เมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม 2021 เวลา 2:31 น. ตามเวลาประเทศไทย บริษัทการขนส่งทางอวกาศเอกชน SpaceX ได้มีการส่งดาวเทียมในรูปแบบ Rideshare โดยจรวด Falcon 9 ณ ฐานส่ง Space Launch Complex 40 (SLC-40) แหลมคานาเวอรัล รัฐฟลอริดา
ภารกิจ Transporter เป็นหนึ่งในภารกิจในโครงการ Rideshare ของ SpaceX ที่เป็นพื้นที่สำหรับผู้ใช้บริการรายเล็กที่ต้องการจะส่งของขึ้นวงโคจรด้วยราคาที่คุ้มค่า โดยเป็นภารกิจที่ Payload จากผู้ใช้บริการหลายรายถูกส่งขึ้นในภารกิจเดียวกันเพราะเนื่องจาก Payload ส่วนใหญ่เป็นของชิ้นเล็กและน้ำหนักไม่มาก สำหรับ Payload ที่ถูกส่งขึ้นไปในเที่ยวบินนี้ก็ได้แก่
SHERPA-FX
นานมากแล้วที่ตัวจรวด Falcon 9 ไม่ได้ติดตั้งจรวดท่อนที่สามเอาไว้ (เพราะจริง ๆ ตัวจรวดลำนี้ไม่เคยมีท่อนที่สามที่ออกแบบและสร้างโดยทาง SpaceX) จริง ๆ ถ้าพูดให้ถูกควรเรียกว่าเป็น Transfer stage มากกว่า Third stage โดยตัว SHERPA-FX เป็น Platform ที่ถูกออกแบบมาเพื่อติด Payload รอง (Secondary Payloads) เอาไว้เพื่อให้มั่นใจว่าดาวเทียมพวกนี้จะไม่รับกวนซึ่งการและกันหลังจากถูกปล่อย (ซึ่งตรงนี้เคยเป็นปัญหาในภารกิจ SSO-A ที่ดาวเทียมหลาย ๆ ดวงไม่สามารถสื่อสารกับผู้จ้างส่งหรือเจ้าของ Payload ได้) จึงถูกออกแบบมาเป็นส่วนที่จะดีด Payload ออกให้ห่างกว่ากันอีกเที่ยวหนึ่ง อธิบายง่าย ๆ ว่าถ้าไม่มี Platform นี้กลุ่ม Payload ที่ถูกที่ถูกดีดออกไปจาก Platform ของ Falcon 9 จะอยู่ห่างกันไม่มากพอซึ่งอ่าจเกิดปัญหาเรื่องการสื่อการได้
โดย SHERPA-FX จัดอยู่ในกลุ่มของยานอวกาศประเภท Space tug ซึ่งเป็นหนึ่งในรูปแบบของธุรกิจอวกาศยุคใหม่ที่มาแรงมากในตอนนี้ โดย Transfer stage ลำนี้เป็นยานในซีรี่ย์ SHERPA รุ่นแรก ๆ จึงยังไม่มีการติดระบบขับเคลื่อนใด ๆ และไม่มีแผนที่จะพา Payload ที่ตามไปด้วยกันไปสู่วงโคจรอื่น ซึ่งจะมียานรุ่นน้องในซีรี่ย SHERPA ที่จะมีการติดตั้งระบบขับเคลื่อนเชื้อเพลิง ในการบูส Payload ไปสู่วงโคจรอื่น ๆ
FX จะบรรทุก Payload ไปด้วยมีทั้งหมดประมาณ 25 ชิ้น ประกอบไปด้วย Astrocast, LEMUR, HawkEye Cluster 3, Lynk-06, SpaceBee, PAINANI-2, TagSat-2 และอื่น ๆ
SHERPA-LTE1
เที่ยวบินนี้ไม่ได้มีแค่ SHERPA-FX ในซีรี่ย์ SHERPA เท่านั้นที่จะไปกับภารกิจนี้ แต่รวมไปถึง SHERPA-LTE1 ซึ่งจะมีความแตกต่างจากจากลำที่กล่าวไปก่อนหน้านี้คือตัว LTE1 เป็นยานที่มีระบบขับเคลื่อน Ion ด้วยแก๊ส Xenon หรือระบบแบบเดียวกันกับที่เอนกแห่ง กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เคยเคลมไว้ว่ายานไปดวงจันทร์ของประเทศไทยในอีกไม่กี่ปีข้างหน้าจะใช้พลังแสงอาทิตย์ในการขับเคลื่อนนั่นแหละ (ฮา)
LTE1 เป็นยานลำแรกในรุ่น LTE และในภารกิจนี้ได้มีการบรรทุก Payload ไปด้วย 14 ชิ้นประกอบไปด้วย Shasta, Faraday Phoenix, Tiger-2, ARTHUR-1, LEMUR, Polar Vigilance KSF1 และกลุ่มดาวเทียม Tenzing จาก Orbit Fab ที่มีความน่าสนใจมาก ๆ ตรงที่มันเป็นดาวเทียมถังบรรจุเชื้อเพลิงที่มีไว้เพื่อเป็นสถานีเชื้อเพลิงในอวกาศโดยในภารกิจนี้ถือเป็นการทดสอบเทคโนโลยีการเติมเชื้อเพลิงในอวกาศ โดยถึงแม้จะไม่ถูกในงานจริง ๆ ในตอนนี้แต่มันจะมีประโยชน์ในอนาคตอันใกล้นี้ไม่ว่าจะเป็นการเติมเชื้อเพลิงให้ยานอวกาศหรือ Space tug
LEMUR
เป็นดาวเทียมจากทาง Nanoracks ที่จ้าง Spire ผลิตให้ ซึ่งถูกส่งขึ้นไป 3 ดวงในภารกิจนี้เพื่อ Earth observation รวมทั้งการตรวจสอบการจราจรของกลุ่มดาวเทียมในโครงการของตัวเอง มีการใช้งานเพื่อตรวจวัดความดัน ความชื้นและอุณหภูมิ
SpaceBees
กลุ่มดาวเทียมนี้เป็นกลุ่มดาวเทียมที่ถูกออกแบบมาเพื่อการการสื่อสารด้วยดาวเทียมราคาถูกและ Low-data ซึ่งมีเป้าหมายที่ช่วยเหลือผู้คนมราอยู่ในพื้นที่ที่อินเทอร์เน็ตยากที่จะเข้าถึง
Payload อื่น ๆ
Payload อื่น ๆ ที่จะร่วมเดินทางไปกับภารกิจนี้ด้วยประกอบไปด้วย ดาวเทียม IoT จาก Astrocast 5 ดวง, ARTHUR-1 จาก Aerspacelab, Cluster 3 จาก HawkEye’s 360, TIGER 5G IoT จาก OQ Technology และดาวเทียม Starlink อีก 3 ดวง
อ่าน – โครงการ Starlink ของ SpaceX ทำงานอย่างไร แบบละเอียด
นอกจากนี้ยังมีดาวเทียมอีกประมาณ 30 ดวงที่ยังไม่ได้รับการยืนยันสู่สาธารณะด้วยว่าจะร่วมเดินทางไปกับภารกิจนี้หรือไม่ซึ่งประกอบไปด้วย YAM-3, TUBIN, D-2/AtlaCom-1, XR-2, ICEYE, Neptuno, Spartan, QMR-KWT, W-Cube, Ghalib, ADEO, LaserCub, Nebula, payload ของ Worldfloods และรวมทั้งดาวเทียมนภา-2 จากกองทัพอากาศไทย
สำหรับภารกิจนี้ Payload ทั้งหมด 88 ชิ้น จะถูกส่งไปที่วงโคจร Sun-Synchronus Orbit (SSO) ที่ระดับความสูงประมาณ 500 กิโลเมตร และถือว่าเป็นเที่ยวบินที่ 8 ของจรวด Falcon 9 Block 5 B1060 โดยในภารกิจนี้ได้ลงจอดลงบนฐานลงจอด Landing Zone 1 (LZ-1) ซึ่งอยู่ที่แหลมคานาเวอรัล ใกล้กับฐานส่งจรวด SLC-40
อ่าน – Falcon 9 Block 5 จรวดรุ่นใหม่ การปล่อยครั้งแรก และอนาคตของมัน
เรียบเรียงโดย ทีมงาน Spaceth.co
อ้างอิง