เมื่อเช้ามืดของวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2018 SpaceX ได้ทำการปล่อยจรวด Falcon 9 พาดาวเทียม GovSat-1 ขึ้นสู่วงโคจร ภารกิจสำเร็จไปได้ด้วยดี แต่สำหรับเรื่องน่าสนใจของภารกิจนี้นอกจากการที่จรวด Falcon 9 ลำที่ใช้คือ Falcon 9 ลำเดียวกับที่ใช้ในภารกิจการปล่อยดาวเทียมให้ NROL ในปี 2017 ที่ผ่านมานั้น การปล่อยครั้งนี้เป็นการทิ้งจรวด Falcon 9 ให้ตกทะเลโดยที่ไม่มีการเก็บกู้เพื่อนำมาใช้งานใหม่
แม้ว่า Falcon 9 ลำนี้ที่ผ่านการใช้งานมาแล้ว สังเกตได้จากรอยบริเวณจรวดของมันที่ SpaceX ไม่ยอมทำสีใหม่ จะไม่ทำการเก็บกู้แต่หลังจากที่มันทำการบินขึ้นจากฐานปล่อยที่ LC-40 ณ ฐานทัพอากาศเคอเนอเวอรัลและส่วดาวเทียม GovSat-1 ขึ้นสู่วงโคจรเรียบร้อย Falcon 9 จะทำการ Soft-landing บนมหาสมุทรแอตแลนติกโดยที่ไม่มี DroneShip รอรับอย่างเช่นเคย และหลังจากการลงจอดกับผิวมหาสมุทรเปล่า ๆ ไม่มีเรือมารอรับ
เหตุผลที่ SpaceX ทำเช่นนี้ก็เพราะว่า SpaceX อาจจะต้องการเก็บ DroneShip ไว้ใช้สำหรับภารกิจ Falcon Heavy ซึ่งจะมีการปล่อยในวันที่ 7 กุมภาพันธ์นี้ (ปัจจุบัน SpaceX มี DroneShip เพียงแค่ 2 ลำ คือ Of Course I Still Love You ที่ประจำการอยู่ ณ ฝั่งแอตแลนติก และ Just Read the Instruction ที่ประจำการอยู่ชายฝั่งแปซิฟิก) ปกติแล้วกระบวนการนำ Falcon 9 กลับอาจจะต้องใช้เวลาหลายวัน ทำให้ SpaceX อาจจะพลาดการเก็บกู้จรวด Falcon Heavy ได้ ซึ่ง SpaceX ไม่ยอมเช่นนั้นแน่ เพราะ SpaceX ต้องการ Demo ฟีเจอร์สำคัญของ Falcon Heavy คือ จรวดทั้ง 3 ท่อนต้องสามารถนำกลับมาใช้งานใหม่ได้ ด้วยการบินกลับมาลงจอดยังโลก โดยที่จรวด 2 ลำแรก จะบินมาลงจอด ณ Landing Zone 1 แหลมเคอเนอเวอรัล และจรวดท่อนที่ 3 จะลงจอดกลางมหาสมุทรโดยมี DroneShip รอรับไว้
แม้ในครั้งนี้จะไม่มีการเก็บกู้แต่ SpaceX ก้ทำการติดตั้ง Grid Fins สำหรับควบคุมทิศทางการลงจอด และ Landing Legs ไปด้วย เพราะในการทำการลงจอดแต่ละครั้ง SpaceX จะได้ Data จำนวนหนึ่งที่จะถูกนำมาทำให้การลงจอดครั้งต่อไปของ Falcon 9 หรือ Falcon Heavy แม่นยำมากขึ้น แม้ SpaceX จะต้องทิ้งจรวดไป แต่สิ่งที่ SpaceX จะไม่พลาดคือข้อมูล จรวด Falcon 9 นั้นการทำงานของมันจะเป็นแบบ Machine Learning ที่จะต้องถูก Train ให้เกิดความแม่นยำ แม้ว่า SpaceX จะสามารถ Trend Falcon 9 ใน Simulation ได้ แต่ก็คงเทียบไม่ได้กับการ Trend แบบจริง ๆ
สุดท้ายแล้วหลังจากทำการลจอดจรวด Falcon 9 ก็ลอยอยู่กลางทะเล ซึ่ง Elon Musk ได้กล่าวผ่านทางทวิตเตอร์ว่ารอบนี้เป็นการทดสอบ การจุดเครื่องยนต์ลงจอดอย่างรุนแรง และไม่ต้องการให้ DroneShip เสียหายก่อนทำการลงจอด Falcon Heavy จึงมีการทดสอบกับน้ำแทน ซึ่งหลังจากทดสอบ Falcon 9 กลับไม่พังซะงั้น ซึ่ง SpaceX จะทำการลากลับมาวิเคราะห์ต่อไป
อัลกอริทึมการลงจอดของ Falcon 9 : เทคโนโลยีเบื้องหลังการลงจอดของ Falcon 9
สำหรับดาวเทียมที่ SpaceX ทำการปล่อยไปในครั้งนี้คือดาวเทียม GovSat-1 ดาวเทียมหนัก 4 ตันซึ่งเป็นความร่วมมือระหว่างรัฐบาลประเทศลักเซมเบิร์ก กับบริษัท SES บริษัทดาวเทียมระดับโลกสัญชาติลักเซมเบิร์ก ในการปล่อยดาวเทียมใช้สำหรับการตรวจตราป้องกันประเทศ และสนับสนุนภารกิจทางทะเลในการสอดส่องวิกฤติผู้อพยกในยุโรป ของรัฐบาลประเทศลักเซมเบิร์ก
นอกจากดาวเทียมดวงนี้จะให้บริการในคลื่นสัญญาณ X-band แล้ว ยังให้บริการในย่านคลื่น Ka-band สำหรับภารกิจด้านความมั่นคงที่ต้องการความปลอดภัยสูง พร้อมด้วยฟีเจอร์ป้องกันการรบกวนจากคลื่นสัญญาณใด ๆ และการเข้ารหัสสัญญาณทั้งฝั่ง Uplink และฝั่ง Downlink ทำให้การสื่อสารด้วยดาวเทียม GovSat-1 มีความปลอดภัยสูง
ด้วยความร่วมมือระหว่าง SES บริษัทดาวเทียมที่ล้ำหน้าที่สุด หนึ่งในบรรดาผู้ให้บริการดาวเทียมระดับโลก เช่น AsiaSat, Thaicom, Orbcomm และอื่น ๆ ทำให้ดาวเทียม GovSat-1 กลายเป็นสุดยอดเทคโนโลยีดาวเทียม และแน่นอนว่า SES ซึ่งเป็นลูกค้าประจำของ SpaceX จะมาใช้บริการจาก Falcon 9 ก็ไม่แปลก
สำหรับการปล่อยในภารกิจถัดจากนี้ของ SpaceX ก็คือการโชว์จรวด Falcon Heavy ซึ่งในขณะที่ทำการปล่อยนี้ จรวด Falcon Heavy ก็ได้ถูกติดตั้งพร้อมทำการปล่อยเรียบร้อยแล้ว
อ้างอิง