวนี้มีจุดประสงค์เพื่อทำการเข้าใจการไหลของอนุภาค Nonuniform foam ให้มากยิ่งขึ้น เพื่อพัฒนา Process การผลิตรองเท้า Boost ที่ใช้อนุภาคตัวนี้เป็นส่วนประกอบสำคัญ และเพื่อพัฒนาส่วน Midsole (พื้นรองเท้าที่อยู่ตรงกลางระหว่างส่วนที่สัมผัสกับเท้า) อ่าน – ISS NATIONAL LAB X ADIDAS – WHY WE’RE SENDING BOOST INTO SPACE

กรณีของ Hewlett Packard Enterprise (HPE)

HPE ที่เป็นบริษัทที่ทำการ Split ออกมาจาก Hewlett-Packard Company (หรือที่หลาย ๆ คนอาจจะรู้จักกันในชื่อ HP) ได้ทำการส่งคอมพิวเตอร์ชื่อ Spaceborne Computer-2 ขึ้นไปบน ISS ด้วย CRS ของ Northrop Grumman ในภารกิจ NG-15 เพื่อให้ได้ใช้งานบนสถานีอวกาศนานาชาติ ซึ่งก็เหมือนจะเป็นผลประโยชน์ร่วมของทั้งสองฝ่ายทั้ง ISS ที่ได้คอมพิวเตอร์ที่มีประสิทธิภาพสูงไว้ใช้งานและ HPE ที่ได้ทำ proof-of-concept ของเทคโนโลยีที่ถูกใช้พัฒนาคอมพิวเตอร์เครื่องนี้ขึ้นมา อ่าน – Hewlett Packard Enterprise accelerates space exploration with first ever in-space commercial edge computing and artificial intelligence capabilities

Spaceborne Computer-2 ของ HPE ก่อนการส่งขึ้น ISS – ที่มา NASA

กรณีของ BioServe Space Technologies

BioServe Space Technologies คือหน่วยงานที่ Spinoff ออกมาจากแล็บของ Ann & H.J. Smead Department of Aerospace Engineering Sciences ของ University of Colorado Boulder เพื่อศึกษาประเด็นต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับอวกาศ วิศวกรรม พันธุวิศวกรรมและธุรกิจ โดยในภารกิจ SpaceX CRS-21 ได้มีการส่งการทดลองชื่อ Influence of Gravity on Human Immune Function in Adults and the Elderly ขึ้นไปเพื่อศึกษาผลกระทบของแรงโน้มถ่วงต่อระบบภูมิคุ้มกันโดยรวมของมนุษย์ ด้วยการศึกษาเซลล์ร่างกายของมนุษย์ในแต่ละช่วงวัย เพื่อใช้ในการพัฒนาวัคซีนที่ดียิ่งขึ้น
SpaceX CRS-21 Mission Overview

ยาน Dragon 2 จาก SpaceX CRS-21 – ที่มา ISS Research Laboratory

มีคำถามที่น่าสนใจเกิดขึ้นมาจากกรณีเหล่านี้คือ ทำไมองค์กรเหล่านี้ต้องส่งของเหล่านี้/งานวิจัยเหล่านี้ขึ้นสถานีอวกาศนานาชาติ และจริง ๆ แล้วมันสร้างประโยชน์อะไรกับตัวองค์กรเอง

ในความคิดเห็นของผู้เขียนแล้ว ผมรู้สึกว่าเป้าหมายขององค์กรและคำตอบของเรามันแตกต่างกันไปตามบริบทของแต่ละองค์กร ในกรณีของ Adidas กับ HPE (หรือบริษัททางการแพทย์หลาย ๆ ที่อย่าง P&G หรือ Merck ที่มักส่งงานวิจัยเพื่อพัฒนายาบนอวกาศอยู่เป็นพัก ๆ ) ที่เราอาจจะจัดกลุ่มพวกนี้ได้ว่าเป็นผู้เล่นที่มีฐานที่แข็งแรงด้วยตัวเองอยู่แล้วและเข้ามาจับในอวกาศเป็นส่วนเสริม

เราอาจวิเคราะห์ได้ถึงผลประโยชน์หลัก ๆ ทาง R&D และ PR ที่มากน้อยต่างกัน อย่างงานของ Adidas ที่ทำ R&D เรื่องของวัสดุในการผลิตพื้นรองเท้า ที่ถึงแม้อาจจะได้ผลลัพท์ในเชิงของ R&D แต่ก็คงปฏิเสธไม่ได้ว่าผลลัพท์อีกอย่าง (ที่อาจจะใหญ่กว่าด้วยซ้ำไป) คือในแง่ของ PR ที่ได้เกิด Spot โฆษณา Collection รองเท้าใหม่ หรือเกิดเป็นบทสนทนาในสังคมประมาณหนึ่ง ในขณะที่งานของ P&G ที่ส่งชุดการทดลองขึ้นไป (อาจจะเป็นการทำ Protein Crystalization หรือการทำ Investigation อะไรก็แล้วแต่) ผลกระทบในแง่ของ R&D ที่ทำให้สามารถพัฒนาได้รวดเร็วขึ้นก็อาจจะดูใหญ่กว่าด้าน PR

การทดลอง 3d print เนื้อเยื่อสังเคราะห์ขึ้นมาจากเซลล์ของเนื้อวัวที่ส่งการทดลองไปโดยบริษัท Aleph Farms บนสถานีอวกาศนานาชาติ – ที่มา 3D Bioprinting Solutions

ในขณะที่บางองค์กรอย่าง BioServe Space Technologies ที่อาจจะเรียกได้ว่าเป็นผู้เล่นที่สร้างองค์กรมาจากงานที่ด้านอวกาศโดยตรงตั้งแต่แรก ผลประโยชน์ที่ผู้เล่นกลุ่มนี้ได้รับจากงานอวกาศก็คงชัดเจนอยู่แล้ว ในแง่ของการเป็นรากฐานของการเกิดขึ้นของบริษัทด้วยซ้ำไป แต่มันก็ imply ไปได้ถึงประเด็นสำคัญอย่างหนึ่งคือ เศรษฐกิจที่เกี่ยวข้องกับอวกาศมันกำลังเติบโตขึ้นจนสามารถสร้างเม็ดเงินได้ เกิดเป็น ecosystem ใหม่ขึ้นมา ซึ่งที่น่าสนใจก็คือผลผลิตที่พัฒนาขึ้นมาในหลายครั้งเชื่อได้ว่ามันจะไม่ได้ตอบโจทย์กับแค่งานด้านอวกาศแต่สุดท้ายเทคโนโลยีเหล่านั้นมันจะวนกลับมาถูกพัฒนาและใช้ประโยชน์บนโลกด้วย (เหมือนกรณีของ BioServe Space Technologies ที่จริง ๆ ดูเหมือนเป็นการศึกษาสภาพร่างกายในสภาวะไร้แรงโน้มถ่วง ที่อาจจะตีความไปได้ถึงการรองรับตลาดการเดินทางของมนุษย์ในอวกาศ แต่มันก็สามารถนำชุดข้อมูลที่ได้ไปใช้ในการผลิควัคซีนให้มนุษย์บนโลกต่ออีก)

ในท้ายที่สุดแล้วประเด็นที่น่าสนใจของ ISS National Laboratory ก็ยังมีอีกมาก แต่อย่างไรก็ตาม เราไม่สามารถยกมันเป็นตัวแทนของบทบาทของธุรกิจอวกาศทั้งหมดในปัจจุบันได้ซะทีเดียว

สรุปอีกครั้ง: เอกชนจะก้าวขาเข้ามาในวงการอวกาศทำไม?

ผู้อ่านคงจะพอจำกันได้ว่าในหลาย ๆ ครั้งทางทีม Spaceth มักจะเปรียบเทียบการเติบโตของอุตสาหกรรมอวกาศ กับกรณีที่คล้ายกันที่เคยเกิดขึ้นกับอุตสาหกรรมการบินเมื่อศตวรรษที่แล้ว ก็เช่นเดิมกับที่เราเคยได้พูดมา เราได้เห็นแนวโน้มการเติบโตของอุตสาหกรรมอวกาศอย่างรวดเร็วในปัจจุบัน ที่มันจะลู่จากการพัฒนาเทคโนโลยีเฉพาะทางเข้าสู่สิ่งที่ใกล้ชิดชีวิตประจำวันของมนุษย์ทั่วไปมากขึ้นเรื่อย ๆ

ภาพในจินตนาการของการ Colonize ดาวอังคาร -> ความเป็นไปได้ที่เกิดขึ้นของ ecosystem ทางธุรกิจใหม่ ๆ จะเกิดขึ้นและเติบโตจากการเข้ามาของอุตสารกรรมอวกาศ – ที่มา SpaceX

ในระบบที่มีความใหญ่และเฉพาะตัวขนาดนี้ก็ได้มีผู้ใช้ประโยชน์จากมันในหลายรูปแบบทั้งในด้านของกลุ่มบริษัททั่วไปที่เข้ามาจับอวกาศเพื่อผลประโยชน์สักอย่าง ไปจนถึงกลุ่มที่สร้างรากฐานของบริษัทมาล้อมรอบคอนเซปต์ของอวกาศเลย ซึ่งไม่ว่าจะเป็นกลุ่มไหน มันก็สามารถแสดงให้เห็น (ในแง่มุมที่แตกต่างกัน) ของการเติบโตขึ้นของ Ecosystem ของเศรษฐกิจอวกาศที่สื่อออกมาและถูกใช้ประโยชน์ในคนละทาง

อ่านเพิ่มเติม: การเติบโตขึ้นของภาคเอกชนในอุตสาหกรรมอวกาศ – Old Space กับ New Space คืออะไร

คำถามสุดท้าย: แล้วเอกชนจะเริ่มต้นอย่างไรกับการก้าวขาเข้าสู่อุตสาหกรรมอวกาศ?

ประเด็นที่สำคัญที่สุดที่ต้องปรับความคิดคือ ธุรกิจอวกาศไม่ได้มีแค่ดาวเทียม (ตามชื่อบทความเลย) เพราะถึงแม้ดาวเทียมจะเป็นภาพที่ดูใหญ่ที่สุดในปัจจุบัน (จนอาจไปบดบังแง่มุมอื่นของธุรกิจอวกาศ) ในความเป็นจริงแล้ว ธุรกิจอวกาศก็เป็นเหมือนพื้นที่อะไรสักอย่างที่ ecosystem กำลังถูกสร้างขึ้น และ profession ต่าง ๆ ก็จะเริ่มเข้าไปมากขึ้นเรื่อย ๆ

หากพิจารณาในแง่ของธุรกิจโดยตรงแล้ว อาจเรียกได้ว่าวงการอวกาศตอนนี้มีความเป็น Blue Ocean Economy ที่เน้นไปที่การสร้าง margin ใหม่ ๆ เข้าสู่วงการ จากความกว้างของสโคปของคำว่า “อวกาศ” แล้ว มันทำให้ margin มันมีความหลากหลายค่อนข้างสูง แต่สุดท้ายแล้ว กลุ่มผู้ริเริ่มในการสร้าง margin สักอย่างที่พัฒนาต่อไปเรื่อย ๆ ก็เชื่อได้ว่าจะมีความได้เปรียบเมื่อ Blue Ocean นี้มันได้กลายเป็น Red Ocean ในที่สุด

อ่านเพิ่มเติม: ประเทศไทยวันนี้จะวิ่งให้ทัน Space Economy และเทคโนโลยีอวกาศอย่างไร งานวิจัยนี้มีคำตอบ

Space Economy Lifting Off 2021 ที่จะช่วยให้เราเข้าใจก้าวสำคัญเมื่ออวกาศกลายเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตและธุรกิจ

หากต้องการเข้าใจขนาดของเศรษฐกิจขนาดใหญ่ที่กำลังจะเกิดขึ้น เราอยากชวนผู้ประกอบการ Startup นักวิจัย หรือ ผู้ที่มีเทคโนโลยีแต่ไม่แน่ใจว่าจะสามารถเข้าร่วมในการสำรวจอวกาศได้อย่างไร เข้าร่วมงาน Open House Space Economy : Lifting Off 2021 ในวันพฤหัสที่ 22 เมษายน 2564 เวลา 13:00-15:30 น. ทำความรู้จักโครงการ เข้าใจโจทย์ของอุตสาหกรรมอวกาศ ไขข้อสงสัยเกี่ยวกับเทคโนโลยี Deep Tech ที่เป็นที่ต้องการ ไม่ว่าจะเป็น Upstream, Downstream และเทคโนโลยีอื่นๆ


โดยสามารถลงทะเบียนเพื่อเข้าร่วมผ่าน Zoom ได้ที่  https://forms.gle/5mtDyZ9nsgp2BDoPA

โครงการ Space Economy Lifting Off 2021 เป็นโครงการที่สำนักนวัตกรรมแห่งชาติ (NIA) ริเริ่ม ร่วมกับโครงการภาคีความร่วมมืออวกาศไทย (Thai Space Consortium) เพื่อสร้างความเข้มแข็งให้อุตสาหกรรมอวกาศของประเทศไทย และพัฒนาบุคลากรของประเทศให้เป็นผู้มีความเชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีอวกาศ รวมถึงผลักดันให้เกิดการนำประโยชน์จากเทคโนโลยีอวกาศไปพัฒนาประเทศ โดยดำเนินการบ่มเพาะ Startup ที่ใช้เทคโนโลยีเชิงลึกด้านเศรษฐกิจอวกาศ เพื่อพัฒนาขีดความสามารถของ Startup ให้กลายเป็นผลิตภัณฑ์หรือบริการเพื่อนำออกสู่ตลาดและสามารถขยายผลธุรกิจในประเทศไทยระดับสากล

สามารถสมัครเข้าร่วมโครงการได้ที่ https://nia.or.th/spaceeconomy ซึ่งทุกคนสามารถเข้าร่วมได้ตั้งแต่

  • Startup ผู้ประกอบการต่าง ๆ ทั้งที่มีเทคโนโลยีและมีไอเดีย
  • นักวิจัย งานวิจัยวิทยาศาสตร์ที่สำคัญในการผลักดันและต่อยอดให้เกิดธุรกิจ
  • ผู้ประกอบการด้านเทคโนโลยีที่มีความสนใจนำเทคโนโลยีมาต่อยอด เพื่อโอกาสทางธุรกิจ

สามารถสมัครได้ตั้งแต่วันนี้จนถึงวันที่ 5 พฤษภาคมนี้

เรียบเรียงโดย ทีมงาน Spaceth.co

แมว วาราบิโมจิ ปิศาจสปาเกตตี้บินได้