ก้าวต่อไปของ Spaceth คืออะไร 2020 สังคมไทยจะไปสู่สังคมอวกาศอย่างไร

สเปซทีเอชดอทซีโอ สื่อออนไลน์ด้านอวกาศก่อตั้งมาแล้วเป็นเวลา 2 ปี ซึ่งตอนนี้มีผู้ติดตามมากกว่าสองแสนคนในทุกช่องทาง รวมถึงมียอดการเข้าถึงบน Social Media มากกว่าเดือนละล้านการเข้าถึง ในสองปีที่ผ่านมาเราได้สะท้อนภาพของวงการอวกาศโลกว่าได้เกิดอะไรขึ้นทั้งในแง่ของ อดีต และปัจจุบัน การ Live ในวันครบรอบ 50 ปีของ Apollo 11, การถ่ายทอดสดการแถลงข่าวภาพถ่ายแรกของหลุมดำด้วยกล้อง Event Horizon Telescope ซึ่งมียอดการเข้าชมมากกว่า 100,000 ครั้งในเวลาไม่กี่ชั่วโมง ไปจนถึงประสบการณ์ในการร่วมงานกับหน่วยงานต่าง ๆ ตั้งแต่สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ, องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ, สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ ในการมีบทบาทในด้านการสื่อสารวิทยาศาสตร์ในสังคมไทย

นอกจากการทำงานที่เป็นการสื่อสารบนออนไลน์ เรายังได้จัดงานฝั่งออฟไลน์ตั้งแต่การจัด Keynote Ignition Sequence Start ในงาน Thailand Space Week และการเป็น Contractor ผู้ออกแบบและจัดทำเนื้อหานิทรรศการ Mission to the Moon ในงานมหกรรมวิทยาศาสตร์ฯ ที่อิมแพคเมืองทองธานี

ตลอดสองปีที่ผ่านมาสิ่งที่เราสังเกตได้เลยก็คือ เนื้อหาคอนเทนต์ด้านอวกาศไม่ใช่ข่าวที่วิชาการหรือข่าวไกลตัว แต่เป็นสิ่งที่เราสามารถหยิบจับมาพูดคุยกันได้ทั่วไป หรือ Topics เป็น Common Topics แนวคิดนี้เกิดจากที่ว่า สมัยเด็กทุกคนก็จะมีความชอบเป็นของตัวเอง อาจจะเป็นเรื่องไดโนเสาร์ เรื่องรถยนต์ และอวกาศก็กลายเป็นหนึ่ง Topics ที่เป็นความชอบในวัยเด็ก เพียงแต่ว่าสภาพสังคมและระบบการศึกษา ได้ทำให้ความชอบเหล่านี้กลายมาเป็นเรื่องวิชาการ แม้ว่าจะเป็นเรื่องเดียวกัน แต่ด้วยวิธีการถ่ายทอดและการ “แบ่งแยก” โลกในหนังสือกับโลกแห่งความเป็นจริง ทำให้เนื้อหาที่น่าสนใจพวกนี้กลายเป็นเรื่องวิชาการที่สุดท้ายจบไปกับการสอบเพื่อวัดผลเท่านั้น

งาน Keynote ครั้งแรกของสเปซทีเอช Ignition Sequence Start พูดถึงก้าวแรกและเป้าหมายในการเปลี่ยนแปลงสังคมของสเปซทีเอช

ในขณะเดียวกัน การปรากฏตัวขึ้นของสเปซทีเอช เป็นสิ่งที่พิสูจน์ว่าเนื้อหาด้านอวกาศและวิทยาศาสตร์เชิงลึก สามารถเป็นหัวข้อที่เราพูดคุยกันได้ในชีวิตประจำวัน เหมือนกับภาพยนตร์ หนัง เพลง ละคร ต่างกันตรงที่วิทยาศาสตร์เป็น Non-fiction มันสามารถสะท้อนภาพของสังคม, วิทยาการ, วัฒนธรรม หรือแม้กระทั่งมุมมองต่อจักรวาล หรือคำถามอันยิ่งใหญ่ของมนุษย์ถึงชีวิตและธรรมชาติ

ใน 2 ปีที่ผ่านมาเรา “นำความชอบกลับมา” เรา “เป็นพื้นที่” เรา “เป็นผู้เริ่มต้นบทสนทนา” เราทำให้เห็นว่าข่าววิทยาศาสตร์สามารถมีอารมณ์ร่วม ความรู้สึก ความตื่นเต้น ความสนุก ความตลก ความเศร้า ได้

งานนิทรรศการ Mission to the Moon ออกแบบโดยสเปซทีเอช ในงานมหกรรมวิทยาศาสตร์ฯ ที่เมืองทองธานี ในปี 2019

คำถามก็คือ แล้วในอนาคตเรามองภาพของอวกาศในไทยไว้ว่าอย่างไร แล้วสิ่งที่เราทำมาตลอด 2 ปีนี้จะนำไปสู่อะไรกันแน่ ?

นับตั้งแต่วันแรกที่เราเข้ามาเป็น “ตัวละคร” ในแวดวงของอวกาศไทย เราได้พบกับอีกหลาย ๆ ตัวละคนที่อาจจะเป็นตัวละครที่ซ่อนไว้ ตั้งแต่ Lab วิจัยแห่งอนาคตที่กำลังทำเทคโนโลยีอวกาศสุดล้ำ ได้เจอกับหน่วยงานรัฐบาลที่มีผลงานในแวดวงอวกาศโลกมากมาย ได้เจอกับความ “บั๊ก” ของระบบในการเกิดการพัฒนาด้านวิทยาศาสตร์มากมาย ในขณะเดียวกันเราก็ได้เรียนรู้และเข้าใจสภาพสังคมของประเทศไทย

Informative Science และ Business

เราเริ่มจับ Key ได้ 2 ตัวก็คือ Informative Science และ Business จากการได้เข้ามาในแวดวงของวิทยาศาสตร์ไทย เรารู้สึกว่าวิทยาศาสตร์ไทยนั้นไม่ได้แพ้ไปกว่าประเทศอื่นบนโลก ประเทศไทยมีนักวิทยาศาสตร์ที่ทำงาน CERN, NASA, JPL, ESA, LIGO และหน่วยงานด้านวิทยาศาสตร์ชั้นนำ มีหน่วยงานดาราศาสตร์ที่ทำงานระดับ Global Scale หลาย Project แม้กระทั่งในระดับของสังคมรอบตัว นักวิทยาศาสตร์แต่ละคนที่เคยพบปะพูดคุยกับเราก็ล้วนแล้วแต่มีทักษะความสามารถทั้งสิ้น แต่อะไรคือความ “ยาก” ที่ทำให้ประเทศไทยยังไม่มีผลงานที่สามารถนำมาใช้ได้จริง

เรามองว่าสิ่งที่สังคมไทยยังขาดหายคือ Informative Science เรายังไม่รู้สึกว่าวิทยาศาสตร์เป็นสิ่งที่จับต้องได้ มองในสองแง่ แง่แรกกระบวนการคิด เราก็ยังไม่รู้สึกว่าการคิดแบบวิทยาศาสตร์ทำให้ชีวิตดีขึ้่นได้อย่างไร ในขณะที่แง่ที่สอง องค์ความรู้ (เช่น การค้นพบ, การทำความเข้าใจธรรมชาติ) ก็ยังไม่รู้ว่าการที่เราสามารถจรวจจับคลื่นวัตถุท้องฟ้าทำให้ชีวิตเราดีขึ้นอย่างไร วิทยาศาสตร์สำหรับสังคมไทยจึงอาจจะเน้นไปโฟกัสสิ่งที่จับต้องได้ทันทีอย่าง สิ่งประดิษฐ์ หรือผลผลิตที่เพิ่มขึ้นในทางปริมาณ

ในโครงการ Digital Diplomacy Facebook Thailand ให้ความรู้นักการทูตในการสื่อสารเนื้อหาจริงจังผ่านสื่อออนไลน์ จัดโดย Facebook และสถานทูตสหรัฐฯ

Key ของ Informative Science ก็คือ ทำอย่างไรให้ “คนรู้สึกว่าการรู้วิทยาศาสตร์นั้นดีกับชีวิต” และไม่ได้มองวิทยาศาสตร์หรืองานวิจัยแค่ในแง่ของผลผลิต หรือสิ่งประดิษฐ์

ส่วนใน Key ที่สอง เป็นผลสืบเนื่องมาจาก Key แรกคือ Business ประเทศไทยในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้จริง ๆ แล้วในแง่ของ Tech Business นั้นไม่น่าเกลียดเลย และมี Tech Company ต่าง ๆ มากมาย แต่ถ้าพูดถึงการเข้ามา Invest ในด้าน Deep Science (เช่น Biotech, Space, High-energy Physics) ยังน้อย เรายังรู้สึกว่างานพวกนี้เป็นงานวิจัย เป็นหน้าที่ของสถานศึกษา

ในขณะเดียวกัน เราไม่สามารถโทษทั้ง Society และ Business ไปพร้อมกันได้ เนื่องจาก

  • Society ยังมองวิทยาศาสตร์ และอวกาศไม่ถึงแก่นกระบวนการ
  • Business ยังมองไม่เห็นอวกาศในแง่ของโอกาส และอนาคตของธุรกิจ

ซึ่งจริง ๆ สองสิ่งนี้เกิดขึ้นแล้วในต่างประเทศ ยกตัวอย่างประเทศใกล้ตัวอย่างญี่ปุ่นอวกาศกลายเป็น Culture หนึ่ง ซึ่งสภาพสังคมที่รัฐบาล Invest ไปในเทคโนโลยีอวกาศ การมีจรวดเป็นของตัวเอง การมีนักบินอวกาศ การสร้างหนัง สร้างภาพยนต์ การ์ตูน Space Brother อะไรก็ตาม ทำให้อวกาศเป็น Topic หนึ่งในญี่ปุ่น Business ซึ่งจริง ๆ แล้ว ธุรกิจก็ไม่ใช่ว่าเกิดขึ้นมาลอย ๆ แต่เกิดขึ้นมาจาก “คน” เมื่ออวกาศกลายเป็น Culture ที่ฝังอยู่ในหัวของคน ของ Decision maker การมองเห็นโอกาสก็ง่ายกว่า

คงไม่ต้องพูดถึงในสังคมอย่างประเทศสหรัฐอเมริกาที่ลงทุนใหญ่ด้านอวกาศไปกับโครงการ Apollo จนทุกวันนี้เทคโนโลยีที่เราใช้กันล้วนแล้วแต่มาจากอวกาศ

ทีนี้ถ้าเราย้อนกลับไปที่เราบอกว่า สเปซทีเอช ทำให้อวกาศกลายมาเป็น Topic ที่พิสูจน์มาสองปีแล้วว่าเราอยู่ได้ เรามีผู้สนใจ เรามีผู้ติดตาม เรามีคนที่รอชมการลงจอดบนดาวอังคาร เรามีคนที่รอดูภาพถ่ายแรกของหลุมดำ เรามีคนที่เชื่อว่าวิทยาศาสตร์คือสิ่งที่เราพบเห็นกันในชีวิตประจำวัน สิ่งนี้จะนำไปสู่ Culture วัฒนธรรมด้านอวกาศที่ไม่ใช่แค่สิ่งที่อยู่ในตำราอีกต่อไป

ดังนั้นสิ่งที่เราต้องทำก็คือ เราต้องสร้างสังคมที่ Informative Science มองวิทยาศาสตร์อยู่ในชีวิต และ ทำให้ Business มองเห็นโอกาสในการเข้ามาลงทุนในธุรกิจด้านอวกาศหรือนวัตกรรมอันเกิดจากการศึกษาอวกาศได้มากที่สุด

อะไรคือคอนเทนต์อวกาศแห่งอนาคตที่ตอบโจทย์ทั้ง Culture และ Business

สื่อออนไลน์สเปซทีเอช จะทำคอนเทนต์ หรือมากไปกว่าคอนเทนต์อย่างไร เพื่อสร้าง Informative Science ให้กับสังคม และทำให้ Business มองเห็นภาพรวมของกิจกรรมอวกาศทั้งในประเทศไทยและทั้งของโลก

  • คอนเทนต์ต้อง Informative ไม่ใช่แค่ Entertainment ซึ่งข้อนี้เรามองว่าเป็นสิ่งที่เราทำอยู่แล้ว เพราะถ้าสังเกตเราจะไม่ใช้วิธีการนำข่าวมาแปล หรือบอกแค่ว่าใครทำอะไรที่ไหน แต่สิ่งที่เราทำคือ เรานำเอาสิ่งที่เกิดขึ้นมาบอกเล่าแล้วพาคิดไปในเชิงกระบวนการ เป็นคอนเทนต์ที่มีการตอบคำถามในเชิงเหตุและผล เป็นการชวนคิดมากกว่าชวนฟัง ทำอย่างไรให้คนอ่านอ่านแค่ 20% แต่คิด 80%
  • Futuristic Trend and Prediction แม้ว่าเราทำคอนเทนต์ให้ Society และ Business คิดไปพร้อมกับคอนเทนต์ แต่เราก็สามารถ “ช่วย” ในมุมมองของเราว่า อนาคตจะเป็นอย่างไร, เราจะใช้ชีวิตกันอย่างไรในอนาคต การที่เกิดสิ่งนี้ขึ้นจะนำอะไรเข้ามา เพราะสเปซทีเอชวาง Position คือกลุ่มคนที่ “สนใจและศึกษา” ภาพรวมของอวกาศโลกมาตั้งแต่สมัยนิวตันด้วยซ้ำ การทำ Prediction จึงไม่ใช่แค่หน้าที่ของ Society หรือ Business แต่เป็นหน้าที่ของเราที่จะต้องทำนายได้
ทำกิจกรรมร่วมกับค่าย JSTP ในการเปลี่ยน Mindset และมุมองของเยาวชนในวัยเดียวกันที่มีต่ออวกาศและวิทยาศาสตร์
  • Space Activist ในช่วงแรก เรานิยามตัวเองว่าเป็น Space Nerd ซึ่งสุดท้ายแล้วโอกาสในการสร้างความเปลี่ยนแปลงต่ำ เพราะทำหน้าที่แค่เล่าหรือคลุกคลีกับสิ่งที่ตัวเองสนใจ แต่หลังจากที่เราเปิดตัวว่าเราอยากสร้างความเปลี่ยนแปลงในอวกาศไทย เราได้ร่วมงานกับหน่วยงานต่าง ๆ ได้ลงสนามจริง ทำให้เรารู้สึกว่าเรามีพลังมากกว่าแค่การชวนคุย แต่เราต้องลุกขึ้นมาปลุกระดม ตะโกน สร้างแรงบันดาลใจ และโจมตีศัตรูของการพัฒนาด้านอวกาศไทย สุดท้ายแล้ว การทำงานในเชิง Active ช่วยให้เราเข้าใจ “สนาม” และเห็นโอกาสในการสร้างความเปลี่ยนแปลงได้จริง ๆ

ปัจจุบัน เราเดินเข้าหากลุ่มคนต่าง ๆ ทั้งในฝั่งของรัฐบาล หน่วยงานวิทยาศาสตร์, ภาคธุรกิจ, ภาคการศึกษา และสังคม ผ่านช่องทางสื่อออนไลน์ และออฟไลน์ ดังนั้น 2 ปีที่ผ่านมา เป็นเหมือนกับการลองสนาม แต่นับจาก 2020 เป็นต้นไป เราจะทำให้อวกาศไทยไม่ใช่แค่ Topic แต่เป็นสิ่งที่จับต้องได้ Society มองวิทยาศาสตร์เป็นแก่น Business มองอวกาศเป็นโอกาส เราจะเป็น Activist ที่ไม่ใช่นั่งทำคอนเทนต์อยู่หลังจอ แต่เราต้องการสร้างความเปลี่ยนแปลงในระยะยาวเพื่อดึงให้ประเทศไทยกลายเป็นประเทศที่มีผลงานด้านอวกาศเป็นที่ได้รับการยอมรับ

เพราะสุดท้ายแล้วเราผ่านยุคปฏิวัติวิทยาศาสตร์ที่ทำให้คนมองโลกตามความเป็นจริง เราผ่านยุคปฏิวัติอุตสาหกรรมที่ทำให้เราสามารถสร้างโลกในแบบที่เราต้องการ ตอนนี้เรากำลังถูกท้าทายด้วยความอิ่มตัวของความสามารถด้านการผลิตและการบริหารจัดการ สิ่งที่เราจะต้องลงลึกมีแค่ 2 อย่างคือ 1. การเดินทางไปยังดินแดนที่ต่างออกไป และ 2. การทำความเข้าใจธรรมชาติให้ลึกซึ้งกว่าเดิม

คงจะไม่มีอะไรที่ตอบสนองสองสิ่งที่กล่าวมานี้ไปมากกว่าการสำรวจอวกาศอีกแล้ว



Technologist, Journalist, Designer, Developer - 21, I believe in anti-disciplinary. Proud to a small footprint in the universe. For Carl Sagan.